open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

นำเที่ยว หมู่บ้านลึกลับที่สุด บนแหลมมลายู - บ้านคันธุลี



นี่คือ สถานี "คันธุลี"
ชื่อนี่ จะพูดว่า เป็นชื่อลึกลับที่สุดบนแหลมมลายู ก็ว่าได้

หมู่บ้าน คันธุลี มีมานานอย่างน้อย สองพันปี
ปรากฏชื่ออยู่ในจดหมายเหตุจีน ประมาณว่า "คั่น ถอ ลี่"
-ผิดถูกอย่าว่ากัน แต่นักโบราณคดี รู้แทบทุกคน
แต่ก็ไม่มีใคร รู้ว่าชื่อนี้แปลว่าอะไร เป็นภาษาอะไร?

บ้านและสวนของผู้เขียน อยู่ห่างจาก คันธุลี ประมาณยี่สิบกิโลเมตรเศษ ๆ

ชื่อนี้ไม่ใช่ภาษามลายู-อินโด เรารู้กันนะว่า 
ชื่อจังหวัดทุกจังหวัด ขอย้ำ ทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตก
ตั้งแต่ ระนอง จนถึง สตูล เป็นภาษามลายู

แต่คำว่า "คันธุลี" ไม่ใช่ภาษามลายู-อินโด 
มีมาก่อนเกิดภาษามลายู-อินโดด้วยซ้ำ


วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

นำเที่ยว สถานี ละแม


นานมาแล้วเพื่อนชาวต่างถิ่นผู้หนึ่ง พูดให้ฟังว่า ใกล้บ้านผม มีสถานีรถไฟชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศส ชื่อสถานี "La Mae"

บ้านผมอยู่ห่างจากสถานี La Mae สิบสองกิโล ครับ

พยางค์ว่า "ละ" เช่น ละแม
หรือ       "สะ" เช่น สวี
หรือ       "มะ" เช่น มะลวน

เหล่านี้ไม่ใช่คำใต้ คนภาคกลาง เจ้าหน้าที่กรมรถไฟมาเติมให้ เช่่น ที่ "ละแม" ชาวบ้านเรียก "แม" คนภาคกลางฟังไม่ไฟเราะ เติม "ละ" ให้

ที่ "สวี" ชาวบ้านเรียก "วี่" คนภาคกลางเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ เติม "สะ" ให้ กลายเป็น "สวี"

ที่ "มะลวน" ชาวบ้านเรียก "หมฺ ลวน" โดย หม เป็นคำควบกล้ำ ในภาษาใต้ ฟังแทบจะไม่ได้ยิน แต่ต้องมี หรือ หมร ก็ควบกล้ำต้องออกเสียงทั้งสามเสียงกล้ำกันออกมา "หมร" เช่น "เหมร้ะ" ชื่อพันธ์ไม่ไร้ค่าชนิดหนึ่ง เด็ก ๆ ชอบกินลูกของมัน ผู้ใหญ่จะไม่กิน

คำว่า หลังสวน นี่ก็เหมือนกัน มันไม่มีอะไรเกี่ยวกับนากับสวนหรอก มันมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า เสียงคลื่น นักประวัติศาสตร์พื้นบ้านชาวสงขลาเคยเขียนไว้ ในนิตยสารสมาคมชาวปักษ์ใต้(ออกในกรุงเทพฯ)เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้ว และผมจำท่านมา

ต่อมา เมื่อผมเขียนเทวะนาครีได้ และอ่านออก  ก็พยายามค้นเข้าไปในภาษาสันสกฤต (เทวะนาครี ใช้เขียนสันสกฤต) เวลานี้ ค้นได้แล้วครึ่งหนึ่ง คือ คำว่า "สวน" มันแปลว่า "เสียงน้ำ" สันสกฤตเขียนด้วยเทวะนาครี ว่า स्वन

อีกครึ่ง คือ ครึ่งแรก ค้นพบเมื่อไร จะนำมาเล่าต่อที่นี่ ครับ...




วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิจารณ์ โรงเรียนบริหารธุรกิจ ฮาร์วาร์ด

Book Review: the Golden Passport  By Duff McDonald


Image result for the golden passport



โรงเรียนบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า โรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด ผลิตบัณฑิตป้อนตลาดผู้บริหารกิจการสำคัญ ๆ ในสหรัฐอเมริกา และมีศิษย์เก่ากระจายทั่วโลก  อำนาจอิทธิพลที่สั่งสมมากว่าร้อยปี พิจารณาเฉพาะในสหรัฐฯเองนั้น ไม่มีใครสามารถ มองข้ามได้ โรงเรียนนี้มีเครือข่ายศิษย์เก่าที่เข้มแข็ง และเอื้ออำนวยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างโรงเรียนกับเครือข่ายดังกล่าว  มีข้อเท็จจริงอันยอมรับกันในสหรัฐอเมริกา – แล้วถูกนำมาใช้เป็นชื่อหนังสือ ว่า “the Golden Passport”  หมายความว่า ผู้ใดได้รับวุฒิบัตรไปจากโรงเรียนนี้ ก็เสมือนได้หนังสือเดินทางชนิดบัตรทอง เพื่อท่องไปในโลกทุนนิยม โดยเฉพาะทุนนิยมอเมริกัน

หลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด อาจสรุปได้เป็นสองแนว คือ หนึ่ง. เรียนและสอนกันโดยใช้ กรณีศึกษา(case study)  สอง. ต้องการสร้างผู้บริหารชนิดทั่วไป ไม่ได้เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาธุรกิจ สถาบันแห่งนี้จึงไม่ได้ให้ปริญญาโทชนิดเฉพาะทาง

ถึงแม้โรงเรียนธุรกิจฮาร์วาร์ด จะได้กลายเป็นสินค้าตลาดบน เป็นที่เฝ้ามองและลอกเลียนของโรงเรียนบริหารธุรกิจหลาย ๆ แห่ง ทรงอิทธิพลต่อเศรษฐกิจทุนนิยมอเมริกัน ขนาดที่ได้สร้างลัทธิทุนนิยมพันธุ์พิเศษขึ้นมา คือ ทุนนิยมเพื่อผู้ถือหุ้น(shareholders capitalism)  ผู้เขียน – นาย ดัฟ แม็คโดแนล มีประเด็นข้อเท็จจริงบางประการ ที่จะนำไปสู่ข้อสรุปว่า โรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ดมีความผิด มีความบกพร่อง มีส่วนอย่างสำคัญต่อวิกฤติการณ์เศรษฐกิจอเมริกัน และยิ่งกว่านั้นก็คือ ได้ผลักดันความไม่เท่าเทียมกันในสังคมอเมริกัน ให้ถ่างออกอย่างชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน คนส่วนใหญ่ยากจนลง แต่มีคนส่วนน้อยกระหยิบมือเดียว ร่ำรวยอย่างฟูมฟายมากมายจนน่าขบขัน(comically rich) เฮ้ย คุณมีเงินตั้งยี่สิบหมื่นล้าน คุณจะมีไปทำไม – มันน่าขำมั๊ยล่ะ?

นายดัฟ แมคโดแนล เห็นว่า โรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด มีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ต่อประเทศสหรัฐอเมริกา

หนังสือ “The Golden Passport – Harvard Business School, the limits of Capitalism, and the Moral Failure of the MBA elite” หนา 600 หน้า ตีพิมพ์ปี 2017/2560 นี่เอง มีเนื้อหาแจกแจง คุณและโทษ โดยอิงกับประวัติศาสตร์ร้อยปีเศษ ของโรงเรียนบริหารธุรกิจที่มีชื่อเสียงก้องโลกแห่งนั้น

การเลือก นักธุรกิจอย่างนายโดแนล ทรัม เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ใช่เรื่องธุรกิจปกติของชาวอเมริกัน – ไม่ใช่เพราะความที่พวกเขาเลื่อมใสเรื่องธุรกิจ พวกเขาก็เลยเลือกนักธุรกิจเป็นประธานาธิบดี

นายดัฟ แมคโดแนล เห็นว่า มิใช่เช่นนั้น มันไม่ได้สรุปกันง่าย ๆ อย่างนั้น เขากลับเห็นว่า ลัทธิทุนนิยมเพื่อผู้ถือหุ้น(shareholders capitalism) ที่โรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ดสอนสั่ง ได้มีส่วนช่วยเคลื่อนย้ายความมั่งคั่งจากมวลชนชาวอเมริกัน ไปประเคนให้คนจำนวนน้อยที่ร่ำรวยมหาศาล และร่ำรวยอย่างน่าขบขันไม่กี่คน ในขณะที่ชาวอเมริกันส่วนมากไม่รู้ที่จะหวังอะไรในชีวิต การเลือกตั้งนายทรัม เป็นประธานาธิบดี เปรียบได้กับ เสียงหอนอันวังเวงของปวงชนผู้ไร้ความหวังเหล่านั้น ดังนั้น การเลือกนายทรัม จึงไม่ใช่ “ปกติธุรกิจ” แต่ประการใดเลย

นายดัฟ แมคโดแนล ยังกล่าวหาอีกว่า ผู้ได้วุฒิ MBA จำนวนมากคน 1) ขี้ขลาดตาขาว 2) อ่อนแอ 3) ละโมบโลภมาก 4) จมอยู่กับกอง “การวิเคราะห์” ท่วมหัวท่วมหู เป็นภูเขาเลากา พวกเขาเหล่านั้น ไม่สามารถที่จะคิดอะไรอื่นได้ นอกจากคิดแต่จะ “หากำไร”

ลักษณะเช่นนี้ ต่างไปจากปรัชญาพื้นฐานแต่เริ่มแรกของโรงเรียนธุรกิจฮาร์วาร์ด ที่ต้องการจะสร้างนักธุรกิจผู้เห็นแจ้ง ผู้ที่จะมาสร้างความแตกต่างเชิงบวกให้แก่โลก



ปรีชา ทิวะหุต
หลังสวน
ชุมพร
กรกฎาคม 2560

หมายเหตุ – ผมมีโครงการจะเขียน book review ขนาดยาวสำหรับหนังสือหนา 600 หน้าเล่มนี้ เผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นตอน ๆ  จะได้ทำเมื่อใด จะแจ้งให้ทราบที่นี่ครับ