open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561

VillageLife รักประชาธิปไตยปานจะแหกตูดดม ตอน 3/4 ระบอบประชาธิปไตย มี เหี้ย ๆ อย่างไรบ้าง?

รักประชาธิปไตย ตอน 3/4

สรุปจาก งานของปราชญ์ชาวฝรั่งเศส อะเล็กซี เดอ ต็อควิล

สมัยที่ผู้เขียนบลอคนี้ เรียนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา  เคยมีสหายผู้หนึ่งเรียนอยู่ในคณะรัฐศาสตร์ที่นั่น  เขาชอบเอ่ยชื่อ อะเล็กซี เดอ ต็อควิล ให้ผู้เขียนฟังบ่อย ๆ 
นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้นี้  ได้เดินทางไปศึกษา และสังเกตการณ์ ระบอบประชาธิปไตยในอเมริกา  เมื่อปี 1831 และได้เขียนหนังสือปรัชญาการเมืองเล่มสำคัญ  ซึ่งยังใช้เป็นตำราศึกษากันในมหาวิทยาลัยชั้นดีในสหรัฐฯ  ชื่อ “ประชาธิปไตยในอเมริกา”Democracy in America  ตีพิมพ์เมื่อ 1835  หนังสือเล่มนี้พูดเรื่องระบอบประชาธิปไตยหลายเรื่อง  แต่มีเรื่องสำคัญ ที่ผู้เขียนบลอค เห็นว่าน่าสนใจ  แต่ไม่ใคร่มีใครพูดกัน  คือเรื่องมุมมืดอันอัปลักษณ์ ของระบอบประชาธิปไตย
ไม่ใช่ “ยิ่งลักษณ์” นะครับ  เขาพูดเรื่อง “อัปลักษณ์”

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


อะเล็กซี เดอ ต็อควิล เกิดในตระกูลขุนนางต่างจังหวัด ในประเทศฝรั่งเศส  เขาเกิดภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส  จึงถือว่าไม่มีประสบการณ์โดยตรงกับการปฏิวัติ  ไม่ได้มีชีวิตอยู่ในระบอบเก่า หรือ อ็องเซียง เรจีม – ancien régime 


ต่อมาเมื่อผู้เขียนบลอค มีโอกาสได้ไปศึกษาในประเทศฝรั่งเศส  การณ์กลับปรากฏว่า ไม่มีใครรู้จัก เดอ ต็อควิล  นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้โด่งดังในสหรัฐอเมริกาผู้นี้  ที่ฝรั่งเศสเขามีฐานะเพียงปัญญาชนชายขอบผู้หนึ่งเท่านั้น
บทความภาษาไทยบทเรื่อง “ประชาธิปไตย มี เหี้ย ๆ อย่างไรบ้าง” นี้  ผู้เขียนบลอค สรุปเป็นภาษาไทยขึ้นจากบทบรรยาย  ที่นักปรัชญาอังกฤษแห่งยุคปัจจุบันสร้างขึ้น  เขาชื่อ นาย อะแลน เดอ โบต็อน  เป็นคนอังกฤษเชื้อสายยิว คุณปู่เป็นยิวอยู่ในกรุงไคโร ประเทศอีจิปต์  ต่อมาครอบครัวอพยพมาอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์  และต่อมาก็ย้ายมาอยู่ในอังกฤษ  นาย อะแลน เดอ โบต็อน เป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีอังกฤษอยู่ในเวลานี้  เขาเขียนหนังสือขายดีตั้งแต่อายุยี่สิบต้น ๆ ได้เงินมากมาย  ต่อมาเมื่อคุณพ่อตาย ก็รับมรดกอีกอื้อซ่ามหาศาล บานตะไท
ชีวิตทั้งชีวิต ไม่ต้องทำมาหาแดกอะไรก็ได้ สบายมาก  และเขาก็ทำเช่นนั้นคือ ไม่ได้ทำมาหากินอะไร  แต่สนใจเรื่องปรัชญา  สร้างโรงเรียนที่เรียกว่า “โรงเรียนชีวิต” อยู่ในอินเตอร์เนต สอนคนเรื่องธรรมมะแห่งการครองชีวิต  แม้จะไม่ได้ตั้งใจทำมาหากินมากมายนัก  แต่เขาก็มีรายได้ไม่น้อยจากรายการในอินเตอร์เนตของเขา

อะแลน เดอ โบต็อน ศึกษางานของ เดอ ต็อควิล แล้วทำคำบรรยายสรุปประเด็นที่เป็นข้อเสียของระบอบประชาธิปไตยตามที่ เดอ ต็อควิล ว่าไว้ ว่าเป็นสีข้างด้านที่เป็นมุมมืด มุมอับ ของประชาธิปไตย - darker side of democracy  ซึ่งผู้เขียนบลอคนี้จะได้สรุปเป็นภาษาไทย ทยอยนำเสนอท่านผู้อ่าน มีอยู่ทั้งหมดห้าประการ  ดังต่อไปนี้


หนึ่ง.                  ระบอบประชาธิปไตยปลูกฝังให้คนเป็นนักวัตถุนิยม

สังคมฝรั่งเศสโบราณที่ เดอ ต็อควิล รู้จักมาแต่เด็ก  ความคิดที่จะทำมาหาเงินไม่ได้อยู่ในหัวคิดคน  คนจนแทบจะไม่มีหนทางจะสร้างความร่ำรวยขึ้นมาได้เลย  ส่วนชนชั้นขุนนางเจ้าของที่ดินเล่า ก็มีจำนวนน้อยนิด  คนกลุ่มนี้ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องทำมาหาเงินเพิ่มขึ้นอีก  ด้วยประการฉะนี้ เงินจึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะนำมาตัดสินคน

แต่ว่า ชาวอเมริกันที่ เดอ ต็อควิล ได้พบปะระหว่างที่เขาเดินทางทัศนศึกษาท่องสหรัฐฯ  พวกอเมริกันต่างพากันเชื่อว่า ถ้าคนเราทำงานให้หนัก เขาก็จะมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้แก่ตนเองได้  และการทำงานหนักเพื่อความมั่งคั่งร่ำรวย ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างสูง ในสังคมอเมริกัน
เดอ ต็อควิล ตั้งประเด็นสังเกตว่า เงินตรา  ดูเหมือนจะเป็นตัววัดประการเดียวที่คนอเมริกันเคารพนับถือ  ยกตัวอย่างเช่น ในอเมริกาผู้คนพากันเชื่อว่า หนังสือเล่มใดขายไม่ดี แปลว่าหนังสือเล่มนั้นจะเป็นหนังสือดีไปไม่ได้  เครื่องวัดความดี - หรือคุณค่าของทุกสิ่ง อยู่ที่ว่า สิ่งนั้นจะทำมาหาเงินได้มากน้อยแค่ไหน เพียงใด

ระบอบประชาธิปไตย กับ ระบอบทุนนิยม ได้ร่วมกันสร้างวิธีคิดตัดสินมนุษย์ดัวยกัน ที่ดูประหนึ่งว่า เสมอภาค  แต่ก็มีลักษณะดาด ๆ มักง่าย ไม่รัดกุม และกดขี่ข่มเหง

สอง. ระบอบประชาธิปไตยปลูกฝังความอิจฉาริษยา และความรู้สึกอดสูใจ

เนื้อหาบทหนึ่งในหนังสือ ประชาธิปไตยในอเมริกา  เดอ ต็อควิล ตั้งชื่อบทว่า
“ทำไม คนอเมริกันจึงอยู่ไม่สุข ในท่ามกลางกองเงินกองทองของพวกเขา”

เดอ ต็อควิล วิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่าง “ความคาดหวังอันสูง” กับ “ความไม่ได้ดังใจหวัง”  และระหว่าง “ความเสมอภาคทางการเมือง” กับ “ความริษยา-อิจฉาตาร้อน”




[คนนี้ เขาจบปริญญาเอกด้านการประกอบอาชญากรรม(criminology) จากมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงไพเราะที่สุด ในรัฐเท็กซัส ชื่อ มหาวิทยาลัยแซม ฮูสตัน สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้  ต่อมาเขาถูกถอดยศนายตำรวจ  นี่ถ้าเขาจบมาทางตำรวจโดยตรง เช่น เป็น Doctor of Police Science  ใครจะถอดยศเขาได้?]


เขาเขียนว่า เมื่อยกเลิกระบบศักดินาในยุโรป ยกเลิกการสืบทอดสมบัติของพวกขุนนางสืบตระกูล  อาชีพทุกอาชีพก็เปิดประตูกว้างแก่ทุกผู้ทุกนาม  ชายผู้ทะเยอทะยานและเพ้อฝันคนหนึ่ง ก็อาจคิดว่า การได้เป็นใหญ่เป็นโตในทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องขี้ ๆ อีซี่ ๆ ที่ใคร ๆ ก็อาจเป็นกันได้  โดยเฉพาะตัวชาย(หรือหญิง)ผู้นั้นเองซึ่งชะตาราศีไม่ธรรมดา หรืออาจนึกทึกทักเชื่อเอาเองว่าชีวิตตนนั้นสวรรค์เข้าข้าง เป็นต้น  แต่ครั้นคนขี้ตู่รายดังกล่าว ออกเดินทางชีวิตสู่ความเป็นใหญ่เป็นโตไปได้ไม่นาน  ประสบการณ์จริงก็จะเข้ามาแก้ใขความละเมอเพ้อพก และความสำคัญตนผิดของเขา  เขย่าให้เขารู้ตัวจนได้
    
แต่เมื่อความไม่เสมอภาคคือกติกาสังคม เมื่อนั้นความไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก ก็จะไม่เป็นที่สังเกตของผู้ใด  แต่ถ้าความเป็นอยู่บนระนาบเดียวกัน ใครจะดีกว่าใครไปไม่ได้ คือวิสัยและวิถึแห่งสังคมนั้น(สังคมประชาธิปไตย)  ครั้นผู้ใดโดดเด่นขึ้นมาแม้แต่เพียงน้อยนิด ก็จะเป็นที่สะดุดตาสะดุดใจคนทั้งหลาย  เดอ ต็อควิล เห็นว่านี่เป็นเหตุผลที่คอยอธิบายว่า เหตุใดความหม่นหมองอย่างแปลกประหลาด จึงสิงสถิตอยู่ในจิตใจผู้คน ที่อยู่อาศัยในสังคมประชาธิปไตยอันมั่งคั่งสมบูรณ์(คือ สหรัฐอเมริกา)

ระบอบเก่าของยุโรป ที่มีลำดับชั้นชน และการเลื่อนชั้นทางสังคมของคนยากจนเป็นไปได้ยาก  หรือเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลย  ระบอบเก่าดังกล่าวไม่เอื้อต่อคนยากคนจนนับร้อยแปดพันประการ  และ เดอ ต็อควิล ยังเห็นต่อไปว่า ระบอบดั้งเดิมกอรปด้วยความไม่ยุติธรรมอีกมากมาย  แต่จะอย่างไรก็ดีในสังคมชนิดนั้น คนชั้นล่าง พวกที่อยู่ใต้ถุนสังคม จะมีเสรีภาพอยู่อย่างหนึ่ง คือ เสรีภาพที่จะไม่ต้องเปรียบเทียบตนเอง กับคนเด่นคนดัง ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตในสังคม  แล้วก็เลยเกิดอดสูใจ ที่อยากจะเป็นคนสำคัญอย่างคนอื่นเขาบ้าง แต่ว่าตนเองสุดจะเอื้อม


สาม.ระบอบประชาธิปไตยก่อให้เกิดทรราชย์เสียงข้างมาก

ปกติเรานึกว่า ระบอบประชาธิปไตย ตรงกันข้ามกับ ระบอบทรราชย์เผด็จการ 

แต่ เดอ ต็อควิล มีข้อสังเกตว่า ประชาธิปไตยสามารถที่จะสถาปนาระบอบทรราชย์ชนิดพิเศษเฉพาะตัวขึ้นมาได้ คือ ทรราชย์เสียงข้างมาก 

เขาเห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยไม่ชอบความเห็นต่าง หรือความแตกต่าง  ชอบแต่ความเหมือน ๆ กัน เสมอภาค เป็นระนาบเดียวกันทั่วไปหมด  ยิ่งความต่างอันเกิดจากการมีวัฒนธรรมสูงกว่า – cultural superiority ด้วยแล้ว ยิ่งจะไม่สบอารมณ์โก๋เอามาก ๆ ถึงแม้ว่าความต่างดังกล่าว จะอยู่คู่กับระบบคุณธรรม(merit)ก็ตาม

ในสังคมประชาธิปไตย ทรราชย์เสียงข้างมากจะมีสัญชาตญาณแหลมคม ดุร้าย ที่จะบั่นทอน เฉือน และลิดรอน ให้คนอยู่ในระนาบเดียวกัน  การกระทำนี้ - คือการเอาผิดกับคนสูงเหนือตน ถือว่าเป็นคุณงามความดีทางแพ่งด้วยซ้ำ  ใครจะโดดเด่นกว่า เป็นไม่ได้ เขาจะถูกตัด บั่น เชือด และทอนลง ให้ได้ระดับ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมชาย นีละไพจิตร        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เอกยุทธ อัญชันบุตร
สองคนนี้ ถูกฆ่าเฉย ๆ ในระบอบประชาธิปไตย  
ที่จริงพวกเขาน่าจะถูกฆ่า ในระบอบเผด็จการทหาร

                      
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จรัล ดิษฐาอภิชัย      











สองคนนี้ จรัล ดิษฐาอภิชัย กับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล  ต้องคดี และลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศส ในยุคเผด็จการทหาร  ที่จริงพวกเขาน่าจะหนีไปในระบอบประชาธิปไตย


ผู้สรุปเป็นภาษาไทย: ภาษาไทยมีคำกลอนยุคประชาธิปไตย บรรยายลักษณะข้างบนไว้อย่างกินใจ  คอยสอนใจผู้คนในระบอบประชาธิปไตย เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นคนมีชื่อเสียง ซึ่งแม้ท่านจะไม่ได้เป็นนักเรียนฝรั่งเศส แต่ก็เคยอยู่อาศัยในประเทศฝรั่งเศสนานหลายปี และเคยมีภรรยาเป็นชาวฝรั่งเศส  คำกลอนใจความว่า
              จงทำดี แต่อย่าเด่น จะเป็นภัย
             ไม่มีใคร เขาอยากเห็น เราเด่นเกิน 

                                      ชื่อผู้ประพันธ์ หลวงวิจิตรวาทการ
เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้แหละโยม โยมจะไม่พบคำประพันธ์สอนใจทำนองนี้  ในบทกวีโบราณก่อนยุคประชาธิปไตย เช่น โคลงโลกนิติ เป็นต้น

{คำชี้แจง เส้นประ....................==>>พื้นที่เชิงพาณิชย์ เติมเงินมา แล้วจะเติมเนื้อหาเต็ม
หากสงสัย – โปรดอ่านคำชี้แจงที่ "ผมไม่ใช่ จิ้งหรีด นะครับ"


สี่. ประชาธิปไตยคอยปลุกปั่น ให้คนแว้งกัดผู้มีอำนาจหน้าที่โดยชอบธรรมในบ้านเมือง
คำว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ ในที่นี้แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า authority
ต็อควิล ไม่ค่อยจะสบอารมณ์กับการที่คนอเมริกัน แม้แต่คนที่หาดีอะไรในตนไม่ได้ ยังปฏิเสธที่จะยอมรับว่ามีใครดีกว่าตัว  แม้คนอื่นรายนั้นจะได้ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนมาเจ็ดปี เพื่อที่จะได้เป็นแพทย์  หรือเคยศึกษากฎหมายมาสองทศวรรษ หรือเคยเขียนหนังสือดีมากขึ้นมาเล่มหนึ่ง
ลักษณะหัวดื้อหัวแข็ง ไม่ยอมรับผู้อื่นง่าย ๆ เช่นนี้ ก่อผลเสียต่อเนื่องต่อไป  กลายเป็นว่าจะไม่ยอมรับผู้ใด ให้อยู่เหนือกว่าตนเป็นอันขาด  เขาจะไม่ “ก้มหัว” ให้ใคร
ต็อควิล เห็นว่าในสังคมหรือบ้านเมือง จะมีคนบางคนที่ฉลาดกว่า รู้มากกว่า มีเมตตาสูงกว่า มีความสำนึกเป็นผู้ใหญ่กว่าคนอื่น ๆ อีกบางคน  สำหรับคนพวกนั้นเราพึงสนใจรับฟังเขา
แต่ระบอบประชาธิปไตย มีแนวโน้มที่จะลำเอียง ตะแคง และตะแบงเข้าหาลักษณะ “กึ่งรู้”  ภาษาอังกฤษว่า mediocrity คือ รู้มั่งไม่รู้มั่ง เท็จมั่งจริงมั่ง มั่ว ๆ ปน ๆ กันไป  ระบอบประชาธิปไตยชอบคน และสิ่งของ ประเภทนั้น
ผู้สรุปเป็นภาษาไทย: เข้าทำนองคำโคลงโบราณภาษาไทย ที่ว่า
                            รู้น้อยว่ามากรู้     เริงใจ
                        กลกบเกิดอยู่ใน      สระจ้อย

คำโคลงท่อนนี้ อิงอยู่กับนิทานสอนใจในดินแดนภารตะ  ซึ่งถูกเล่าต่อ ๆ กันมาไม่น่าจะต่ำกว่าสามพันปีมาแล้ว  ท่านสวามีวิเวกอนันต์ นำไปเล่าเผยแพร่ในตะวันตก เมื่อครั้งมีการประชุมนานาศาสนาโลก ในนครชิคาโก  สหรัฐอเมริกา พ.ศ 2436/ค.ศ.1893

                              


{คำชี้แจง เส้นประ....................==>>พื้นที่เชิงพาณิชย์ เติมเงินมา แล้วจะเติมเนื้อหาเต็ม
หากสงสัย โปรดอ่านคำชี้แจงที่ "ผมไม่ใช่ จิ้งหรีด นะครับ"

ห้า. ประชาธิปไตยบั่นทอนเสรีภาพ


ห้า. ประชาธิปไตยบั่นทอนความเป็นอิสระ และเสรีภาพของใจคน
เราเข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ประชาธิปไตยส่งเสริมให้ประชาชนมีใจคอกว้างขวาง  แต่ ต็อควิล เห็นตรงข้าม 
เขาพบว่า ยากจะมีที่ไหนในโลก นอกจากที่อเมริกา ที่ผู้คนมีความเป็นอิสระเชิงความคิดเพียงน้อยนิด และมีเสรีภาพจิบจ้อยในการถกปัญหาอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุที่ถือกันว่า ระบบของตนเที่ยงตรงและยุติธรรม ชาวอเมริกันจึงยกเลิกที่จะคิดอย่างวิพากษ์วิจารณ์(critical thinking)  แต่กลับศรัทธาข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ และนับถือสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า สามัญสำนึก
และเนื่องจากอเมริกันเป็นชาติพาณิชย์กรรม(commercial society)  คนอเมริกันจึงมีสำนึกที่จะไม่เกินหน้าเกินตา หรือแตกต่างไปจากเพื่อนบ้านมากเกินไป เพราะเพื่อนบ้านอาจเป็นลูกค้าก็ได้
คนอเมริกันไม่ต้องการทำตัวเป็นคนต้นคิด  อยากอยู่เหมือน ๆ เพื่อนมากกว่า  ไม่ชอบที่จะแตกต่าง

สรุป ของ เดอ โบต็อน
แม้ ต็อควิล จะพูดถึงแง่ลบ ค่อนข้างมืด ๆ ของระบอบประชาธิปไตย  แต่ไม่ได้หมายความว่า เขาจะแอนตี้ประชาธิปไตย หรือเป็นปฏิปักษ์ต่ออเมริกา
เขาเพียงต้องการจะชี้ให้เห็นว่า การมีชีวิตอยู่ในระบอบประชาธิปไตย  บางที และในบางแง่มุม จะกอรปด้วยลักษณะอันน่ารำคาญใจ และน่าอึดอัดขัดข้อง
เขากำลังมองโลกตามปรัชญา สโตอิค ที่ถือว่า ความเจ็บปวดบางอย่างเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิต  อย่าได้ประหลาดใจ หรืออย่าตกใจ  มันเป็นราคาค่างวดของการมีชีวิตอยู่ในระบอบประชาธิปไตย  การเมืองของระบอบประชาธิปไตยมีข้อน่าเกลียดน่าอัปลักษณ์อยู่บางอย่าง บางประการ นั่นคือ ราคาของประชาธิปไตย  ที่มีทั้งอัปลักษณ์และยิ่งลักษณ์
และท่าน คุณ หรือเราทั้งหลาย ก็ต้องจ่ายราคาค่างวดดังกล่าวนั้น  เมื่อเรามอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ปวงชน


ปรีชา ทิวะหุต
หลังสวน ชุมพร
ผู้สรุปเป็นภาษาไทย
------------------------------------------------------------------------------------------------------- สนใจคำบรรยายต้นฉบับ ของ อะแลน เดอ โบต็อน เชิญตามลิงก์ ครับ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น