รักประชาธิปไตย ตอน 1/4
กาละครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณ 350 ปีมาแล้วนับจากปี ค.ศ. 2018 นี้ คณะทูตจากฝรั่งเศสเดินทางเข้ามายังราชสำนักกรุงศรีอยุธยา บุคลากรในคณะทูตโบราณสมัยนั้นจะมีนักบวชอยู่ด้วย ไม่ได้มีแต่เฉพาะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศอย่างในสมัยนี้ เพราะคณะทูตมีหน้าที่ ที่จะหาลู่ทางเผยแพร่ศาสนาด้วย เป็นประเพณีปฏิบัติของเขาอย่างนั้นเอง เป็นการกระทำการ missionary หรืออะไรประมาณนั้น
นักบวชในคณะทูตก็ทำหน้าที่ของท่าน เล่าให้พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาฟัง ว่าโลกและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มหาเทพเป็นผู้สร้างขึ้นทั้งนั้น และแต่แรกอยู่กันมืด ๆ มหาเทพท่านก็บอกว่า ขอให้แจ้งเถิด
แล้วโลกทั้งโลกก็แจ้ง
Let there be light: and there was light.
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์นั้น
ทรงรับฟังเรื่องราวโดยดุษณี เห็นว่าคณะทูตและนักบวชเป็นคนดี
จึงยินดีต้อนรับสู่กรุงศรีอยุธยา
อย่างไรก็ดี มีบันทึกไว้ว่า พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์นั้น
ทรงคอมเม้นต์ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องมหาเทพสร้างโลกและมนุษย์ ที่นักบวชเล่าให้ฟัง
ทรงเห็นว่า “stupid”
หลังจากนั้นราว ๆ 140 ปี ก็เกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส
เหตุการณ์ครั้งนั้นพวกนักบวชจำนวนหนึ่งแข็งขืนต่อการปฏิวัติ ส่วนหนึ่งราว ๆ สองพันห้าร้อยถึงห้าพันคน
ซึ่งพวกคณะปฏิวัติเห็นว่า “stupid” เช่นที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเคยคอมเม้นต์มาก่อน
ถูกชาวคณะปฏิวัติฆ่าตาย ด้วยการจับตัวมาตีตรวน
ร้อยเข้าด้วยกันกับโซ่เป็นพวง แล้วต้อนขึ้นเรือท้องแบน ไปลอยอยู่กลางแม่น้ำ เช่น
ที่หน้าเมืองนังต์ เป็นต้น
แล้วชาวคณะปฏิวัติก็เจาะท้องเรือให้เรือจมลง พร้อมกับชีวิตนักบวชครั้งละนับร้อยชีวิต
ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรัล ดิษฐาอภิชัย
ผู้ต้องการให้เกิดการปฏิวัติในประเทศไทยอย่างในประเทศฝรั่งเศส และเวลานี้ ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัลก็ “ลี้ภัยตัวเอง”
เล่นจิ๋มกระป๋องอยู่ในฝรั่งเศส ไม่ทราบว่า
ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยรังสิตผู้นี้ ท่านต้องการจะฆ่านักบวชในประเทศไทยระหว่างการปฏิวัติของท่าน
กี่รูป? พอจะบอกหรือประมาณจำนวนคร่าว ๆ
ได้ไหมครับ? ผมอยากรู้ตัวเลขล่วงหน้า...
เราคงไม่สามารถปรักปรำ
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์นั้นได้ดอกว่า เป็นผู้มีส่วนยุแยงตะแคงบอน ให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส
และเกิดการฆ่านักบวชจำนวนหลายพันคนด้วยการถ่วงน้ำทั้งเป็น เพราะพระองค์สิ้นพระชนม์ ไปก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส
ถึงประมาณ 140 ปี
แล้วหลังจากเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสเกือบร้อยปี
และหลังการปฏิวัติประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกากับสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา
เกือบร้อยปีเช่นเดียวกัน เพราะการปฏิวัติฝรั่งเศสกับการปฏิวัติอเมริกัน
ห่างกันเพียง 13 ปีเท่านั้น ปรากฏว่า ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส
ยังคงมาข่มเหงเอาดินแดนไปจากประเทศสยาม (ชื่อประเทศไทย เวลานั้น)
คำถามมีว่า ในการบังคับเฉือนดินแดนเอาไปนั้น อังกฤษและฝรั่งเศส อ้าง หลักประชาธิปไตย
ข้อใด? คำถามข้อนี้ถามขึ้นมาลอย ๆ
ไม่ได้ต้องการคำตอบ
คำถามบางคำถามแค่ได้ถามขึ้นไว้ ก็เป็นการพอเพียงแล้ว คำตอบไม่ต้องครับ
เมื่อ 350 ปีก่อน
นับจากบัดนี้ พวกฝรั่งเข้ามาเล่าเรื่องการเกิดขึ้นของโลกและมนุษย์
ตลอดจนเรื่องของมหาเทพ ให้กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาฟัง หลังจากนั้น 140 ปีพวกฝรั่งเศสจำนวนมากเลิกนับถือมหาเทพ และจับนักบวชในศาสนามหาเทพ ไปถ่วงน้ำตายนับพัน
ๆ คน
แต่ว่า เมื่อประมาณสองร้อยปีเศษที่แล้วมา
ฝรั่งเศสเปลี่ยนศาสนา หันมานับถือศาสนาใหม่ตามสหรัฐอเมริกา
ชื่อศาสนา “ประชาธิปไตย” โดยที่ต่อมาอังกฤษก็ปรับตัวนับถือศาสนาใหม่นี้ด้วย ถ้าเราดูฉาบฉวย ศาสนาใหม่นี้ไม่มีนักบวช แต่ถ้าดูให้ลึก เราจะพบนักบวชของศาสนาประชาธิปไตย
อยู่ทั่วไป เป็นนักบวชคล้าย ๆ
กับที่เคยเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาแล้วเล่าเรื่องกำเนิดโลกและมนุษย์ กับนักบวชที่ถูกชาวคณะปฏิวัติฝรั่งเศสนำไปตีตรวน
ร้อยเป็นพวง แล้วไล่ขึ้นเรือท้องแบน นำไปถ่วงน้ำให้ตายทั้งเป็น ที่หน้าเมืองนังต์
ทุกวันนี้
พวกฝรั่งยังคงนับถือศาสนานี้อยู่ ซึ่งเราก็น่าจะถือว่าเป็นสิทธิของเขา
ที่เขาจะนับถือ เราพึงรับรู้ข้อเท็จจริงไว้เท่านั้น
และไม่ควรไปเสือกอะไรกับพวกเขา ในประเด็นนี้
แต่ที่น่าสังเกตก็คือ
พวกนักบวชศาสนาประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งมักจะเป็นนักการเมืองและสื่อมวลชน
ในประเทศเหล่านั้น ชอบที่จะดุด่าว่ากล่าวประเทศอื่น
ๆ เช่น ประเทศจีน ว่า “ไม่นับถือศาสนาประชาธิปไตย” นักบวชประชาธิปไตยเหล่านี้ เขาต้องการ
“เข้ารีต” คนอื่น ๆ ทั่วไปหมด ให้หันมานับถือศาสนาประชาธิปไตย คล้าย ๆ กับที่พวกเขาเคยทำ
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา
น่าพิศวง
ที่เวลาพวกเขาเอ่ยอ้าง “ประชาธิปไตย”
ว่านั่นไม่เป็นประชาธิปไตย
นี่โน่นไม่เป็นประชาธิปไตย เขาพูดพล่อย ๆ
เหมือนพูดว่า “ไปขี้” ยังไง
ยังงั้น เช่นวิทยุบีบีซี
นี่ก็นับถือศาสนาประชาธิปไตย
ก็ชอบอ้างประชาธิปไตย พล่อย ๆ
ตัวอย่างมีถมถืด ลองเคาะหาอ่านและฟังเอาเองแล้วกัน
อย่างไรก็ดี น่าประหลาด
ทดลองดูมั้ยล่ะ? ถ้าท่านผู้อ่านมีมิตรสหายที่นับถือศาสนาประชาธิปไตยสามคน
เป็นอเมริกันคนหนึ่ง อังกฤษคนหนึ่ง และฝรั่งเศสอีกคนหนึ่ง ท่านลองถามพวกเขาดูทีละคนว่า ประชาธิปไตย คือ
อะไร? เขาจะตอบไม่ตรงกัน
บางทีทะเลาะกันเอง
ท่านอาจแก้แทนเพื่อนของท่านว่า
เพื่อนท่านไม่ได้เป็นนักปรัชญาการเมือง พวกเขาจะนิยามประชาธิปไตยออกมา เป้ะ ๆ ตรงกันได้งัย? ผมใคร่กราบเรียนท่านผู้อ่านว่า ส้นตีนแหนะครับ
ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของปวงชน ไม่ใช่เรื่องอีแอบของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถ้าสามัญชนคนเดินดินกินแฮมเบอร์เกอร์ทั้งหลายไม่เข้าใจประชาธิปไตย ก็เป็นอันว่าเลิกกัน
ท่านรองศาสตราจารย์ สมศักดิ์
เจียมธีรสกุล ท่านรักความเสมอภาคและรักประชาธิปไตย ท่านต้องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างในเนื้อหาวัฒนธรรมไทย
ท่านจะให้เลิกนั่น เลิกนี่ เลิกโน่น เลิกนู่น
เช่น ท่านจะให้เลิกใช้ราชาศัพท์ เป็นต้น จนน่าสงสัยว่าในที่สุดแล้ว
เมืองไทยจะเหลืออะไร? จะไม่เหลือแต่จัญไรละหรือ
คิดดูให้ดีนะครับ ซึ่งขณะนี้ท่านก็
“ลี้ภัยตัวเอง” เล่นจิ๋มกระป๋องอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์
จรัล ดิษฐาอภิชัย นักปฏิวัติตลอดชีพผู้ยิ่งใหญ่ หาผู้ใดเสมอมิได้ แบบว่า เช
กัววารา ชิดซ้ายครับพี่
จิ๋มกระป๋องเล่นบ่อย
ๆ ระวังตาบอด
สักวันหนึ่งข้างหน้า อย่างที่เพลงเขาร้องว่า “ต้องมีสักวัน.....ต้องมีสักวัน”
เมื่อท่านรองศาสตราจารย์ สมศักดิ์
เจียมธีรสกุล เดินทางกลับจากฝรั่งเศสมาปฏิวัติพลิกแผ่นดินประเทศไทย และท่านได้เลิกนั่น เลิกนี่ เลิกโน่น เป็นผลสำเร็จ แต่เนื่องจากระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส
มีการฆ่าคนด้วยเครื่องกิโยตินนับหมื่นคน ซึ่งส่วนมากฆ่ากันระหว่างชาวคณะปฏิวัติด้วยกันเอง
มึงฆ่ากู กูฆ่ามึง หวังว่าคงจะไม่มีการ เลิกการมีชีวิต
ของท่านรองศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ด้วยการเด็ดหัวท่านในระหว่างการปฏิวัติ หรือผลักให้ตกลงไปบนรางรถไฟลอยฟ้า ขณะที่ขบวนรถกำลังแล่นเข้าสู่สถานี
จะเลิกนั่น เลิกนี่
เลิกโน่น ผมกราบเรียนวิงวอนท่านรองศาสตราจารย์
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไว้ล่วงหน้าว่า
กรุณาด้วยเถิด อย่าได้ยกเลิกสำนวน “รักประชาธิปไตย ปานจะแหกตูดดม” เสียนะครับ
ทั้งนี้ ผมมีเหตุผลที่ดีสองประการ คือ 1) สำนวนนี้ ไม่ใช่ราชาศัพท์ 2) สุนัขที่บ้านผม คงไม่ยอม
ทั้งนี้ ผมมีเหตุผลที่ดีสองประการ คือ 1) สำนวนนี้ ไม่ใช่ราชาศัพท์ 2) สุนัขที่บ้านผม คงไม่ยอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น