open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

นำเที่ยว สถานี ละแม


นานมาแล้วเพื่อนชาวต่างถิ่นผู้หนึ่ง พูดให้ฟังว่า ใกล้บ้านผม มีสถานีรถไฟชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศส ชื่อสถานี "La Mae"

บ้านผมอยู่ห่างจากสถานี La Mae สิบสองกิโล ครับ

พยางค์ว่า "ละ" เช่น ละแม
หรือ       "สะ" เช่น สวี
หรือ       "มะ" เช่น มะลวน

เหล่านี้ไม่ใช่คำใต้ คนภาคกลาง เจ้าหน้าที่กรมรถไฟมาเติมให้ เช่่น ที่ "ละแม" ชาวบ้านเรียก "แม" คนภาคกลางฟังไม่ไฟเราะ เติม "ละ" ให้

ที่ "สวี" ชาวบ้านเรียก "วี่" คนภาคกลางเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ เติม "สะ" ให้ กลายเป็น "สวี"

ที่ "มะลวน" ชาวบ้านเรียก "หมฺ ลวน" โดย หม เป็นคำควบกล้ำ ในภาษาใต้ ฟังแทบจะไม่ได้ยิน แต่ต้องมี หรือ หมร ก็ควบกล้ำต้องออกเสียงทั้งสามเสียงกล้ำกันออกมา "หมร" เช่น "เหมร้ะ" ชื่อพันธ์ไม่ไร้ค่าชนิดหนึ่ง เด็ก ๆ ชอบกินลูกของมัน ผู้ใหญ่จะไม่กิน

คำว่า หลังสวน นี่ก็เหมือนกัน มันไม่มีอะไรเกี่ยวกับนากับสวนหรอก มันมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า เสียงคลื่น นักประวัติศาสตร์พื้นบ้านชาวสงขลาเคยเขียนไว้ ในนิตยสารสมาคมชาวปักษ์ใต้(ออกในกรุงเทพฯ)เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้ว และผมจำท่านมา

ต่อมา เมื่อผมเขียนเทวะนาครีได้ และอ่านออก  ก็พยายามค้นเข้าไปในภาษาสันสกฤต (เทวะนาครี ใช้เขียนสันสกฤต) เวลานี้ ค้นได้แล้วครึ่งหนึ่ง คือ คำว่า "สวน" มันแปลว่า "เสียงน้ำ" สันสกฤตเขียนด้วยเทวะนาครี ว่า स्वन

อีกครึ่ง คือ ครึ่งแรก ค้นพบเมื่อไร จะนำมาเล่าต่อที่นี่ ครับ...




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น