open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

VillageLife รักประชาธิปไตย ปานจะแหกตูดดม ตอน 4/4 ศาสตราจารย์ ไมเคิล แซนเดล วิวาทกับ ท่านจ่าประสิทธิ์ ไชยศีรษะ


ศาสตราจารย์ ไมเคิล แซนเดล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ท่านสอนวิชาปรัชญาการเมืองเรื่องความยุติธรรม ท่านเป็นครูปรัชญาการเมืองที่มีผู้คลิกชมมากที่สุดในโลก มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ทั้งที่กรุงปักกิ่ง โตเกียว ฮานอย ในยุโรป และ ฯลฯ ท่านแสดงภาคทฤษฎีประชาธิปไตย

ท่าน จ่าสิบตำรวจตรี ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ  ท่านเป็นผู้แทนราษฎร จากจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย ผู้เล่นการเมืองตามระบอบ “ประชาธิปไตย”  ท่านอภิปรายในรัฐสภา และมีชื่อเสียงสุด ๆ คลิกชมท่านกันมากมาย ทั่วประเทศไทยและทั่วโลก ท่านจ่าประสิทธิ์ ไชยศีรษะแสดงภาคปฏิบัติประชาธิปไตย

บลอคนี้ จะนำเสนอวีดีโอ.....
การอภิปรายตามระบอบประชาธิปไตย - ภาคทฤษฎี  ศาสตราจารย์ ไมเคิล แซนเดล อาจารย์ผู้สอนวิชาปรัชญาและปรัชญาการเมือง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา (พร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย ทั้งหมด)

และ จะเสนอวีดีโอ.....
การอภิปรายตามระบอบประชาธิปไตย - ภาคปฏิบัติ  ท่านจ่าสิบตำรวจตรี ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ผู้แทนราษฎรระบอบประชาธิปไตย จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย (ขอโทษ-ไม่มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ นะจ้ะ)

--------------------------------------------------------------------------------------

ประชาธิปไตย - ภาคทฤษฎี  ศาสตราจารย์ ไมเคิล แซนเดล อาจารย์ผู้สอนวิชาปรัชญาและปรัชญาการเมือง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา


วีดีโอ แซนเดล
พร้อมคำแปล - ผู้เขียนบลอคนี้ แปลเอง ผิดพลาดขออภัย ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ครับ



“สิ่งหนึ่งที่โลกกำลังต้องการ และที่ประเทศนี้(สหรัฐฯ)ต้องการอย่างยิ่ง ได้แก่ วิธีอภิปรายทางการเมือง ที่ดีกว่านี้”

 “เราจำเป็นจะต้องค้นพบสิ่งที่สูญหายไป คือ ศิลปะการอภิปรายแสดงเหตุผลอย่างเป็นประชาธิปไตย ” (เสียงผู้ฟังปรบมือ)


“ถ้าเราได้ลองทบทวนการอภิปรายของเรา โดยส่วนมากจะพบการร้องตะโกนใส่กันในเคเบิ้ลทีวี การปะทะเชิงอุดมการณ์ในสภาคองเกรส.....ซึ่งผมมีข้อแนะนำเรื่องนี้ครับ”

“ลองฟังการอภิปรายที่เรากำลังพูดกันอยู่ในเวลานี้ เช่น เรื่องการประกันสุขภาพ เรื่องเงินโบนัส เรื่องการใช้เงินของรัฐเข้ากอบกู้ธุรกิจเอกชนที่ล่มจม เรื่องความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจน เรื่องการให้โอกาสการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส เรื่องการแต่งงานเพศเดียวกัน เราจะพบประเด็นใหญ่ ซ่อนอยู่ใต้ผิวการอภิปรายอันร้อนแรงด้วยอารมณ์ คือ เรื่องปรัชญาศีลธรรมการเมือง(moral philosophy) ปมใหญ่คือ ความยุติธรรม 

“แต่ว่า น้อยนักที่เราจะถกเถียงหาความกระจ่าง ปกป้อง และแสดงเหตุผล เกี่ยวกับประเด็นใหญ่ของปมปรัชญาศีลธรรมทางการเมืองของเรา”

 “สิ่งที่ผมต้องการจะทำในวันนี้ ถือเป็นการปรึกษาหารือกัน ขอเริ่มด้วยความเห็นของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียง ผู้เขียนเรื่องความยุติธรรม และเรื่องศีลธรรม ผมจะบรรยายสั้น ๆ ให้ท่านฟัง เกี่ยวกับ อริสโตเติล  คนโบราณชาวเอเธนส์  ผมจะบรรยายเรื่อง ทฤษฎีความยุติธรรมของอริสโตเติล  แล้วต่อจากนั้น ก็จะได้พิจารณากันในที่นี้ ว่าความคิดของอริสโตเติล ช่วยให้ความกระจ่างถึงวิธีที่เราใช้เพื่ออภิปรายแสดงเหตุผล หรือไม่ อย่างไร”

“ท่านพร้อมที่จะฟังการบรรยายกันแล้ว ใช่ไหมครับ?”

“ตามความเห็นของ อริสโตเติล  ความยุติธรรม ได้แก่ การให้สิ่งที่เขาสมควรจะได้รับ แก่ทุกผู้ทุกนาม

“.....มีเท่านั้นแหละครับ คำบรรยาย” (ผู้ฟังหัวเราะ)

“คุณอาจเห็นว่า นั่นมันกำปั้นทุบดิน  แต่ลำดับต่อไปนี้จะแสดงปมประเด็น รากฐานแท้จริง เวลาถกเถียง แสดงเหตุผล กันว่าใครสมควรจะได้รับอะไร? และเพราะอะไร?

“เช่นตัวอย่างเรื่องขลุ่ย  สมมติว่าเรากำลังแจกขลุ่ย ใครสมควรจะได้รับขลุ่ยลำที่ดีที่สุด?

(ผู้ฟังตอบว่า แจกด้วยการจับสลาก ด้วยการออกเบอร์ บางคนตอบว่า ให้กับคนที่เป่าขลุ่ยได้ดีที่สุด บางคนบอกว่า ให้กับคนเป่าขลุ่ยแย่ที่สุด)

ศาสตราจารย์ ไมเคิล แซนเดล กล่าวว่า “อริสโตเติล บอกว่าให้แจกขลุ่ยลำที่ดีที่สุด แก่คนที่เป่าขลุ่ยมีฝีมือที่สุด แต่ อริสโตเติล มีเหตุผลเรื่องนี้ว่าอย่างไร? ทำไมต้องให้ขลุ่ยที่ดีที่สุด แก่คนเป่าขลุ่ยฝีมือดีที่สุด?

“แต่ก่อนอื่น ขอถามพวกท่านก่อน พวกที่เห็นว่า ขลุ่ยที่ดีที่สุด ควรตกแก่คนเป่าขลุ่ยฝีมือดีที่สุด ท่านมีเหตุผลว่าอย่างไรครับ?

“(มีคำตอบ ที่ได้รับเสียงปรบมือ) เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่คนทั้งหลาย”

“นั่นนะซี คนทั้งหลายจะได้ฟังเสียงดนตรีที่ดีที่สุด เมื่อขลุ่ยที่ดีที่สุดถูกมอบให้แก่นักดนตรีขลุ่ยที่มีฝีมือที่สุด”

“เป็นเหตุผลที่ดีครับ เมื่อขลุ่ยที่ดีที่สุดถูกมอบให้นักดนตรีที่ดีที่สุด เราทั้งหลายก็จะได้ฟังเสียงดนตรีที่ดีที่สุด”

“เป็นเหตุผลที่ดี แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลของ อริสโตเติล”

“อริสโตเติล ให้เหตุผลที่แตกต่างออกไป เขาบอกว่าการที่ขลุ่ยที่ดีที่สุด ควรตกแก่คนเป่าขลุ่ยฝีมือดีที่สุด ก็เพราะว่า that was fluites are for  เพราะว่า ขลุ่ยมีไว้เพื่อการนั้น

“คือ ขลุ่ยมีไว้เพื่อการเป่าขลุ่ยที่ดีมีฝีมือ” (to be played well)

“อริสโตเติล กล่าวต่อไปว่า การคิดคำนึงถึงความยุติธรรมในการแจกจ่ายกระจายสิ่งต่าง ๆ  เราต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์แท้  ของสิ่งนั้น ซึ่งในกรณีของเรานี้ สิ่งนั้น ได้แก่ การเล่นดนตรี(musical performance) หัวใจของการเล่นดนตรีก็คือการเล่นที่ดี ส่วนความเพลิดเพลินเจริญใจอันเกิดแก่ทุกคน เป็นผลพลอยได้

“แต่เวลาเราคิดถึงความยุติธรรม อริสโตเติล กล่าวว่า เราต้องคิดถึงวัตถุประสงค์แท้ของกิจกรรมนั้น รวมทั้งคุณสมบัติเกี่ยวข้องที่มีค่าควรแก่การยกย่องให้เกียรติ น่าภูมิใจ และเป็นที่ยอมรับ”

“เหตุผลหนึ่ง ที่ขลุ่ยที่ดีที่สุดพึงตกแก่คนเป่าขลุ่ยฝีมือดีที่สุด เพื่อการเล่นดนตรีที่ดี ไม่ใช่เพียงเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจของทุกคน แต่เป็นไปเพื่อยกย่องให้เกียรติ ภาคภูมิใจ และเพื่อยอมรับ ความเลอเลิศของการเล่นดนตรีของนักดนตรีที่ดีที่สุด”

“ตัวอย่างเรื่องขลุ่ย อาจฟังดูเป็นกรณีที่เบ็ดเตล็ด เล็กน้อย ไม่สำคัญ  เพราะฉะนั้นเรามาพิจารณาข้อพิพาทเรื่องความยุติธรรม ใช้กรณีตัวอย่างปัจจุบัน เกี่ยวกับกีฬากอล์ฟ จะดีกว่า”

“ไม่กี่ปีมานี้ เคซี มาร์ติน นักกอล์ฟผู้เก่งกาจ แต่ว่าเขาพิการ ขาของเขามีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือด ทำให้การเดินในสนามกอล์ฟสร้างความเจ็บปวดแสนสาหัส และอาจเป็นอันตรายได้  เขาก็เลยร้องขอต่อสมาคมนักเล่นกอล์ฟอาชีพ(พีจีเอ) ขออนุญาตใช้รถกอล์ฟในสนาม เวลาเขาลงแข่งขันเกมที่สมาคมพีจีเอจัดขึ้น  พีจีเอตอบปฏิเสธ ให้เหตุผลว่า จะเป็นการเอาเปรียบคู่แข่งขัน ”

“เขาจึงฟ้องสมาคมนักเล่นกอล์ฟอาชีพ(พีจีเอ)ต่อศาล เชื่อหรือไม่ว่า คดีรถกอล์ฟนี้ขึ้นไปถึงศาลฎีกาสหรัฐฯ(ศาลสูง) เพราะว่ากฎหมายบัญญัติไว้ว่า คนพิการจะต้องได้รับการดูแล แต่การดูแลดังกล่าวนั้น จะต้องไม่ไปเปลี่ยนรากฐานอันเป็นธรรมชาติแท้จริง ของกิจกรรมนั้น ๆ”

“เขาบอกว่า ผมเป็นนักกอล์ฟที่เก่ง มีความสามารถ ผมปรารถนาจะลงแข่งขัน  แต่ว่าผมจำเป็นจะต้องใช้รถกอล์ฟ เพื่อเดินทางจากหลุมหนึ่งไปยังอีกหลุมหนึ่ง ในสนาม”

“สมมติว่า คุณเป็นผู้พิพากษาศาลสูงผู้หนึ่ง คุณจะตัดสินคดีนี้อย่างไร? มีใครบ้างที่เห็นว่า เคซี มาร์ติน ควรใช้รถกอล์ฟในสนามได้  และมีใครเห็นว่า ไม่ได้”

อาจารย์แซนเดล ขอให้ผู้ฟังยกมือ ทีละกรณี ปรากฏว่าประมาณด้วยสายตา ความเห็นแบ่งออกประมาณ ๆ กัน

“ผู้ที่เห็นว่า อย่าให้รถกอล์ฟ แก่ เคซี มาร์ติน  มีเหตุผลว่าอย่างไรครับ?

“เพราะเป็นการได้เปรียบผู้อื่นอย่างไม่ยุติธรรม ถ้าเขานั่งรถกอล์ฟในเกม”

“แล้วพวกที่อนุญาตให้เขาใช้รถกอล์ฟได้ มีเหตุผลอย่างไร?

“ชาร์ลี ตอบว่า การเดินไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเกมกีฬากอล์ฟ”

อีกคนหนึ่ง นายวอเร็น กลับเห็นว่า “การเดินในสนาม จากหลุมหนึ่งไปยังอีกหลุมหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกีฬากอล์ฟ”

“ในศาลชั้นต้น เขาเชิญนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียง เข้ามาแสดงความเห็นในศาล ว่าการเดินในสนามเป็นส่วนสำคัญของเกมกอล์ฟหรือไม่ เช่น แจค นิคคลอส อาร์โนล พาล์เมอร์ เป็นต้น  นักกอล์ฟมีชื่อเสียงเหล่านั้น ยืนยันว่า การเดินในสนามเป็นส่วนหนึ่งของกีฬากอล์ฟ ความเหนื่อยล้าเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาชนิดนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าให้ เคซี มาร์ติน ใช้รถกอล์ฟได้ ก็เท่ากับเรากำลังเปลี่ยนลักษณะสำคัญของกีฬาชนิดนี้”

“ก่อนจะอภิปรายกันต่อไป ผมขอเรียนท่านผู้ฟังก่อนว่า ศาลสูง ตัดสินคดีว่าอย่างไร ศาลฎีกาสหรัฐฯตัดสิน ให้ เคซี มาร์ติน ใช้รถกอล์ฟได้!  ด้วยคะแนนเสียงเจ็ดต่อสอง”

“ที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาล ก็คือ การตีประเด็นให้แตกว่า สิทธิ ความยุติธรรมของคดีนี้ขึ้นอยู่กับว่า ลักษณะพื้นฐานอันเป็นธรรมชาติแท้จริงของการเล่นกอล์ฟ คืออะไร?

“.....และคณะผู้พิพากษาศาลสูง ก็ได้วินิจฉัยออกมาว่า ธรรมชาติแท้จริงของการเล่นกอล์ฟเป็นอย่างไร แล้วก็ตัดสินไปตามครรลองนั้น”

“ท่านผู้พิพากษา สตีเวน ได้เขียนคำพิพากษาในนามผู้พิพากษาเสียงข้างมาก ว่าท่านได้ศึกษาประวัติของการเล่นกอล์ฟจนกระจ่างแจ้ง พบว่า ลักษณะพื้นฐานอันเป็นธรรมชาติแท้จริงของการเล่นกอล์ฟ คือการตีลูกบอลลูกเล็ก ๆ จากจุดหนึ่ง ให้ไปลงหลุม.....ด้วยการตีน้อยครั้งที่สุด การเดินในสนาม จึงไม่ใช่พื้นฐานอันเป็นธรรมชาติแท้จริงของการเล่น เป็นเพียงองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมา”

“แต่ว่า ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยมีสองท่าน ท่านหนึ่งได้แก่ผู้พิพากษา สกาเลีย ท่านผู้นี้ตัดสินไม่อนุญาตให้ใช้รถกอล์ฟ โดยท่านมีความเห็นที่น่าสนใจ เพราะท่านปฏิเสธคำสอนของอริสโตเติลที่รองรับคำพิพากษาเสียงข้างมากอยู่ โดยท่านแย้งว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดลักษณะพื้นฐานอันเป็นธรรมชาติแท้จริง ของเกมการละเล่น เช่น การเล่นกอล์ฟ คำของท่านเป็นดังนี้.....”

“ศาสตราจารย์แซนเดล อ่านข้อความจากบันทึกในมือ โดยระบุว่านั่นคือคำของผู้พิพากษาสกาเลีย ใจความว่า....การที่จะกล่าวว่าอะไรคือลักษณะจำเป็นพื้นฐาน ธรรมดาอยู่เองที่เราจะต้องพิจารณาว่า สิ่งนั้นจำเป็นแก่การบรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง  แต่เนื่องจากการละเล่นทั้งหลายนั้น ไม่มีวัตถุประสงค์อื่นนอกจากความบันเทิงใจ (ผู้ฟังหัวเราะ) ข้อนี้ทำให้เกมการละเล่นแตกต่างไปจากกิจกรรมการผลิต (ผู้ฟังหัวเราะ)  จึงเป็นไปได้ยากที่จะสรุปว่า กฎกติกาใด ๆ ในเกมที่ล้วนกำหนดขึ้นโดยพลการ เป็นเรื่องจำเป็นพื้นฐาน”

“นั่นไง ผู้พิพากษา สกาเลีย กำลังแย้งข้ออ้าง(premises)ของคำพิพากษาเสียงข้างมาก ซึ่งอิงอยู่กับถ้อยแถลงของอริสโตเติล  อย่างไรก็ดีความเห็นของผู้พิพากษาสกาเลียเป็นปัญหา มีข้อกังขา ด้วยเหตุผลสองประการ

หนึ่ง. จะไม่มีแฟนกีฬาพันธ์แท้คนไหนพูดอย่างนั้น(ผู้ฟังหัวเราะ) ถ้าเราเห็นว่ากฎกติกาของกีฬาที่เราชอบ ตั้งกันขึ้นมาโดยพลการ แทนที่จะออกกฎเกณฑ์มาเพื่อเน้นขีดความสามารถ เน้นให้เห็นคุณสมบัติ ที่เราเห็นว่าสมควรยกย่องสรรเสริญ เราก็จะไม่สนใจการละเล่นเกมและผลการเล่นเกมนั้นอีกต่อไป 

สอง. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นธรรม(fairness) ประเด็นนี้มีทางออกที่เป็นหญ้าปากคอก ก็อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนใช้รถกอล์ฟได้ – ถ้าเขาต้องการ ก็แล้วกัน  เพราะฉะนั้นประเด็นเรื่องเป็นธรรม-ไม่เป็นธรรม ก็จะตกไป  แต่ผมสงสัยว่า การอนุญาตเช่นนั้นจะไม่น่าทำอย่างยิ่ง(more anathema) เพราะจะก่อความยุ่งยากในการประเมินคุณค่ากีฬากอล์ฟ และจะไม่น่าทำตามความเห็นของสมาคมนักกอล์ฟอาชีพ  

ทั้งนี้เพราะอะไรหรือ ก็เพราะว่าเกณฑ์การประเมินไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ ลักษณะพื้นฐานอันเป็นธรรมชาติแท้จริงของการเล่นกอล์ฟ  แต่ยังครอบคลุมถึง คุณสมบัติเกี่ยวข้องที่มีค่าควรแก่การยกย่องให้เกียรติ น่าภูมิใจ และเป็นที่ยอมรับ ในฐานะที่เป็นเกมกีฬาชนิดหนึ่ง

ศ.แซนเดล พูดใหม่ให้เข้าใจง่าย ว่า นักกอล์ฟทั้งหลายค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อฐานะแห่งการเป็นกีฬาของการเล่นกอล์ฟ (ผู้ฟังหัวเราะ) เพราะว่าไม่มีการวิ่ง หรือกระโดดโลดเต้น แถมลูกบอลก็ตั้งอยู่เฉย ๆ (ผู้ฟังหัวเราะ)

ดังนั้น ถ้าการเล่นกอล์ฟเป็นเกมการแข่งขันชนิดที่ นักกอล์ฟทั้งหลายสามารถขับรถกอล์ฟกันได้ในสนาม การให้คุณค่า ประเมินความสามารถ ของนักกีฬาชนิดนี้จะยากมาก  ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า ทั้งการเล่นกอล์ฟและการเป่าขลุ่ย การพิจารณาเรื่องความเป็นธรรมเป็นปัญหายาก ถ้าไม่นำ ลักษณะพื้นฐานอันเป็นธรรมชาติแท้จริงของการเล่นกอล์ฟ  กับ คุณสมบัติเกี่ยวข้องกับการเล่นกอล์ฟที่มีค่าควรแก่การยกย่องให้เกียรติ น่าภูมิใจ และเป็นที่ยอมรับ  เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย

ศาสตราจารย์ แซนเดล เสนอให้พิจารณาประเด็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ถกเถียงกันอยู่ในสหรัฐอเมริกาเวลานั้น คือ การแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน “ทั้งนี้เพราะคนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าการแต่งงานที่รัฐรับรอง มีไว้สำหรับชายกับหญิงเท่านั้น  แต่อีกพวกหนึ่งเห็นว่า รัฐควรรับรองการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันด้วย”

“ผู้ใดบ้างในที่นี่ ที่เห็นว่า รัฐควรรับรองการแต่งงานระหว่างคนต่างเพศเท่านั้น? และใครเห็นว่า รัฐควรรับรองการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันด้วย?” ผลการยกมือปรากฏว่าคนส่วนมากในที่ประชุม เห็นว่ารัฐควรรับรองการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันด้วย

“เอาล่ะ แล้วความยุติธรรมและข้อศีลธรรม รองรับการอภิปรายให้เหตุผล เรื่องการแต่งงาน คืออะไร?

“ฝ่ายที่คัดค้านการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน บอกว่า วัตถุประสงค์พื้นฐานของการแต่งงาน ได้แก่การมีบุตรและเลี้ยงดูบุตร  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สมควรแก่การยกย่องให้เกียรติและส่งเสริมสนับสนุน  ส่วนฝ่ายที่เห็นด้วยกับการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันเห็นว่า ไม่ใช่หรอก การมีบุตรไม่ใช่วัตถุประสงค์เดียวของการแต่งงาน  ความรักความผูกพันมั่นคงต่อกันตลอดชีวิต นั่นต่างหากที่เป็นพื้นฐานของการแต่งงาน”

“เห็นหรือไม่ว่า ทั้งเรื่องขลุ่ย เรื่องรถกอล์ฟ ตลอดจนเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือด เช่น เรื่องการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน  อริสโตเติลมีปมประเด็นที่มีคุณค่าน่าสนใจ โดยอริสโตเติลบอกว่าเป็นการยากมากที่จะพูดถึงความยุติธรรม โดยที่ในเบื้องแรกไม่ได้ถกกันเรื่องวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทางสังคมรูปแบบนั้น และเรื่องคุณสมบัติเกี่ยวข้องที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ”

“เราถอยออกมาจากกรณีตัวอย่างเหล่านั้นสักก้าวหนึ่ง แล้วลองทบทวนดูว่า การศึกษากรณีตัวอย่างเหล่านั้น จะช่วยปรับปรุง ยกระดับ เงื่อนไขและเนื้อหาของการอภิปรายทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาและในโลก ได้อย่างไรบ้าง?

“เรามีแนวโน้ม ที่จะเข้าใจกันว่า ถ้าเรานำประเด็นข้อศิลธรรม เข้ามาอภิปรายตรงเกินไปในการเมือง จะเป็นเหตุชวนให้เกิดการวิวาท เกิดความแตกแยก และขาดความอดทนต่อความแตกต่าง เพราะฉะนั้นข้อศีลธรรมและศาสนา ไม่ควรนำเข้ามาอภิปรายกันในทางการเมือง”

“แต่ผมเห็นตรงข้าม วิธีที่ดีกว่า เพื่อให้เกิดความเคารพซึ่งกันและกัน ก็คือ ให้นำข้อศิลธรรมและศรัทธา ที่ประชาชนเชื่อถืออยู่มาอภิปรายในทางสาธารณะ  แทนที่จะห้ามนำมาพูด โดยขอให้วางเรื่องเหล่านั้นไว้นอกการเมือง”

“ผมเห็นว่า นี่เป็นวิธีที่เราจะได้เริ่มฟื้นฟูศิลปะของการอภิปรายตามระบอบประชาธิไตย - ขอบคุณครับ”


 --------------------------------- จบ ภาคทฤษฎี ----------------------------------------



เชิญฟังเพลงขลุ่ย คั่นรายการ




การอภิปรายตามระบอบประชาธิปไตย - ภาคปฏิบัติ   ท่านจ่าสิบตำรวจตรี ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ผู้แทนราษฎรระบอบประชาธิปไตย จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย (ขอโทษ-ไม่มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ นะจ้ะ ความสามารถไม่ถึงที่จะแปล)

ตัวอย่างการอภิปรายตามระบอบประชาธิปไตย

ตัวอย่างที่ หนึ่ง. ที่เวลาวีดีโอ 02:12 สำนวน “ไอ้แก่ตัณหากลับ”




comment: วาจาเหมือนหมาสะบัดขี้   
(คอมเม้นสำนวนที่พูด ตามหลักวิชาภาษาศาสตร์ เรื่อง morphology - ไม่ใช่คอมเม้นตัวบุคคล)

วาจาเหมือนหมาสะบัดขี้  คือคอมเม้นตอบสำนวน “ไอ้แก่ตัณหากลับ” ตามหลักภาษาศาสตร์โดยทำ syntactic กับ semantic analysis มาแล้ว  ไม่ได้พูดถึงตัวบุคคลนะ  สำนวน “ไอ้แก่ตัณหากลับ” เป็นคำสาธารณะอยู่ในคลังคำไทย ไม่มีไครเป็นเจ้าของ  ผู้เขียนเชื่อว่า ท่านจ่าประสิทฺธิ ไชยศีรษะ – ไอ้แก่ตัณหากลับ สำนวนนี้ท่านคงไม่ได้จดลิขสิทธิ์ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช่มั๊ยครับ?  ผมก็ไม่ได้จดลิขสิทธิ์สำนวน - วาจาเหมือนหมาสะบัดขี้  ท่านจ่าประสิทธิ ไชยศีรษะ สามารถนำไปประพฤติได้โดยเสรี ตามระบอบประชาธิปไตย                                                                                     


ตัวอย่างที่ สอง. เวลา 00:20 สำนวน “อย่างคุณรังสิมานี่ อย่าว่าแต่ถอนเลย โกนก็ไม่หมด”




comment: จะหมดจริง ต้องให้ จ่าประสิทธิ เลียครับเลีย


โลกโซเชียลฝรั่งเศส เด็กฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ นายอังโตแน็ง(ANTONIN) สันดานค่อนข้างอัปรีย์ คล้ายผู้เขียนบลอคนี้ แต่ไม่คล้ายท่านจ่าประสิทธิ ไชยศีรษะ มันใช้คำทักทายมิตรใหม่ ๆ ว่า

“Tu suces?”

“ตู ซู้ส?      -คำอ่านออกเสียง
“ดูดเปล่า?   -คำแปลภาษาไทย
         

คืนก่อน ผู้เขียนฝันเห็นจ่าที่อำเภอที่บ้าน ชื่อสำเนียงใต้ว่า จ่าประเสริฐ  นามสกุล ไชหัวdoor 


ในฝัน – ผู้เขียนได้บอก ท่านจ่าประเสริฐ ไชหัวdoor  ให้แกหัดคิดนอกกรอบ ไม่ติดกับดักคำว่า ถอน กับ โกน อย่างท่านจ่าประสิทธิ ไชยศีรษะ ท่านจ่าประเสริฐ ไชหัวdoor  ต้องรู้จักออกนอกกล่อง(outside the box) แล้วหันไป เลีย  เลียครับเลีย

เลียพี่จิ๋มเค้าซะ ย้ำ--ไม่ได้เขียนว่า “เลียจิ๋มพี่เค้าซะ” นะครับ แต่เขียนว่า “เลียพี่จิ๋มเค้าซะ” เลียหน้าเลียตา เลียมือเลียแขน ตามอัธยาศัย  แต่ว่าระบอบประชาธิปไตยมักจะมีหีลงคะแนน ในภาคปฏิบัติจริง ๆ - ท่านจ่าประเสริฐ ไชหัวdoor  แกเปิดหีเลียครับ ไม่ได้เลียหีหุบ ๆ ซะหน่อย ชะเอิงเงยยยย....

หัวล้านเหน่งกบาลลายของแก ก้ม ๆ เงย ๆ อยู่นั่นแล้ว – ว๊าย บัดสีบัดเถลิง คือ คำที่แกหันมาอุทานกับประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลก ที่กำลังชมการถ่ายทอดสด ก่อนที่แกจะก้ม ๆ เงย ๆ ต่อไป

เอาล่ะ จำนวนคำต่อยอดเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว เดิมมี ถอน กับ โกน  แต่เวลานี้มี เลีย กับ ดูด เพิ่มเข้ามา  ทั้งสี่คำนั้นไม่ใช่คำกิริยาธรรมดา แต่เป็นคำกิริยาชนิด performative verb ตามหลักวิชาภาษาศาสตร์(linguistics) ซึ่งศึกษาภาษามนุษย์อย่างเป็นทางวิทยาศาสตร์

อย่างไรก็ตาม เมื่อเห็นจริตจะก้าน จีบปากจีบคอตอแหล ย้อนฝ่ายตรงข้ามของ ท่านจ่าประเสริฐ ไชหัวdoor ในฝันแล้ว เห็นแววแต๋วแฝงเร้น ที่อ่านได้โดยอาศัย วิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ แขนง psycho-linguistics - ภาษาศาสตร์จิตวิทยา กับวิชาภาษากาย ที่วางแนวให้เรารู้จักอ่านจิตใจผู้พูด ผ่านการใช้ภาษาพูดประกอบกับสังเกตภาษากายของเขา

จึงขอถาม “เจ๊จ่าแตกแต๋ว”  - จ่าประเสริฐ ไชหัวdoor  ถามตามเด็กฝรั่งเศสคนนั้น ว่า

“Tu suces?”   

“ตู ซู้ส? -คำอ่านออกเสียง
<คำแปลภาษาไทย> “มึงดูดเปล่า? 




ตัวอย่างที่ สาม คุณงามความดีของ ท่านจ่าประสิทธิ ไชยศีรษะ


สำหรับผู้อ่านบางท่าน ที่อาจมอง ท่านจ่าประสิทธิ ไชยศีรษะ ในทางลบ  ผู้เขียนบลอคนี้ขอเรียนว่า เขาใช่คนถ่อย เถื่อน สถุล ที่ไหนกัน  เอ้ะ--แต่ว่าจะพิสูจน์ให้ท่านผู้อ่านขี้สงสัย ได้กระจ่างแจ่มแก่ใจ ได้งัย? ชะเอิงเงยยย...ทำได้ด้วยวีดีโอต่อไปนี้ครับ อาเจียรออกมาทาง ช่องปาก ท่านเองแท้ ๆ (หมายความว่า ไม่ได้พูดออกจากรูตูด)




เวลาวีดีโอ 00:45  ท่านประกาศยืนยันคุณงามความดีของตัวท่านเองให้โลกรู้ ว่า “ผมไม่เคยถ่อย เถื่อน สถุล เหมือนสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคน”  

ท่านพูดกดศีรษะ(ไม่ใช่ ไชศีรษะ)พวกเดียวกันหลายคน(บางคน=หลายคน)จนต่ำลง ตัวท่านโดดเด่น เห็นเป็นสง่า ประโยคนี้คลาสสิคและรุ่มรวยเชิงภาษาศาสตร์ สามารถใช้เป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ ได้ทั้งในแง่ morphology, syntax, semantics, และ pragmatics

ตัวอย่างเช่น ในแง่ morphology คำมอร์ฟีมเดี่ยว(single morpheme)อย่าง ถ่อย เถื่อน กับคำทวิมอร์ฟีม คือ สถุล  ล้วนเป็นคำไทยดั้งเดิมอยู่ในคลังคำ - lexicon ของท่านจ่าประสิทธิ ไชยศีรษะ และของคนใช้ภาษาไทยแต่เกิดทั้งหลาย เช่น ผู้เขียนบลอคนี้ เป็นต้น  เสมือนมีอยู่ใน dictionary  กล่าวคือ lexicon และ dictionary หมายถึงสิ่งเดียวกัน(=พจนานุกรม) เพียงแต่ lexicon เป็นภาษากรีก ส่วน dictionary เป็นภาษาละติน

และ dictionary เป็นสิ่งตีพิมพ์หรือในรูปดิจิทัล แต่ในวิชาภาษาศาสตร์ lexicon ได้แก่พจนานุกรมที่อยู่ในสมองคน จับต้องไม่ได้ ถ้าจะดูคงต้องไชศีรษะเข้าดู

ในแง่ภาษาศาสตร์ประยุกต์ - social linguistics ประโยคนี้ย้ำยันว่า ท่านจ่าประสิทธิ ไชยศีรษะ เป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพแสดงความคิดเห็น ท่านมี “free will” แต่ครั้นนำหลักภาษาศาสตร์เรื่อง Pragmatics เข้าจับระหว่างอภิปรายในรัฐสภา น่าสงสัยว่าท่านกำลังปฏิบัติหน้าที่ สส. – ตำแหน่งราชการที่มีเงินเดือนกินตามกฎหมาย หรือว่ากำลังเล่น “จำอวดหน้าม่าน” ?


comment: โน คอมเม้น (ไอ้ส้นตีน ที่อยู่หลังม่าน ชื่ออะไร?)


สรุปและเสนอแนะ
ต้องใช้วิชาอาคมใด มาทำความเข้าใจ รัฐสภาไทยในระบอบประชาธิปไตย?

การสื่อสารในหมู่มนุษย์ - human communication ท่านศึกษากันด้วยวิชาภาษาศาสตร์(Linguistics) ซึ่งแม้จะช่วยเราได้มาก แต่ก็ยังไม่พอที่จะทำความเข้าใจการอภิปรายในรัฐสภาประเทศไทย ตามระบอบประชาธิปไตย

จะต้องอาศัยวิชาการอีกแขนงหนึ่งเข้าเสริม คือ วิชา Zoosemiotics เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วย animal communication หรือ การสื่อสารในหมู่สัตว์

ผลวิจัยพบว่า สัตว์บางชนิดสามารถพูดภาษามนุษย์ เป็นวลีโดด ๆ หรือเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ เช่น เดรัจฉาน บางตัว ถ้าถูกสอนให้มันร้องว่า “ประท้วง! ขัดข้อบังคับ 61”  อย่างนี้ - ฝึกกันได้  แต่ถ้าจะให้มันพูดเปิดประเด็น เป็นเรื่องเป็นราว ด้วยรูปประโยคเต็มประโยคต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยข้ออ้างและข้อสรุปตามหลักเหตุผล ที่มีมาแต่ยุคกรีกโบราณ-ครั้งปฐมกาลประชาธิปไตย เมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว  สัตว์เดรัจฉาน ทุกตัว มันจะใบ้แดก มีแตดเหมือนมีตูดพูดไม่ออก นั่งถอกกะ door อยู่ร่ำไป เพราะนั่นคือสิ่งที่เดรัจฉานทำเป็น ซึ่งมนุษย์ก็ทำเป็น – แต่มนุษย์ทำอย่างอื่นเป็นอีกร้อยแปดพันประการ

ตัวอย่าง – จากยุคปฐมกาลประชาธิปไตย

ข้ออ้างหลัก(major premise): คนทั้งหมดเป็นสิ่งต้องตาย
ข้ออ้างรอง(minor premise): โสคราติส เป็นคน
ข้อสรุป(conclusion): เพราะฉะนั้น โสคราติส เป็นสิ่งต้องตาย

*ตัวอย่างนี้ อยู่ในหนังสือ ตรรกวิทยาเบื้องต้น อจ.ลักษณวัต ปาละรัตน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดังนั้น ในกรณีของเรานี้ ถ้าถามสัตว์เดรัจฉานว่า ผิดข้อบังคับ 61  (ลิงก์ http://oknation.nationtv.tv/blog/57150/2012/02/03/entry-1)  อย่างไร ไหนอธิบายมาสักสองสามประโยค เด้ะ?  เดรัจฉานมันจะงงบรรลัย ชี้แจงแสดงเหตุผลไม่เป็น มันทำได้เพียงแค่ยกมือประท้วง แล้วเห่าหอน เสแสร้ง ดัดจริต สลิดดก จ็อบหล็อย ท่องจำคำตอแหลสั้น ๆ ห้วน ๆ แหลงเหี้ย ๆ กาลีบ้านกาลีเมือง ถ่ายทอดโทรทัศน์ทั่วประเทศ ยก วลีเหตุผลวิบัติจัญไร เวรตะไลบัดซบ  ขึ้นมาผายลมใส่ไมโครโฟน - ไมค์เหม็นโคด  

กรณีที่ถูกสั่งให้พูดเป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว เป็นผู้เป็นคน(เป็นมนุษย์) เดรัจฉานมันจะปิดไมค์ - แล้วนั่งลง


ตัวอย่าง (วีดีโอ)การประชุมสภาประชาธิปไตย ของตัว อภิมหัปมงคล

สัตว์ที่เห็นในวีดีโอ ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทย ขนาดเล็กกว่าจระเข้ แต่ใหญ่กว่าตัวเหี้ย ลักษณะคล้ายเหี้ยมากกว่าที่จะเหมือนจระเข้  ผู้เขียนขออนุญาตท่านผู้อ่านตั้งชื่อภาษาไทย ลำลองไปก่อนว่า ตัว อภิมหัปมงคล คือ อภิมหา + อัปมงคล


นอกจากจะลักกินหมูเห็ดเป็ดไก่ของชาวบ้าน ตัวอภิมหัปมงคล หรือแบบบ้าน ๆ เรียก ตัว “โคดเหี้ย”  คำ ๆ นี้ถ้าลองเปิดพจนานุกรมเล่มโต ๆ หน่อย มันน่าจะอยู่ระหว่าง เหี้ยหางแดง กับ เหี้ยห่ารากแตก ประมาณนั้น  พ้นจากสัตว์เลี้ยงแล้วตัวโคดเหี้ยยังลักคาบเด็กไปกินด้วย ในวีดีโอจะเห็นพวกมัน ประชุมสภาตามระบอบประชาธิปไตยของพวกมัน รวมหัวกันขบกัด และฉีกทึ้งควายเป็น ๆ ทั้งตัววีดีโอนี้น่าหวาดเสียว คนใจอ่อนอย่าดู


ในทางสากลมันชื่อว่า ตัว komodo




Comment: ประเทศไทย คงจะไม่ใช่ ควายที่น่าสงสารตัวนั้น  หรือว่ากำลังจะใช่?


ข้อเสนอแนะ-เชิงบวก


1)  ร่างข้อบังคับ 61 (ลิงก์ http://oknation.nationtv.tv/blog/57150/2012/02/03/entry-1เสียใหม่ ให้ละเอียด รัดกุม แตกข้อย่อยออกมาชัด ๆ อย่าปล่อยให้หยาบ ๆ คลุมเครือ เปิดโอกาสให้ตีความ(วินิจฉัย)
2)  ตั้งนักภาษาศาสตร์(Linguist) มาเป็นกรรมการยกร่างข้อบังคับ
3)  ตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารของสัตว์(Zoosemiotics) มาสมทบด้วย ผู้รู้เรื่องการสื่อสารของมนุษย์ และโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสื่อสารในหมู่สัตว์ จะช่วยเสนอแนะประเด็นทางเลือก - options in writing rules - ในการยกร่างข้อบังคับข้อ 61 เสียใหม่  ปิดโอกาสในการตีความ หรือ “วินิจฉัย”  เพราะประธานที่ประชุมบางคน - ไม่ใช่ทุกคน โดยพื้นฐานปัญญาของมัน มันยังดูไม่ออกเลยว่า ไหนขี้ ไหนน้ำผึ้งป่า (they don’t know shit from wild honey) มันจะวินิจฉัยปมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามระบอบประชาธิปไตย ได้งัย? ทำงานแทบทุกชนิดเวลานี้ ต้องใช้ปัญญา ชั้นแต่การเล่นวอลเลย์บอล เขายังต้องใช้หัวคิดเล่น ใช่ว่าสักแต่มีมือมีตีนก็ตีลูกไปเรื่อยเปื่อย
4)  เชิญกรรมการกีฬาวอลเลย์บอล มาดูแลกำหนดจำนวนครั้งที่แต่ละฝ่ายจะสามารถประท้วงได้ในหนึ่งนัดประชุม เทียบเคียงกับจำนวน “Challenge” ในแต่ละเซทวอลเลย์บอล

5)  เชิญกรรมการกีฬาฟุตบอล มาดูแลกฎกติกาการแจกใบเหลืองใบแดง ให้ตำรวจสภานำใบเหลืองใบแดงไปแปะที่หน้าอกผู้แทนราษฎร ให้ประชาชนได้เห็น ใบเหลืองอกซ้าย ใบแดงอกขวา(ห้ามจับนม สส.หญิงบัญชีรายชื่อ เพราะนมยาน)




Comment: ข้อเสนอแนะ-เชิงลบ -- ไม่มี



------------------- จบแล้วครับ ขอบคุณที่อ่าน ---------------------------




ปรีชา ทิวะหุต
บ้านนาพญา  อำเภอหลังสวน
จังหวัดชุมพร



---------------------------------------------------------------
ลิงก์ ไปตอนอื่น ๆ

รักประชาธิปไตยฯ ตอน 1/4
รักประชาธิปไตยฯ ตอน 2/4
รักประชาธิปไตยฯ ตอน 3/4

ประสิทธิ ไชศีรษะ - ถ่อย เถื่อน สถุล เขาเปล่านะ


ลิงไปบทความชุด VillageLife ทั้งหมด คลิกเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น