ประสิทธิ
ไชศีรษะ อดีตสส.จังหวัดสุรินทร์ เป็นเอตทัคคะเลิศประเสริฐศรีเรื่องการใช้ภาษา ผู้เขียนเคารพนับถือเป็น
“อภิมหาจารย์” คืออาจารย์ยิ่งใหญ่ อภิมหา + อาจารย์
ที่เวลาวีดีโอ 0:46 ประสิทธิ ไชศีรษะ อภิมหาจารย์
พูดว่าตนไม่ได้ทำ ถ่อย เถื่อน สถุล
ผู้เขียนบลอคนี้ ขอแสดงความเห็น
เป็นคอมเม้น ดังนี้
#1. เคยคอมเม้นต์เอาไว้ว่า ในทางภาษาศาสตร์ ถ่อย กับ เถื่อน
เป็นคำมอร์ฟีมเดี่ยว(single morpheme) ส่วนคำว่า สถุล
เป็นคำทวิมอร์ฟีม และมีสองพยางค์ คอมเม้นต์นี้อยู่ในบทความเรื่อง
รักประชาธิปไตยฯ
#2. อย่างไรก็ดี ภายหลังนึกขึ้นได้ว่า “ฉะเชิงเทรา” เป็นคำมอร์ฟีมเดี่ยว ทั้ง ๆ ที่มีถึงสามพยางค์ เอ้ะ
ที่เขียนไปก่อนหน้านี้ เป็นปัญหาละซี?
#3. ภาษาศาสตร์แยก มอร์ฟีม กับ พยางค์(syllable)
ออกจากกัน ภาษาศาสตร์ไม่ได้สนใจพยางค์ แต่ถือว่า มอร์ฟีม – morpheme คือ หน่วยเล็กที่สุดของภาษาที่วิชาภาษาศาสตร์สนใจศึกษา
มอร์ฟีม
หมายถึง หน่วยเล็กที่สุดในภาษาพูดของมนุษย์ ที่เมื่อเปล่งเสียงออกมาแล้ว มีความหมายเป็นที่เข้าใจกัน
หรือได้ใจความ
#4. คำว่า ฉะเชิงเทรา คล้ายคำว่า Washington ในแง่นี้ คือแม้จะมีสามพยางค์ – three
syllables แต่รวมกันแล้วมีความหมายเดียว
เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเมืองหรือเขตการปกครองแห่งหนึ่ง ถือเป็นคำมอร์ฟีมเดียว
#5. แต่คำว่า “สถุล” ผมคอมเม้นต์อยู่ในบทความ รักประชาธิปไตยฯ ว่า เป็นคำสองมอร์ฟีม จะต้องถูกหรือ?
ก็ในเมื่อรวมกันแล้ว หมายถึงลักษณะหรือความประพฤติอันหยาบคาย เหี้ย ๆ โหลยโถ้ย คือ
รวมแล้วมีความหมายเดียวเดี่ยว ๆ ไปในทาง หยาบช้า อนารยะ สวะ
#6. ประเด็นนี้เราต้องย้อนกลับไปดูนิยามที่ว่า มอร์ฟีม
เป็นหน่วยเล็กที่สุดในภาษาพูดของมนุษย์ ที่เวลาเปล่งเสียงออกมาแล้ว มีความหมาย(ได้ใจความ)
คำว่า Washington นั้น แต่ละพยางค์ไม่ได้มีความหมายอันเป็นที่เข้าใจกัน
ต่อเมื่อรวมกันแล้วจึงเกิดความหมาย คำว่า
ฉะเชิงเทรา ก็เหมือนกัน ฉะ--ไม่ได้มีความหมายที่สามารถเข้าใจกันได้ทั่วไป เชิง--ก็เช่นเดียวกัน
หรือ เทรา--ยิ่งไปกันใหญ่ เข้าใจไม่ได้เลย แต่ว่าเมื่อเปล่งเสียงออกมารวมกันทั้งสามพยางค์
ก็เกิดเป็นคำ(word)ที่ความหมายชัดเจนแน่นอน
ว่าหมายถึงจังหวัดหนึ่ง คำสองคำนี้ ฉะเชิงเทรา
กับ Washington จึงถือเป็นคำมอร์ฟีมเดียว
หรือคำว่า
เหฺมฺร้ ในภาษาใต้ ที่ต้องออกเสียงควบกันทั้งสามเสียงอักษร
คือ ห+ม+ร แล้วจึงได้ความหมายว่า หมายถึงไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ดอกและผลสีม่วง เด็ก ๆ
ชอบกินเล่น นี่ก็คำมอร์ฟีมเดียว แม้จะกล้ำปนกันอยู่ถึงสามเสียง
#11. ท่านผู้อ่านที่เคารพคงจะเดาไม่ผิด ว่าเหตุใดผู้เขียนและชาวจังหวัดสุรินทร์จำนวนมาก พากันเคารพนับถือ ประสิทธิ ไชศีรษะ เป็นอภิมหาจารย์ ก็แกเล่นใช้ศัพท์สูง ๆ สูงลิบลิ่ว จากภาษาสันสกฤตอันศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้จารคัมภีร์พระเวท เป็นภาษาที่คนยอมรับยกย่องทั่วทั้งชมพูทวีป ซึ่งกว้างใหญ่กว่าจังหวัดสุรินทร์เยอะมากเลย
แต่ว่า -- คำสรรเสริญใดต่อสันสกฤต หรือจะวิจิตรไปกว่าจาก เซอร์โมเนียร์ โมเนียร์-วิลเลียมส์ ผู้รู้สันสกฤตเมื่อครั้ง บริติช ราช ยังปกครองอินเดีย
#7. กระนั้น ก็มีประเด็นแย้งว่า กรุงเทพ เป็นคำสองพยางค์และหมายถึงท้องถิ่นทางภูมิศาสตร์อันเฉพาะเจาะจง แต่ทำไมภาษาศาสตร์กลับถือว่า กรุงเทพ เป็นคำ สองมอร์ฟีม
ทำไม?
ทำไมจึงไม่เป็นมอร์ฟีมเดียวอย่าง Washington หรือ
ฉะเชิงเทรา?
อีกแล้ว
เราต้องย้อนกลับไปหานิยามทางภาษาศาสตร์ที่ว่า มอร์ฟีม
เป็นหน่วยเล็กที่สุดในภาษาพูดของมนุษย์ ที่เวลาเปล่งเสียงออกมาแล้ว
มีความหมาย(ได้ใจความ) คำว่า กรุงเทพ แยกออกได้สองเสียง กรุง + เทพ พยางค์ว่า กรุง
หมายถึงเมืองใหญ่ จึงถือเป็นหนึ่งมอร์ฟีม พยางค์ว่า เทพ หมายถึงผู้สถิตบนสรวงสวรรค์
ก็ถือเป็นอีกหนึ่งมอร์ฟีม พยางค์แต่ละพยางค์ แต่ละเสียง เมื่อเปล่งออกมาเดี่ยว ๆ
ต่างก็ได้ใจความทั้งสองเสียง จึงถือว่า กรุงเทพ เป็นคำสองมอร์ฟีม
#8. กลับไป ถ่อย เถื่อน และ สถุล ในวีดีโอ
ที่ ประสิทธิ ไชศีรษะ ผู้เทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งชาวสุรินทร์จำนวนมากเคารพนับถือเป็น
อภิมหาจารย์ สองคำแรกเป็นคำมอร์ฟีมเดียว
แต่คำที่สาม สถุล เป็นคำสองมอร์ฟีม
เพราะแต่ละเสียง(พยางค์)ล้วนมีความหมาย ได้ใจความ
เอ้ะ ได้ใจความว่าอย่างไร? มั่วเปล่า? เรื่องนี้เราต้องดูที่ต้นตอของคำว่า สถุล ในภาษาสันสกฤต
ที่เขียนด้วยอักขระเทวนาครี ว่า स्थूल
ใจเย็น ๆ ไม่ต้องตกใจ อย่าคลิกหนีไปเสียก่อน ผู้เขียนเกรงว่าท่านผู้อ่านบางท่าน
อาจเพิ่งได้เห็นต้นฉบับคำว่า สถุล ในสันสกฤต เขียนด้วยเทวะนาครี กะตาตัวเองเป็นครั้งแรกในชีวิต
จึงนึกว่าผีหลอก คลิกหนีไปโดยอัตโนมัติ
#9. สถุล ในภาษาสันสกฤตมีความหมายเหมือนในภาษาไทย คือ หยาบคาย โหลยโถ้ย ระยำบัดซบ สาระเลว
เหี้ย ๆ ส้นตีนแหนะครับ งี่เง่า ไอ้เบื้อก แต่ว่าคำนี้ภาษาสันสกฤตใช้สระเสียงยาว ต่างกับภาษาไทยที่ใช้สระเสียงสั้น
สันสกฤตใช้สระ “อู” ขณะที่ภาษาไทยใช้สระ
“อุ”
สระอู ในสันสกฤต เขียนด้วยอักขระเทวนาครีเป็นอักษรตัวเต็มว่า
ऊ อย่างไรก็ดี เทวนาครีมีทั้งระบบอักขระตัวเต็มและอักษรตัวย่อ
สระอูอย่างย่อเขียนว่า “ू”
ซึ่งก็คือ “ू” ที่เราเห็นอยู่ใต้คำว่า स्थूल ของ
ประสิทธิ ไชศีรษะ นั่นเอง
ถ้าเป็นสระอุ—เขาจะเขียนตีนนอนหงาย
กลับหางมาข้างหน้า เป็น “ु” ตัวอย่างเช่น คำต่อไปนี้ตีนหงายมาข้างหน้า
थु
อ่านว่า ปุ ส่วนคำต่อไปตีนคว่ำไปด้านหลัง
थू
อ่านว่า ปู เป็นต้น -- ภาษาไทยใช้ตัว ก.ไก่ -- กะ กา กิ กี กึ กือ
เป็นมาตรฐานการอ่านผสมสระ แต่สันสกฤตใช้ตัว
ป.ปลา เป็นมาตรฐาน -- ปะ ปา ปิ ปี ปุ ปู เป ไป โป เปา เป็นต้น
#10. คำว่า स्थूल ในภาษาสันสกฤตจึงออกเสียงว่า สะ-ถูล เสียงสระ “อู”
โดยที่ “ถูล” แปลว่า หยาบคาย โหลยโถ้ย ระยำ สาระเลว ส้นตีนแหนะครับ โคดงี่เง่า
ไอ้สัตว์นรก ดังกล่าวแล้ว
ส่วนคำว่า
“สะ” ก็มีความหมาย – หมายถึง การเป็นที่รวม ดังนั้น คำว่า स्थूल ของ ประสิทธิ ไชศีรษะ จึงเป็นคำสองมอร์ฟีม
เพราะแต่ละเสียงต่างมีความหมายของมันเอง แต่ครั้น เมื่อรวมกันก็หมายความว่า เป็นที่รวมของเหี้ย
ๆ ทั้งหลาย
#11. ท่านผู้อ่านที่เคารพคงจะเดาไม่ผิด ว่าเหตุใดผู้เขียนและชาวจังหวัดสุรินทร์จำนวนมาก พากันเคารพนับถือ ประสิทธิ ไชศีรษะ เป็นอภิมหาจารย์ ก็แกเล่นใช้ศัพท์สูง ๆ สูงลิบลิ่ว จากภาษาสันสกฤตอันศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้จารคัมภีร์พระเวท เป็นภาษาที่คนยอมรับยกย่องทั่วทั้งชมพูทวีป ซึ่งกว้างใหญ่กว่าจังหวัดสุรินทร์เยอะมากเลย
แต่ว่า -- คำสรรเสริญใดต่อสันสกฤต หรือจะวิจิตรไปกว่าจาก เซอร์โมเนียร์ โมเนียร์-วิลเลียมส์ ผู้รู้สันสกฤตเมื่อครั้ง บริติช ราช ยังปกครองอินเดีย
#12. ผู้เขียนรู้สึกน้อยใจผู้แทนราษฎร ประสิทธิ ไชศีรษะ นึกต่อว่า--ว่าช่างไม่สงสารประชาชนคนบ้านนอกบ้านนา
รากหญ้าตาดำ ๆ ทั้งหลาย เช่น ตัวผมเอง เป็นต้น
ทำไมจ่าจึงใจดำจัง เพราะการใช้ภาษาสูง ๆ สูงลิบลิ่ว ทำให้ผมต้องปีนบันไดขึ้นไปปัดฝุ่นบนชั้นใต้หลังคา
เปิด พจนานุกรมสันสกฤตฉบับ โมเนีย โมเนีย-วิลเลียมส์ ซึ่งเกือบลืมไปแล้วว่ามีอยู่ในโลก เหนื่อยแทบตาย
#13.
ไม่รู้ว่า ประสิทธิ ไชศีรษะ เห็นด้วยกับผู้เขียนหรือเปล่า? นี่ไม่ได้เขียนคอมเม้นกล่อมหรือด่าจ่านะ
ถ้ามึงเห็นต่าง-มึงประท้วงได้ ประท้วงได้เลย กูยิ่ง รักประชาธิปไตยฯ อยู่ด้วย
บ้านนาพญา
อำเภอหลังสวน
จังหวัดชุมพร
หมายเหตุ - บทความนี้ มี ไฮเปอร์ลิงก์ สองสามจุด ดับเบิ้ลคลิกบนนั้น จะส่งท่านไปยังเว็บไซด์อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น