open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Village Life: วิธีตอบรับ คำวิจารณ์


คำวิจารณ์แม้จะกอร์ปด้วยเหตุผล และ คำตำหนิติฉินนินทาทั้งที่มีเหตุผล หรือแสดงอารมณ์ร้าย อารมณ์เสีย ของผู้ว่ากล่าว ล้วนแต่เป็นประสบการณ์ยากแก่การรับประทาน(แดกไม่ลง)สำหรับ “ผู้โดน”  

เนื่องจากโลกเราประกอบขึ้นด้วยมนุษย์นานาจิตตัง ที่มีค่านิยม คุณธรรมนิยม คตินิยม รสนิยม ลัทธิศาสนา ตลอดจนเพศนิยม แตกต่างกัน รวมทั้งมีผลประโยชน์นานาประการ ต่างกันไป  โอกาสที่เราจะเป็น “ผู้โดน” เป็นไปได้ไม่ยาก และโอกาสที่เราจะปากเสีย พูดติฉินนินทาผู้อื่นก็เป็นไปได้ไม่ยาก

ดูแต่กรณีอภิมหาเศรษฐี Elon Musk ชาวอัฟริกาใต้ ถือสัญชาติอเมริกัน เจ้าของกิจการส่งจรวดและรถยนตร์ไฟฟ้า และฯลฯ  ที่ริษยาตาร้อน ปากหมา นินทานักดำน้ำชาวอังกฤษที่มาช่วยเด็กติดถ้ำที่เชียงราย จนตัวเอง(นายเอล็อน มัสค์)เสียรังวัดไปเยอะเลย หุ้นที่ตลาดนิวยอร์คของ บริษัทแก ตกหลายขุมในวันนั้น  และอาจจะมีอะไรจะเสียต่อไปอีก ในระยะข้างหน้า ประมาณค่ามิได้

นักพูดให้กำลังใจคนชาวฝรั่งเศส นายดาวิด ลาโรช ก็เป็นคนดังอีกคนหนึ่งที่ถูกวิจารณ์จากสื่อระดับชาติ(ฝรั่งเศส)ว่า เขาเป็นนักต้มตุ๋นมนุษย์  จนเขาซวดเซเสียศูนย์ไปพักเล็ก ๆ พักหนึ่ง  ครั้นฟื้นขึ้นมาได้ใหม่ เขาสร้างวีดีโอ ดังลากมาไว้ข้างล่างนี้  พูดจาให้กำลังใจคนที่ถูกผู้อื่นวิจารณ์หรือติฉิน เขาเสนอวิธีที่ตัวเขาใช้ จัดการกับคำวิจารณ์(คำตำหนิ คำติฉินนินทา) - จัดการกับ “คำ” นะ  ไม่ใช่จัดการกับ “คน”


วีดีโอ




ในบทวีดีโอ ดาวิด ลาโรช ได้แนะนำวิธีที่เราจะรับมือกับคำวิพากษ์วิจารณ์ไว้ 7 ประการ โดยลำดับดังนี้
1.    ให้ประเมินดูว่า เรื่องหรือประเด็น ที่เขาวิจารณ์เรานั้น เขามีความเชี่ยวชาญแค่ไหน?  ถ้าเขาเป็นเอตทัคคะในทางนั้น ๆ เราก็น่าจะให้คุณค่ารับฟังคำวิจารณ์ อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองของเรา 



2.    ประเมินว่า เขาวิจารณ์ด้วยเจตนาสร้างสรรค์--เจตนาเชิงบวก คือเขาอยากเห็นเราดีขึ้น อะไรประมาณนั้น หรือเปล่า? หรือว่าเขาติฉินนินทาเพื่อทำลายเรา ให้ย่อยยับอัปรา(ชัย)

3.    ประเมินตัวเอง ว่าเราเป็นคนเสพติดคำสรรเสริญเยินยอ รึเปล่า?  ให้ปล่อยวาง เยียวยา บำบัดรักษา อาการเสพติดคำชมเสีย  แล้วก็วางความเดือดร้อนจากคำติฉินนินทาลงเสียด้วย  เพื่อให้ตัวเบาสบาย ให้เป็นอิสระจากคำชมและคำติฉิน อันล้วนเป็นเครื่องทำให้เราเศร้าหมอง ทั้งสองอย่าง

4.    ให้รู้ว่า คำวิจารณ์แต่ละคำ สอนให้เรารักตัวเองมากขึ้น  ถ้าเราเดือดเนื้อร้อนใจไปกับคำวิจารณ์ใด ก็แปลว่า คำวิจารณ์นั้นจี้จุดบกพร่อง จุดอ่อน ของเราเอง  มันทำให้เรารู้จักข้อด้อยของเรามากขึ้น  และช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะรักข้อบกพร่องของเราเอง  คนเราทั้งตัวมีทั้งข้อดีและข้อด้อย เราพึงยอมรับข้ออ่อนของเรา และรู้จักที่จะรักมัน

5.    คำวิจารณ์ทำให้เราเจริญเติบโตขึ้น  เช่น เขาว่าเรา ไม่เข้าท่า ในเรื่องใด แต่เราเห็นว่าที่จริงแล้วเรา เข้าท่า ในเรื่องนั้นต่างหาก  เราสามารถพิสูจน์ได้ จนเราประจักษ์แก่ใจ(เราเอง)  ฉะนี้แล้ว คำวิจารณ์นั้นก็ไร้ค่า และจะหุบไปเอง ส่วนตัวเราก็จะเจริญขึ้น

6.    คำวิจารณ์ ตำหนิติเตียน ทำให้เรารู้จักรัก(เมตตา)ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น  คนเราต่างมีชีวิตอยู่กับระบบค่านิยม ระบบคุณค่า ระบบความชอบความชัง ต่าง ๆ นานา ไม่เหมือนกัน  เราต่างประกอบกันเข้าเป็นโลกนี้ทั้งโลก(ไม่ใช่ ทั้งใบ นะ - นั่นมันลูกอัณฑะ แล้วล่ะ)  คำวิจารณ์ช่วยให้เรารู้จักที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น(ผู้วิจารณ์) และรู้จักระบบความชอบความชังของเขา  ให้จำไว้ว่า คำวิจารณ์จำนวนมากมาจากคนที่เขามีความทุกข์ในชีวิตมากกว่าเรา  เขาตำหนิวิจารณ์เรา เพียงเพื่อช่วยให้ตัวเขาเองเบาสบาย เราจะไปโกรธเขาทำไม ในเมื่อตัวเขาเองทุกข์หนักอยู่แล้ว  ท่านว่า เราฟังเขาด่าเราห้านาที เรามีชีวิตอยู่กับคำด่านั้นเพียงห้านาที รู้มั๊ยว่า คนที่มันด่าเรา มันมีชีวิตอยู่กับคำด่านั้นมาแล้ว 365 วัน

7.    จงเดินหน้าต่อไป รู้จักฟังคำคน(รวมทั้งคำตำหนิวิจารณ์) ไม่ใช่ไขหู เดี๋ยวโง่ตายห่า แล้ววางไว้ที่หน้าประตูบ้านคนวิจารณ์เรา  เก็บส่วนดีใส่ตัว แล้วเดินหน้าต่อไป อย่าย่ำอยู่ตรงนั้น ชีวิตคนต้องเดินหน้าต่อไป

เด็กยูทูบชาวฝรั่งเศสที่พอมีชื่อเสียงคนหนึ่ง  ช่อง Alexis podcast เขาบอกว่า เมื่อโพสต์วีดีโอแล้ว จะมีคน คอมเม้นต์(หรือตำหนิวิจารณ์ ต่าง ๆ นานา) เขาว่า เราต้องรับฟัง(แต่ไม่ใช่ยอมรับ) เช่น เคยมีคน คอมเม้นต์ มาว่า 

          “T’es con?” - มึงหน้าหี หรือ?

เขาก็ตอบไปว่า

          Qui!” - เออใช่ กูหน้าหี!





สนใจ VillageLife บทอื่น ๆ คลิกนี่เลย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น