open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

VillageLife: หมาที่บ้านตาย จะทำงัย?


Village Life: สุนัขของเราตาย เราจะทำอย่างไร?

คนไทยสมัยนี้หลาย ๆ คน เลี้ยงหมาเป็นเพื่อนคล้ายกับพวกฝรั่ง  ไม่ได้แตกต่างจากฝรั่งสักเท่าใด เว้นแต่ว่ายังทำใจไม่ค่อยได้เรื่องการที่จะพาหมาไปหาสัตว์แพทย์ให้ช่วย “put to sleep”  เมื่อหมาป่วยหนัก หรือหมาทุกข์ทรมานจากโรคที่รักษาไม่ได้ เช่น มะเร็งขั้นสุดท้าย ฯลฯ

เรื่องนี้ผู้เขียนทำใจได้มานานแล้ว  และตลอดมาก็เคยปฏิบัติมาแล้วสองสามครั้ง เพราะไม่มีทางอื่นที่จะช่วยเขาแล้ว  และเคยถามสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลสัตว์ที่มีชื่อเสียง ของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าเขามีวิธี มีขั้นตอนกันอย่างไร  เขาบอกว่าเขาจะฉีดยาให้หมานอนหลับก่อน  นี่เป็นวิธีการที่มีมนุษยธรรม เมื่อหมานอนหลับสบายแล้ว จึงฉีดยาให้หัวใจหยุดเต้น  วิธีการนี้เท่าที่ทราบ เขาก็ทำเหมือนกันทั่วโลก  พวกฝรั่งเขาก็จะร้องห่มร้องให้อำลาหมาของเขาเวลาพาไปหาสัตวแพทย์เพื่อ put to sleep หรือบางทีเขาก็มีวิธีพูดดีกว่านี้ แต่ผู้เขียนจำไม่ได้

เมื่อเร็ว ๆ นี้หมาของผู้เขียนตายลง เพราะโดนยาเบื่อหมา  ในหมู่บ้านชนบทอย่างบ้านผู้เขียน เราไม่ได้อยู่กันอย่างมีรั้วรอบขอบชิด  สุนัขก็ไปเที่ยวเล่นตามใจในเรือกสวน แล้วก็มีสิทธิที่จะล่วงล้ำเข้าไปในที่ของคนที่เขาไม่ได้รักหมา หรือเขาเลี้ยงไก่ชน ที่มีราคาตัวละนับพันนับหมื่นบาท  บางทีหมาบ้านอื่นที่เจ้าของหมาไม่เอาใจใส่ อด ๆ อยาก ๆ ก็ไปรบกวนไก่ชนที่เขาเลี้ยงไว้  เขาก็จำเป็นต้องกำจัดหมาที่เข้าไปรุกราน รบกวนบ้านเขา  ซึ่งบางทีก็ไปขโมยใข่ไก่ หรืออาหารในบ้านที่มีครัวไฟอยู่นอกตัวบ้าน

ด้วยยอมรับข้อเท็จจริงตามสภาพความเป็นอยู่ ที่เป็นอยู่จริง ดังเล่าให้ฟังตอนต้น ๆ สาเหตุการตายของหมาจึงไม่สู้กระไรนัก  ความเจ็บปวด ความเศร้าโศก จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รักตามคำพระสอน สำคัญกว่า และเป็นเรื่องใหญ่โตกว่ามาก  เพราะเราเลี้ยงหมาค่อนข้างจะแบบฝรั่งนั่นเอง  คือเป็นมิตรสนิทใกล้ชิดตัว

ในการต้อนรับน้องใหม่ในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ ที่ผู้เขียนเคยไปเรียน เคยเห็นรุ่นพี่เขาชูแผ่นป้ายต้อนรับนักศึกษาใหม่ว่า  “เดินหน้าเข้ามาเลย อย่าห่วงหลัง Your parents have replaced you with a dog.

เนื่องจากความใกล้ชิดติดตัวกับหมาสุดที่รักของเรา การจากไปของเขาจึงมีผลกระทบทางจิตใจต่อเรามาก  เป็นธรรมดามนุษย์ที่เราจะต้องหาทางเยียวยา  ทุกวันนี้มีโปรแกรมนานาในยูทูบที่ว่าด้วยเรื่อง grief and bereavement ที่เกิดจากการพลัดพรากจากหมาของเรา  ซึ่งผู้เขียนก็ได้อาศัยโปรแกรมเหล่านั้นช่วยปลอบใจ และช่วยเยียวยาจิตใจ  บางทียังใช้โปรแกรมที่เขาสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับการสูญเสียคนใกล้ชิด ที่รักกัน  โปรแกรมพวกนี้มีสูตร ขั้นตอนสำเร็จซึ่งนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งวางไว้นานมาแล้ว  ผู้เขียนเห็นว่ายังคงใช้ได้ดี และช่วยปลอบประโลมใจได้  ท่านผู้อ่านจะพบโปรแกรมเหล่านี้ได้ทั่วไป เพียงเขียนคำว่า pet loss

เขียนเรื่องนี้แล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนักเขียนรุ่นเก่า ท่านเป็นนักหนังสือพิมพ์ด้วย ครั้งหนึ่งหมาของท่านหายไปจากบ้าน(ในกรุงเทพฯ)  ท่านก็เขียนคร่ำครวญในหน้าคอลัมน์ของท่าน ท่านเป็นนักเรียนอังกฤษ ท่านก็คงจะติดนิสัยรักหมาแบบฝรั่ง  แต่ใช่ว่านักเรียนอังกฤษทุกคนจะรักหมา มีนักเรียนอังกฤษที่มีชื่อเสียง เป็นนักเขียนและปัญญาชน เช่นเดียวกับท่านหม่อมป้า  แต่เขาไม่รักหมาเท่า หรืออาจจะไม่รักหมาเลยด้วยซ้ำ  เขาใช้นามปากกาว่า “สอ ษิวะลึงค์”

ประเด็นก็คือ ท่านว่า เวลาหมาเราตาย เราอย่าเล่าให้คนที่เราไม่แน่ใจว่าจะรักหมาเท่าเราฟัง  ผู้เขียนยึดหลักดังกล่าวนี้  คือจะไม่ไปเที่ยวพูดให้ใครต่อใครที่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า เขาจะรักหมาเท่าเรา(หรือ มากกว่าเรา) ฟัง  ผู้เขียนจะหุบสนิท แม้แต่กับญาติพี่น้องก็จะบอกกับคนที่เขารักหมาเท่านั้น 

ด้วยเหตุผลอะไร?  เพราะเรากลัวครับ กลัวคำปลอบประโลมใจจากพวกเขา  คำปลอบใจจากคนที่เขาไม่ได้รักหมาเท่าเรานั้น  รังแต่จะเป็นการซ้ำเติมความชอกช้ำกะหล่ำปลี ให้กับเรา เช่น บางคนอาจปลอบว่า หมาตัวเดียวจะไปเสียใจอะไรนักหนา เดี๋ยวจะหามาให้ใหม่ เป็นต้น

ไม่มีหมาตัวใหม่ตัวไหน จะมาแทนที่หมาของเรา ที่ตายจากเราไป ได้ดอก  และการมองว่า หมาเราเป็นเพียงสุนัขตัวหนึ่งเท่านั้น นั่นเป็นการมองที่โหดร้ายต่อจิตใจเรามาก  หมาเรามันอยู่ติดตัวเรา รู้ใจเราทุกอย่าง และเลี้ยงไว้ในบ้านด้วยซ้ำ  บางทีเราแก้ผ้ามันยังเห็นเลย...

การพลัดพราก จึงนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานยากจะพรรณนา  ซึ่งคนอย่าง “สอ ษิวะลึงค์”  จะไม่เข้าใจและไม่เห็นใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น