ท่านผู้อ่านและตัวผู้เขียนเอง เราต่างคงจะเคยมีสัมพันธภาพที่ต้องขาดสะบั้นลง และเราต่างก็คงมีสัมพันธภาพปัจจุบัน ที่เราจะต้องประเมินใหม่
หลักการประเมินสัมพันธภาพ
ที่ผู้เขียนเห็นว่าดีสำหรับตัวเอง และเคยใช้มาแล้ว ตลอดจนยังคงใช้อยู่
ได้แก่การพยายามตอบคำถามว่า “ราคาค่างวด ที่เราต้องจ่ายเพื่อดำรงอยู่กับสัมพันธภาพนี้
เป็นอย่างไร?” ซึ่งเรียบเรียงมาจากคำของท่านผู้รู้
ในภาษาอังกฤษว่า What is my cost for being in this relationship?
เรื่องนี้ไม่ใช่การคิดเล็กคิดน้อย
หรือคิดเป็นประเด็นเศรษฐกิจหรือการบัญชี เรื่องนี้ไม่ใช่
การประเมินความคุ้มค่า ที่เรียกกัน cost-benefit
analysis คนละเรื่องกันเลยอ่ะ
เรื่องนี้
เราประเมินราคาค่างวด หรือ cost
แต่เพียงอย่างเดียว
เราไม่คำนึงถึง
ผลได้-หรือผลประโยชน์ หรือ benefit หากเราประเมินราคาค่างวดแล้วเรารับไม่ไหว
เราก็ต้องแจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จะเป็นเพื่อนหรือกิ๊ก หรือ ฯลฯ ว่า “โปรดจูบลาฉัน” Please
kiss me goodbye. เราจะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ หรือผลได้(ที่อาจมีมากมหาศาล)
เพราะฉะนั้น
จึงไม่ใช่ การคิดความคุ้มค่าที่เรียกว่า cost-benefit
analysis ซึ่งเขาวิเคราะห์ทั้งสองทาง ทางใด้และทางเสีย
วิธีคิดที่ผู้เขียนนำคำแนะนำของท่านผู้รู้มาใช้นั้น เราจะคิดทางเสีย - ทางเดียวเท่านั้น
ในชีวิตที่ผ่านมา
ผู้เขียนได้ใช้หลักการนี้โดยตลอด
การตัดสินใจเชิงสัมพันธภาพครั้งสำคัญ เช่น การออกจากงาน
หรือสัมพันธภาพส่วนตัว
ถ้าราคาค่างวดของการคงอยู่ในสัมพันธ์ ผู้เขียนรับไม่ไหวอีกต่อไป แม้ผลได้หรือผลประโยชน์จะมาก
ผู้เขียนก็จะ kiss my
partner goodbye หรือหากบังเอิญคู่สัมพันธ์ที่คิดเหมือนกับผู้เขียน ทางฝ่ายนั้นก็จะ kiss me goodbye
ผู้เขียนไม่ได้วิเคราะห์เรื่องความคุ้มค่า
อย่างไรก็ดี
ราคาค่างวดของสัมพันธภาพ
ไม่รวมถึงค่าที่เราต้องลงทุนลงแรงทะนุบำรุงสัมพันธภาพนั้น-นี่เป็นเรื่องธรรมดา เราจะไม่นำมาคิด หรือเรื่องที่เราจะต้องเสียสละบ้าง
ในการคบหาสมาคมกัน-นี่ก็ธรรมดา ไม่นำมาคิด
ประเด็นที่นำมาคิดคือ การที่เราจะต้องละทิ้งความเป็นตัวของตัวเอง ต้องสละตัวตนเป็นกระบิ
ๆ เพื่อเบียดตัวไปลงในกรอบของอีกฝ่ายหนึ่ง นี่-เรื่องนี้รับไม่ได้
Kiss me
goodbye, please.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น