open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

VillageLife: แนะนำ เพลงชาติ มาเลเซีย 31สค. วันชาติมาเลย์ฯ


เพลงชาติมาเลเซีย เพื่อนบ้านด้านใต้ แต่เขื่อนไม่แตก ของเรานั้น  ผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้อ่านได้ยินชื่อเพียงครั้งเดียว จะจดจำชื่อเพลงได้ตลอดชีวิต  ทั้ง ๆ ที่ท่านอาจไม่เคยรู้จักเพลงชาติมาเลเซียมาก่อนเลย

ชื่อเพลง เป็นการผสมคำระหว่างคำภาษาสันสกฤต กับ คำภาษามาเลย์  คนไทยทุกคนจะรู้จักทั้งคำสันสกฤตคำนั้น  ส่วนคำมาเลย์คำนั้น  แม้จะไม่เคยรู้ภาษามาเลย์มาก่อน - คนไทยก็จะรู้จัก คนไทยที่ไม่รู้จักคำมาเลย์คำนี้ – ให้ไปตายซะ (ขออภัย เขียนให้มีสีสัน ไม่ได้แช่งใคร)

เพราะฉะนั้น ท่านผู้อ่านที่เคารพ ได้ยินชื่อเพียงครั้งเดียว ก็จะจำชื่อเพลงชาติมาเลเซียได้ตลอดชีวิต  

ชื่อไร วะ? 

ถ้าได้ยินแล้ว กูจำไม่ได้ตลอดชีวิต คนเขียนเดือดร้อนนะ บอกไว้ก่อน

สงบสติ สะตีน ไว้ก่อนครับพี่ โปรดฟัง.....

เพลงชื่อ Negaraku อ่านว่า เน-กะ-รา-กู  ซึ่งไม่ใช่อื่นไกล คือ “นครากู”  หรือ “บ้านเมือง(ของ)กู” นั่นเอง
คำว่า “นครา” ไม่ต้องพูด มาจากภาษาแขกที่ทุกคนรู้  พิจารณาคำว่า “กู” กันดีกว่า

คำว่า “กู” ในภาษามาเลย์ เป็นคำพ้องเสียง homonyms คือมี same phonological shape - กับคำว่า “กู” ในภาษาไทย

ไม่แต่เท่านั้น  ยังพ้องความหมายด้วย - นี่มองในแง่ semantic หรือความหมายของคำ คือ กู ภาษามาเลย์ กับ กู ภาษาไทย ความหมายเดียวกัน คือเป็น บุรุษสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ที่ใช้ในกรณีสามัญทั่วไป ถ้าเป็นกรณีไม่สามัญ คือเป็นวิสามัญ  ภาษาไทยอาจใช้ ข้าพเจ้า หม่อมฉัน กระผม ผม ข้อย ข้าน้อย ฯลฯ  ส่วนภาษามาเลย์จะใช้คำว่า “ซายา”(มีคำเดียว)

ยังมีเหมือนกันอีกลักษณะหนึ่ง คือ ลักษณะของการ “อนุญาตให้ตามติด” หรือ licensing ซึ่งเป็นแนวคิดใหญ่ในวิชาภาษาศาสตร์  คำนามในภาษามาเลย์ กับ คำนามในภาษาไทย ต่างก็ “อนุญาตให้ตามติด” หรือ license ให้มีบุรุษสรรพนามตามติดได้ แล้วมีความหมายแสดงความเป็นเจ้าของ  เช่น ภาษามาเลย์ว่า รูมะ กิตา  ภาษาไทยว่า บ้านเรา (ความหมายตรงกัน)

ภาษาอังกฤษจะต้องตามด้วย prepositional phrase ว่า the house of me, of him, of them
กรณีนี้ บุรพบท “ของ” ไม่จำเป็น ทั้งในภาษามาเลย์และภาษาไทย  เพราะฉะนั้น เนกะรากู ก็คือ บ้านเมืองกู

เนื้อร้องเต็ม
Negaraku
Tanah tumpahnya darahku
Rakyat hidup bersatu dan maju
Rahmat bahgia Tuhan kurniakan
Raja kita selamat bertakhta
Rahmat bahgia Tuhan kurniakan
Raja kita selamat bertakhta

ประเด็นเล็ก ๆ ประเด็นสุดท้ายที่จะชี้ให้ดูและฟัง  คือที่เวลาวีดีโอประมาณ 00:44 ร้องว่า
Raja kita”

ซึ่งหมายถึง พระราชาของเรา(พระราชาประเทศมาเลเซีย)  กิตา แปลว่า เรา  เช่น รูมะ กิตา แปลว่า บ้านเรา

คนไทยที่พูดภาษามาเลย์ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น  ในอดีตจะเรียกพระเจ้าแผ่นดินไทยว่า ราชา(หรือ รายา) สิ-ยาม  ซึ่งหมายถึง พระราชาสยาม

ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่เก้า คนจำนวนมากจำนวนหนึ่ง(ไม่ใช่ทุกคน) จะหันมาเรียกพระมหากษัตริย์ไทยว่า รายา กิตา ไม่ได้เรียก รายา สิยาม เหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ด้วยเดชะพระเมตตาบารมี

เป็นการแสดงการยอมรับ แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความสนิทชิดเชื้อ  ขอให้ความกลมเกลียวแม้จะเพียงส่วนหนึ่งส่วนเดียวนี้ ดำรงอยู่ชั่วกาลนาน (คนเหี้ย ๆ ย่อมมีบ้าง เราไม่ว่ากัน คนไทยภูมิภาคอื่น ๆ ที่เหี้ย ๆ ก็มีเยอะทุกรูปแบบ อย่ามามั่ว ๆ ว่าแต่คนสัญชาติไทยทางใต้)

ขออภัย ย่อหน้าข้างบน ไม่สำคัญหรอก ผู้เขียนเพ้อ ๆ เขียนไปงั้นเอง อ่านแล้วก็ลืมซะเถอะ  ที่สำคัญคือ การได้มีโอกาสชี้ให้ท่านเห็นว่า ภาษามาเลย์กับภาษาไทย ใกล้ชิดกันมากกว่าที่บางท่านอาจคาดคิด และที่สำคัญกว่านั้น หวังว่าท่านคงจะจดจำชื่อเพลงชาติมาเลเซีย ได้จนกว่าขีวิตจะหาไม่ ขื่อเพลง

“เน กะ รา กู”  ครับ



วีดีโอ เพลงชาติ มาเลเซีย เพลง เนกะรา กู







สนใจอ่าน VillageLife บทอื่น ๆ คลิกนี่เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น