open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

เสียดาย ก่อนตาย รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ไม่ได้อ่าน - วิจารณ์วีดีทัศน์ – “ทำความรู้จักกับ กองทุนทำบุญวันเกิด”

เสียดาย ก่อนตาย รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ไม่ได้อ่าน 
- วิจารณ์วีดีทัศน์ – “ทำความรู้จักกับ กองทุนทำบุญวันเกิด”


หมายเหตุ - การถ่ายทอดบทวีดีทัศน์เป็นลายลักษณ์อักษร 1) ผู้ประเมิน(ผู้วิจารณ์)เป็นคนแบ่งย่อหน้าเอง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการอ่านและอ้างอิง 2) ตัวหนาตัวเอน ผู้ประเมินเป็นคนทำขึ้นเอง


ถ่ายทอดคำพูดในวีดีโอ ของ รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์
เป็นลายลักษณ์อักษร

ย่อหน้า 1. “..... ที่จริงกองทุนนี้ มันควรจะมีคู่กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะ  ธรรมศาสตร์สอนให้เลาลักประชาชน เลาพูดกันอยู่อย่างงี้ แล้วก็อยากเห็น ความเท่าเทียมกันของคนในสังคม แต่เด็กนักศึกษาที่เข้ามาเลียน ในธรรมศาสตร์ ไม่ได้หมายความว่า เขาจะมีเงินมากเพียงพอที่จะจ่ายค่าหน่วยกิต จ่ายค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จิปาถะ

ย่อหน้า 2. เลื่องนี้ก็เกิดขึ้นมาโดย ท่านอาจารย์เกษมสันต์ เมื่อปี 2546 ด้วยปรัชญาที่ว่า ทุกคนมีวันเกิด ทุกคนจะฉลองวันเกิด ถูกมั้ยคะ เมื่อจะฉลองวันเกิดเนี่ยะ ทางที่ดีที่สุด เอ้...ไม่ใช่ฉลองวันเกิดอย่างเดียว เขาก็ไปทำบุญด้วย ทำไมเลาไม่คิดว่า ก่อนที่เลาจะทำบุญ เลายังมีนักศึกษาธรรมศาสตร์อีก ถึงแม้จำนวนไม่มาก แต่เขาก็ด้อยกว่าพวกเลา ในหลาย ๆ มิติ นะคะ

ย่อหน้า 3. เอ่อ ทำบุญวันเกิด ไปทำบุญกับวัดซะ ร้อยหนึ่ง แล้วก็ให้เด็ก มาให้กับกองทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลน อย่างนี้มันน่าจะดีกว่ามั้ย ถ้าเลาสอนให้เขาลักประชาชน เขายังไม่รู้จักเลยว่าจะลักเพื่อนเขา จะยื่นโอกาสให้เพื่อนเขายังงัยเนี่ยะ เลาถือว่าเราล้มเหลวนะ   

ย่อหน้า 4. กองทุนวันเกิดก็เกิดขึ้น เมื่อผ่านไปเนี่ยะ ก็มีเงินกองทุนมากขึ้น แล้วเงินกองทุนมากขึ้นเนี่ยะ  เอาไปยังงัย เลาก็ทุกบาททุกสตางค์เป็นของกองทุน กองทุนก็ส่งไปให้มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะมีคณะกรรมการจัดการการลงทุนของมหาวิทยาลัย นะคะ เขาก็เอาไปลงทุน คุณน่าจะตั้งคำถาม อ้าวแล้วมหาวิทยาลัยไม่มีทุนเลยหรือ มหาวิทยาลัยมีทุน ทุนหนะมันมี ถ้ามันมีไม่จำกัดก็ดีซี มันมีจำกัด  จำนวนนักเรียนที่ต้องการ นักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ต้องการเงินทุน มันมากกว่าจำนวนทุนที่ธรรมศาสตร์ออฟเฟอร์ เลาบอกเลาตั้งขึ้นมาเป็นหน่วยเล็ก ๆ ด้วยหลักคิดที่ว่าทุกคนมีวันเกิด  แล้ววันเกิดอยากจะ เฮฮา ใครไม่ไปเฮฮามั่งวันเกิดของตัว ไม่มี เฮฮา เคยคิดถึงคนที่เอ๊ะ...อย่าไปพูดถึงเรื่องเฮฮาเลย เขาจะเสียค่าหน่วยกิต เขายังไม่รู้เลยจะเอาจากที่ไหน นะคะ

ย่อหน้า 5. พอจะตอบว่าที่มาของกองทุน จากแนวคิดของเลื่องความเท่าเทียมกันทางการศึกษา หลือไม่ก็ ให้เขาด้อยโอกาสน้อยที่สุด ขอบอกว่าความหวัง ไว้ตอนนั้นหนะ ไม่ได้หวังว่า เลาจะกระจายออกไปข้างนอก เลาอยากจะให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ฝึกการแบ่งปัน  แต่...กองทุนวันเกิดเราได้จากนักศึกษาธรรมศาสตร์ปัจจุบันที่ล่วมกัน ยังน้อยมาก เพราะฉะนั้น เลาก็วันนี้หนะ พวกหนูทั้งหลายก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยกัน แต่ก่อนที่จะช่วย หนูก็คงต้อง คิดว่าเอ๊ะ หนูต้องลู้ก่อนว่าลายละเอียดมันเป็นยังไง

ย่อหน้า 6. ในอดีตที่ผ่านมานี่นะคะ เราคัดเลือกนักศึกษาจากโครงการช้างเผือก ก่อนหน้านั้นเป็นอย่างนี้ เพิ่งเลิ่มจากปีที่แล้ว ปีที่แล้วเลาจะทำการคัดเลือกนักศึกษาเอง โดยมีลายละเอียดว่า กองทุนกำหนดขั้นตอนการคัดเลือกที่ต่างจากนักศึกษาเลียนดี จบจากชนบท มันมีลายละเอียดนะคะ ตอนนี้เลาคัดเลือกของเลาเองแล้ว นอกจากการสัมภาษณ์และสำหลวดภาวะฐานะทางการเงินของเขาแล้ว นะคะ  ยังกำหนดให้มีการทำกิจกรรมล่วมกัน แล้วในที่สุดแล้ว กรองกันไปกรองกันมาเนี่ยะ คนที่จนที่สุดในสายตาของนักเรียนทุนทั้งหมดเนี่ยะ มันจะตรงกันว่าเป็น    คนนี้ คนนี้ คนนี้ และอีกคนหนึ่ง เขาจะรู้สึกว่าเขาไม่ควรจะได้หรอก เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ คน

ย่อหน้า 7. คนเหล่านี้หนูรู้มั๊ย ความที่เขามีน้ำอดน้ำทน เมื่อเขาได้เป็นบัณฑิตเขาก็จะเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เด็กเหล่านี้ไม่ดูดายนะฮะ เขาบอกว่า หลาย ๆ คนพูดทำนองเดียวกันว่า วันนี้เขาเป็นฝ่ายได้ลับ แต่วันหน้าเขาไม่ต้องการจะเป็นผู้ลับตลอดไป เขาต้องการจะเป็นผู้ให้ เมื่อผมจบเป็นบัณฑิต ผมจะออกไปทำงานลับใช้สังคมตามอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คือถ้าเผื่อว่าชาวธรรมศาสตร์ทราบ ก็คงทราบอยู่แล้วล่ะ เด็กนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่สอบเข้าได้ ยังมีอีกจำนวนมากที่ต้องการทุน แล้วเลา ก็ไม่รู้ที่จะไปหาทุนที่ไหน

ย่อหน้า 8. ท่านมีโอกาสช่วยเลาได้ไง วันเกิดของท่านนะคะ วันที่ท่านรู้สึกดี ๆ นึกถึงคนที่เขากำลังต้องการสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต ที่จะครองตนอยู่ในสังคม นะคะ เป็นผู้มีความรู้ ทำงานให้แก่ประเทศชาติ เหล่านี้กำลังลอ เงินจากเลา กองทุนวันเกิดเนี่ยะนะคะ ถ้าไม่มีผู้ให้ มันก็ไม่มีผู้ลับ แล้วลองคิดซิน่าเสียดายมั๊ย เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ แล้วก็เขาไม่สามารถเรียน เพราะเขาขาดแคลนทุนทรัพย์ นึกถึงเขา นึกถึงเขาเหล่านั้น คนที่ได้เป็นผู้ลับ ในวันนี้ จากประสบการณ์ของอาจารณ์ เขาปรารถนาอย่างยิ่งยวด ที่เขาจะต้องเป็นผู้ให้สักวันหนึ่ง เรามาช่วยกันทำให้ความฝันของเขาเป็นจริง เป็นผู้ลับ เลียน ให้จบ ทำงานให้กับสังคม ครอบครัวตัวเอง และในที่สุดเขาก็จะเป็น คนให้ อีกคนหนึ่งของธรรมศาสตร์ ค่ะ

================================


วิจารณ์(ประเมิน)

ผู้วิจารณ์(หรือ ผู้ประเมิน)ซึ่งได้ลงชื่อจริงนามสกุลจริง กำกับไว้ท้ายบทวิจารณ์นี้ เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ภาษาอังกฤษ รุ่นที่สอง ต่อมาได้รับทุนการศึกษาจากองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ไปเรียนปริญญาโท ที่ The University of Chicago หลังจากกลับมาทำงานในประเทศไทยได้ระยะหนึ่ง ก็ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลฝรั่งเศส ไปเรียนที่ Université de Bordeaux

เพราะฉะนั้น ถ้าจะถามถึงเหตุผลในการประเมิน(วิจารณ์)วีดีทัศน์เรื่องนี้ เหตุผลสำคัญสองประการ คงจะได้แก่ 1)ผู้วิจารณ์เป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ 2)ผู้วิจารณ์เคยเป็นนักเรียนทุน

ประเด็นประเมินที่ 1. Accuracy of information

ย่อหน้า 1. รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ กล่าวถึงกองทุนทำบุญวันเกิด ว่า

“..... ที่จริงกองทุนนี้ มันควรจะมีคู่กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นะ  ธรรมศาสตร์สอนให้ เลาลัก ประชาชน   เลา พูดกันอยู่อย่างงี้ แล้วก็อยากเห็น ความเท่าเทียมกัน ของคนในสังคม” 

ประเมิน(วิจารณ์): ความตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ ของศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ รายงานต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2477 คือ

"...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตาม หลักเสรีภาพ ของการศึกษา..."

คัดจากรายงานของท่านผู้ประศาสน์การฯ ซึ่งเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ทั้งนี้ผู้วิจารณ์(หรือผู้ประเมิน) จะขอคัดคำขวัญของประเทศฝรั่งเศสมา ดังนี้

“เสรีภาพ-เสมอภาค-ภราดรภาพ”
Liberté-Équalité-Fraternité
คำอ่าน “ลิ แบรฺ เต้ - เอ กาล ลิ เต้ - ฟรา แตรฺ นิ เต้”

ตราแผ่นดิน ของประเทศฝรั่งเศส


คำขวัญนี้เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส แล้วประเทศฝรั่งเศสรับไว้เป็นคำขวัญของชาติในลำดับต่อมา - ใช้อยู่กระทั่งปัจจุบัน  ผู้ที่ศึกษาประวัติการปฏิวัติฝรั่งเศสรู้เรื่องนี้ทุกคน แม้กระทั่ง นักร้องหญิงอเมริกันยุคปัจจุบัน เลดี้ กากา  เธอยังรู้จัก ดังเพลงที่เธอร้องไว้ ว่า





ท่านผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์  ได้อาศัยหลัก “เสรีภาพ” เป็นหลักนำ ในการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(และการเมือง) ตามคำรายงานดังคัดมาเสนอข้างบน

นอกจากนั้น ท่านยังได้แสดงข้อวินิจฉัยของท่านไว้ในที่อื่น เกี่ยวกับหลักทางการเมืองของประเทศฝรั่งเศส “เสรีภาพ-เสมอภาค-ภราดรภาพ”  ว่า ท่านรับเฉพาะเรื่อง เสรีภาพ กับ เสมอภาค ส่วน ภราดรภาพ นั้น  ท่านเห็นว่าประเพณีการนับถือญาติพี่น้องมิตรสหาย มีอยู่เป็นอย่างดีแล้วในสังคม-วัฒนธรรมไทย ไม่จำเป็นจะต้องรับหลัก ภราดรภาพ ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับเงื่อนไขในสังคมฝรั่งเศส มาใช้

จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ จะถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยอิงแนวคิดหนึ่งในคำขวัญที่มีชื่อเสียงสามคำนั้น อันได้แก่เรื่อง “เสรีภาพ”  โดยให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปรียบเป็นดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหาย ของ “ราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้”

ตามคำรายงาน - นอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯจะถือกำเนิดขึ้นอิงแนวคิดเรื่อง “เสรีภาพ” แล้ว โอกาสในการศึกษาก็ถูกถือว่าเป็น “สิทธิ” ชนิดหนึ่ง คือ เป็นอำนาจอันชอบธรรมของบุคคลในสังคมที่จะกระทำได้

ส่วนประเด็นที่สอง รองศาสตราจารย์ประนอม โฆวินวิพัฒน์ อ้างว่า

ย่อหน้า 1. “ธรรมศาสตร์สอนให้ เลาลัก ประชาชน   เลา พูดกันอยู่อย่างงี้ แล้วก็อยากเห็น ความเท่าเทียมกัน ของคนในสังคม” 

ข้อความนี้ สามารถพิจารณาแตกออกเป็นสองข้อย่อย คือ

1)   ท่านผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ เคยสั่งสอนไว้ที่ไหนหรือว่า ธรรมศาสตร์สอนให้ เลาลัก ประชาชน  คำขวัญนี้ใครสั่งสอนไว้ รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ น่าจะนำมาอ้างอิงให้แจ่มแจ้งชัดเจน คนสอนเขาชื่ออะไรครับ? และสอนไว้ในโอกาสใด เมื่อไร? ตอนที่ผมและเพื่อน ๆ เรียนอยู่ที่ธรรมศาสตร์ ผมและเพื่อน ๆ ไม่เคยได้ยินคำสอนนั้นเลย  เราสำเร็จการศึกษาปีพ.ศ. 2513

2)   ส่วนเรื่อง ความเท่าเทียมกัน ของคนในสังคม ที่รองศาสตราจารย์ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ยกมากล่าว อีกนัยหนึ่งเรื่อง “เอ กาล ลิ เต้ – Équalité” ดังที่ปรากฏในคำขวัญประเทศฝรั่งเศส ก็ไม่ใช่แนวความคิดหลักที่ถูกนำมาใช้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เพื่อความกระจ่างในวงกว้างขึ้น เชิญชวนท่านผู้อ่านได้ลองพิจารณาการเมืองในโลกปัจจุบัน ท่านที่ติดตามการเมืองอเมริกัน หลายท่านย่อมทราบดีว่า ถ้าคุณเป็นพวกพรรครีพับบลิกัน คุณก็มักจะชูธง เสรีภาพ (freedom)  แต่ถ้าคุณเป็นพวกพรรคดีโมแครต คุณก็จะเป็นพวกเชิดชู ความเสมอภาค (equality) 

ส่วน ภราดรภาพ (fraternity) ดังปรากฏในตราแผ่นดินของฝรั่งเศสนั้น – ไม่มีความหมายใด ๆ ในวัฒนธรรมการเมืองอเมริกัน จนกระทั่งต้องเกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิทางแพ่ง(civil rights movement) ขึ้นมา

สรุปการประเมิน ประเด็นที่ 1. Accuracy of information: หลักฐานที่ รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ยกขึ้นอ้างในวีดีโอ ไม่สอดคล้องกับความจริง

ประเด็นประเมินที่ 2. การนำเสนอของรศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ เป็นการนำเสนอที่มีทั้ง ส่วนที่สร้างสรรค์ ส่วนที่ดี และส่วนอื่น ๆ

ย่อหน้า 5. “เลาอยากจะให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ฝึกการแบ่งปัน  แต่...กองทุนวันเกิดเลาได้จาก นักศึกษาธรรมศาสตร์ปัจจุบัน ที่ล่วมกัน ยังน้อยมาก เพราะฉะนั้น เลาก็วันนี้นะ พวก หนู ทั้งหลาย ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยกัน”

ประเมิน(วิจารณ์): การเน้นตลาดผู้บริจาคเงินอยู่ที่ นักศึกษาธรรมศาสตร์ปัจจุบัน (พวก หนู ทั้งหลาย) น่าจะถือได้ว่า มีความคิดสร้างสรรค์ 

เพราะว่า ถ้าเราลองสำรวจตัวอย่างการรณรงค์ระดมทุน ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ(สหรัฐอเมริกา) เราจะไม่พบการมุ่งหาทุนเอาจากนักศึกษารุ่นปัจจุบัน ทั้งนี้นักศึกษาปัจจุบันของเขา จะเป็นฝ่ายรับประโยชน์จากกองทุนต่าง ๆ ไม่ใช่แหล่งระดมเงินทำบุญ

มหาวิทยาลัยอเมริกันมีแต่จะระดมเงินบริจาค(fund campaign)นอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะจากศิษย์เก่า ตัวอย่างเช่น The University of Chicago ซึ่งผู้วิจารณ์เคยเป็นนักศึกษาอยู่ที่นั่น และมีหน่วยงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ผู้วิจารณ์ไม่เคยพบแม้แต่ครั้งเดียว ที่เขาระดมทุนเอาจากนักศึกษา(ปัจจุบัน) โปรดพิจารณาตัวอย่าง โครงการระดมทุนของ The University of Chicago (ลิงก์ กดคอนโทรล + คลิก) และโดยเฉพาะที่นี่ Donor Profiles (ลิงก์ กดคอนโทรล + คลิก) ซึ่งจะแนะนำผู้บริจาครายใหญ่

เพื่อประกอบความคิดสร้างสรรค์ของรศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ที่จะระดมทุนให้นักศึกษาที่ขาดแคลน เอาจากเพื่อนนักศึกษาด้วยกันในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ผู้วิจารณ์ค้นสถิติปัจจุบันพบว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนักศึกษา พ.ศ. 2561 ประมาณ 12,000 คน

ซึ่ง รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ มีคำแนะนำ ว่า

ย่อหน้า 3. “.....เอ่อ ทำบุญวันเกิด ไปทำบุญกับวัดซะร้อยหนึ่ง  แล้วก็ ให้เด็ก  มาให้กับกองทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลน อย่างนี้มันน่าจะดีกว่ามั้ย”

ให้ทำบุญกับวัด 100 บาท แต่รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ไม่ได้แนะนำว่า “ให้เด็ก” (คำนี้ หมายถึง “เด็ก ให้ เด็ก”  ด้วยกันเอง) คือมาให้เงินกับกองทุนฯในสไตล์ “เด็ก ให้ เด็ก”  เป็นจำนวนกี่บาท?  ยกตัวอย่างเกริ่นนำ เพียงว่าทำบุญกับวัด 100 บาท

เพื่อจะได้ไม่ลำเอียงไปทางใด ผู้วิจารณ์สมมติว่า รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ซึ่งตามข้อเท็จจริง ที่บ้านเป็นร้านขายเครื่องบวชอยู่ในตลาดสระบุรี  รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ จึงน่าจะเป็นเอตทัคคะด้านการทำบุญผู้หนี่งทีเดียว  สมมติว่า รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ให้นักศึกษาทำบุญวันเกิดกับกองทุนฯ 100 บาท เท่า ๆ กับที่ทำบุญกับวัด แล้วกัน  เพราะฉะนั้น:-

                             12,000 X 100 = 1,200,000

ตามข้อสมมติต่าง ๆ ข้างต้น แต่ละปีจะได้เงินเข้ากองทุนฯ ปีละ 1 ล้าน 2 แสน บาท ซึ่งเป็นเงินมิใช่น้อย

อย่างไรก็ดี สมมติว่าเราลองเปลี่ยนมุมมอง ด้วยการทดลองทางความคิด หรือทำ thought experiment - โดยทดลองคิดว่า ถ้าทำตามอย่าง The University of Chicago ที่เน้นการรณรงค์ระดมทุนเข้ามหาวิทยาลัย จากภายนอกและจากศิษย์เก่า - ไม่ใช่ระดมเอากับนักศึกษาปัจจุบันด้วยกันเอง  ตามสถิติ - ผู้วิจารณ์พบว่า ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนถึงพ.ศ. 2561 มีประมาณ 240,000 คน

คนเหล่านี้-ไม่ใช่คนที่ยังขอเงินพ่อแม่ใช้ แต่เป็นคนทำมาหากินเอง ถือว่าเป็น “ผู้ใหญ่” ตามธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย(และจีน)  จากประสบการณ์และสังเกตการณ์ของผู้วิจารณ์ การทำบุญในชนบทบ้านนอกทุกวันนี้ เวลาเขาส่งซองบอกบุญมา ธรรมเนียมทำบุญในชนบทที่บ้านผู้วิจารณ์ ก็คือ ควรใส่ซองอย่างต่ำ 200 บาท ถ้าใส่ซอง 100 บาทถือว่า น่าเกลียด

แต่ผู้วิจารณ์มีญาติขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างอยู่ในเมือง(อ.หลังสวน) เขาเล่าให้ฟังว่า มาตรฐานการใส่ซองทำบุญ 200 บาท เป็นเรื่องของคนบ้านนอกบ้านนาบ้านสวน - ชนบทนอกเขตเมือง  ในเมืองนั้นเขาเลี้ยงโต๊ะจีนกัน เขาไม่ได้มีญาติมิตรมาช่วยกันหุงหาอาหารเลี้ยงกันเอง อย่างงานบุญชนบท ญาติผู้เขียนเล่าว่า ที่ในเมืองถ้าเราใส่ซอง 300 บาท เจ้าภาพไม่ได้อะไรเลย เป็นค่าใช้จ่ายการเลี้ยงโต๊ะ ก็หมดแล้ว - หรืออาจไม่พอด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจารณ์จะขอตั้งข้อสมมติอย่างต่ำแล้วกันว่า ให้ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ทำบุญวันเกิดคนละ 200 บาท กับกองทุนฯ เป็นจำนวนเท่ากับมาตรฐานการใส่ซองทำบุญ ในงานบุญชนบท ในละแวกบ้านผู้วิจารณ์ เพราะฉะนั้น :-

                             240,000 x 200 = 48,000,000

ตามข้อสมมติข้างต้น แต่ละปี จะได้เงินเข้ากองทุนฯหรือมหาวิทยาลัย ปีละ 48 ล้านบาท

บัดนี้ ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่าน ก็อาจเข้าใจได้โดยการคิดเทียบ(analogy) ว่า เหตุใด The University of Chicago เขาจึงไม่ระดมทุนเข้ามหาวิทยาลัยจากนักศึกษาปัจจุบัน แต่เน้นการระดมทุนจากศิษย์เก่าและจากภายนอก ทั้งนี้เพราะว่า “ตลาดเงินบริจาค” ของศิษย์เก่าเป็นตลาดที่ “ใหญ่โต” กว่า “ตลาด” นักศึกษาปัจจุบัน - นั่นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือเขาอาจไม่สบายใจที่จะไปรบกวนสมาธิการเรียนของเหล่านักศึกษา ซึ่งก็ต้องจ่ายค่าหน่วยกิตและค่าใช้จ่ายจิปาถะ โดยยังต้องขอเงินจากพ่อแม่ 

และประการสุดท้ายก็คือ ผูู้บริหารมหาวิทยาลัยชิคาโก โดยทั่วไปก็คงไม่ได้ฉลาดปราดเปรื่องไปกว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สักกี่มากน้อย แต่ในฐานะเป็นศิษย์เก่าชิคาโก ผู้ประเมินเห็นว่า ยกเว้นพวกที่ "บื้อบริสุทธิ์" ผู้บริหารมหาวิทยาลัยชิคาโก ท่านเชื่อว่า

".....a big mosquito is much smaller than a small water buffalo"

-ยุงตัวโต้โต ก็ยังเล็กกว่า ควายตัวเล็ก เยอะเล

การประเมิน การนำเสนอของรศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ที่มีทั้งส่วนที่ดี ส่วนที่สร้างสรรค์  และส่วนอื่น ๆ แต่ผู้วิจารณ์เห็นว่า ส่วนที่ดี - ไม่สร้างสรรค์  และ ส่วนที่สร้างสรรค์ - ไม่ดี


ประเด็นประเมินที่ 3.เหตุผลวิบัติ(fallacious reasoning) จะขอยกตัวอย่างเพียงสองเรื่อง

เหตุผลวิบัติ 1. – พูดเอง เออเอง The evidence is not independent of the claim.

ย่อหน้า 4. “ด้วยหลักคิดที่ว่าทุกคนมีวันเกิด  แล้ววันเกิดอยากจะ เฮฮา ใครไม่ไปเฮฮามั่งวันเกิดของตัว ไม่มี เฮฮา”

ประเมิน(วิจารณ์): เราอาจจัดรูปประโยคข้างบนเสียใหม่ เพื่อความชัดเจนในการพิจารณาการแสดงเหตุผล มิใช่วัตถุประสงค์เพื่อสร้างตรรกบท ดังนี้

                             คนทั้งหมด เป็นคนเฮฮาวันเกิด
                             ไม่มีใคร ไม่เป็นผู้เฮฮาวันเกิด

                             เพราะฉะนั้น    คนทุกคน เป็นคนเฮฮาวันเกิด

หลัก: You cannot have among your premises an evidence (a premise) that is a RESTATEMENT of your conclusion.

-ข้ออ้าง ที่ยกขึ้นมาเป็นหลักฐานสนับสนุน ข้อสรุป  ต้องเป็นอิสระจากข้อสรุปนั้น
ในการแสดงเหตุผล คุณไม่สามารถยกข้ออ้าง(หลักฐาน)ที่เป็นการ กล่าวซ้ำข้อสรุป

ถ้ามีข้ออ้างเป็นการ กล่าวซ้ำข้อสรุป  ถือว่าการพูดจาแสดงเหตุผลดังกล่าว เป็นเหตุผลวิบัติ(a fallacious argument) วิธีแสดงเหตุผลวิบัติชนิดนี้ พวกอาซ้อ-อาซิ้ม อาอี้-อาอึ้ม ตลอดจนพวกอาม่า ที่ไร้การศึกษาหลาย ๆ คน(ไม่ใช่ทุกคน)ชอบใช้

เหตุผลวิบัติ 2.Ambiguous evidence หลักฐานกำกวม

ย่อหน้า 6. “.....แล้วในที่สุดแล้ว กรองกันไปกรองกันมาเนี่ยะ คนที่จนที่สุดในสายตาของนักเรียนทุนทั้งหมดเนี่ยะ มันจะตรงกันว่าเป็น คนนี้ คนนี้ คนนี้  และ อีกคนหนึ่ง เขาจะรู้สึกว่าเขาไม่ควรจะได้หรอก เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ คน

ประเมิน(วิจารณ์):    คนนี้ คนนี้ คนนี้         ทำไมจึงได้เป็น คนนี้-คนนี้-คนนี้?
                             และอีกคนหนึ่ง          คือใคร? ทำไมเขารู้สึกได้อย่างนั้น?

                             เทียบกับอีกหลาย ๆ คน  ทำไมคนอีกหลาย ๆ คน ไม่ใช่ผี?

หลัก: perplexing sentences – the evidence is ambiguous. เป็นเหตุผลวิบัติชนิดหลักฐานกำกวม


สรุปการวิจารณ์(การประเมิน) พร้อมกับความเห็นของผู้วิจารณ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติผูกพันกับวิวัฒนาการในทางที่ดีของสังคมไทย  ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์มีส่วนสำคัญในการผลักดัน สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทุกทิศทางให้กับมหาวิทยาลัย ไม่ยอมแพ้สถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ทั้งไทยและเทศ

การกล่าวถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเป็นทางการ ต้องใช้ข้อมูลที่เป็นจริง ยืนยันได้ด้วยหลักฐานแน่ชัด ไม่ใช่ข่าวโคมลอย หรือทึกทัก เสกสรรปั้นแต่งขึ้นเอง การนำเสนอเรื่องราวโครงการที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าเป็นเรื่องสร้างสรรค์จะต้องเป็นเรื่องดีด้วย และถ้าเป็นเรื่องดี ๆ ก็ควรที่จะต้องสร้างสรรค์ด้วย  รวมทั้งไม่ใช้เหตุผลวิบัติในการแสดงโวหาร นึกว่าเท่ห์ เช่น พูดเองเออเอง หรือพูดจากำกวม เป็นต้น

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ไม่ได้เป็นสมบัติหวงห้ามไว้สำหรับศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน คนไทยทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความหวังดีต่อธรรมศาสตร์

เช่น อย่ายอมปล่อยให้ธรรมศาสตร์ต้องตกเป็นเหยื่อที่น่าสงสาร ของพวกอาซิ้มอาซ้อ อาอึ้มอาอี้ หรืออาม่าบางคน ที่แสดงเหตุผลด้วยการใช้ circular reasoning (ข้ออ้าง เป็น RESTATEMENT ของข้อสรุป) บวกกับเหตุผลวิบัตินานาชนิด

ถ้าอาม่าที่เคารพ จะใช้วิธีพูดจาชนิดนั้น อยู่กับลูกหลานของท่านเองที่บ้าน พวก-หนู-ทั้งหลาย จะไม่ว่าสักคำ และจะขอบคุณมากที่อาอึ้มละเว้น พวก-หนู-ทั้งหลาย ไปซะได้

-- ข้อเสนอแนะ ทำไม ท่านรองศาสตราจารย์ประนอม โฆวินวิพัฒน์ ไม่แจกกะลา ให้นักศึกษา ยากจน ยืนถือที่ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วให้นักศึกษาร่ำรวย หยอดเงิน ลงในกะลา ครับ?


ปรีชา ทิวะหุต

21 มกราคม 2562





บทความนี้ เผยแพร่อยู่ที่ 
โปรด ช่วยแชร์ลิงก์ – ขอบคุณครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น