open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

VillageLife “ฮี่ โต๋ก กะ โหล แหม” ?


เวลา 08.56 น.
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561
แรม    14 ค่ำ เดือน 11 ค.ศ. 2018

ผมยืนอยู่หน้าร้านค้าสหกรณ์ โรงพยาบาลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร




ผู้ที่ยืนอยู่หน้าสุดที่ประตูทางเข้าร้าน เป็นกลุ่มสุภาพสตรีวัยกลางคนสามสี่คน รูปร่างท้วม ๆ เหมือนกันทุกคน คนหน้าสุดกำลังจะยื่นมือออกไปแตะที่ประตูเลื่อนทางเข้าร้าน ประตูเลื่อนดังกล่าวไม่ใช่ประตูเลื่อนอัตโนมัติ แต่ก็ไวต่อการสัมผัสมาก เพียงเธอใช้มือดันเบา ๆ ประตูก็เลื่อนพรวดทันที ทำให้เธอถึงแก่ตกใจ อุทานออกมาด้วยสำเนียงใต้ ว่า

“ฮี่ โต๋ก กะ โหล แหม”

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของการเรียงคำที่ไม่ผิดไวยากรณ์ กล่าวคือ ถูกต้องในแง่ของ syntax หรือ syntactic analysis – การวิเคราะห์เชิงซินแท็กซ์  แต่อาจมีปัญหาในแง่ของความหมายหรือ semantics ของการใช้ภาษา

และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า มนุษย์ทุกภาษาต่างล้วนมีความสามารถที่จะเรียงคำโดยไม่มีขีดจำกัด (-- indefinite)  ถึงแม้ว่าเราแต่ละคน จะมีคลังคำหรือพจนานุกรมในสมอง หรือ lexicon จำนวนจำกัด(-- definite)ก็ตาม

ปัญหาเชิง semantics ของประโยคดังกล่าวอยู่ที่ว่า ตัวประธานของประโยคไม่อาจทำกิริยา “โต๋ก” ได้เลยเป็นเด็ดขาด มันจะพลัดตกลงมาไม่ได้ เพราะมันอยู่ติดกับร่างกายมนุษย์เพศเมีย

สำหรับในภาษาอังกฤษ ตัวอย่างที่คลาสสิคที่สุด ในกรณีนี้(syntax ถูกต้อง แต่ผิด semantics) ได้แก่ตัวอย่างที่ปรมาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ โนม ชอมสกี ได้ยกไว้ คือ

Colorless green ideas sleep furiously.

ผู้เขียนจะไม่ขอล้วงลูกลึก เพราะตัวเองก็งง ๆ อยู่เหมือนกัน ใช่ว่าจะรู้ดีซะเมื่อไหร่  อย่างไรก็ดีประโยคอุทานดังกล่าวข้างต้น แปลงเป็นสำเนียงภาษาไทยกลาง จะพูดว่า

“หี ตก แล้ว ลูก แม่”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น