open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

VillageLife บ้านคุณพ่อของนักเขียน ทวีป วรดิลก ที่ตัวเมืองหลังสวน


บ้านคุณพระทวีปธุรประศาสน์ (วร วรดิลก) หลังเดิมที่เห็นนี้ บุตรชายของท่านที่เคยเป็นนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองหลังสวน ได้สร้างหลังใหม่ก่ออิฐถือปูนใหญ่โตอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ไม่ปรากฏในภาพ 

ส่วนคุณทวีป วรดิลก บุตรชายที่เป็นนักเขียนนั้น เป็นบุตรคนรอง ๆ ลงมาของคุณพระทวีปฯ และท่านมีพี่น้องเป็นนักเขียนอีกคนหนึ่ง คือ คุณสุวัฒน์ วรดิลก ผู้ใช้นามปากกา รพีพร และเขียนเรื่อง ลูกทาส






คุณทวีป วรดิลก เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านคือผู้ที่ได้นำทำนองเพลง ลา มาร์เซยแยส เพลงชาติฝรั่งเศส มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย กลายเป็นเพลงมหาวิทยาลัย ชื่อ
เพลง มาร์ช มธก.   ซึ่งก็ยังร้องกันอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้






สาเหตุที่ในอำเภอหลังสวนมีคนในตระกูลขุนนางเหลืออยู่ ก็เพราะหลังสวนเคยเป็น “จังหวัด” มาก่อน  ก่อนที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนการปกครองตั้งชุมพรเป็นจังหวัด ยุบหลังสวนลงเป็นอำเภอในภายหลัง นี่คือคำอธิบายเล็ก ๆ ว่า ทำไมที่หลังสวนจึงมีคนในตระกูลขุนนางเหลืออยู่ แต่ที่ชุมพรอันเป็นตัวจังหวัด กลับไม่มี

สมัยที่หลังสวนเป็นหัวเมืองสำคัญ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า เคยเสด็จหลังสวน และได้จารึกพระนามาภิไธยไว้ที่ผนังถ้ำพระ ที่ตำบลท่ามะพลา ริมแม่น้ำหลังสวน  มีเรื่องเล่าเป็นตำนานว่า เรือยาวที่ชื่อ “เรือมะเขือยำ” ได้นำเสด็จเรือพระที่นั่ง เข้ามาตามลำน้ำหลังสวน  ทุกวันนี้เรือมะเขือยำเก็บรักษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งริมฝั่งน้ำหลังสวน  และเรือมะเขือยำก็เป็นส่วนหนึ่งของตำนานการแข่งเรือในลำน้ำหลังสวน ด้วยกติกาที่ได้กลายเป็นแบบแผนการแข่งเรือในท้องถิ่นใกล้เคียง คือกติกาเรื่อง “การขึ้นโขน ชิงธง”  ซึ่งไม่มีในภูมิภาคอื่น และจะครบ 175 ปีในปี 2561 นี้

งานแข่งเรือ หรือภาษาใต้เรียก “งานเรือแข่ง”  เป็นเทศกาลประจำปีที่สำคัญของเมืองหลังสวน จะยกเว้นเท่าที่จำได้ ก็เพียงปีเดียว คือ ปีที่พระเจ้าอยู่หัวสวรรคต

ชาวหลังสวนที่อพยพไปอยู่ท้องถิ่นอื่น มักจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดในช่วงเทศกาล เรือแข่ง  และในวันเทศกาล ชาวหลังสวนจะมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบานใจ.....และ “friendly”

การเกณฑ์ทหารในอำเภอหลังสวน ทราบมาจากญาติ ๆ ที่ลูกหลานถูกเรียกเกณฑ์ประจำ ว่าตามสถิติแล้วพูดได้ว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังพลล้วนเป็นทหาร “สมัครใจขอเข้าเป็นทหาร” ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งนั้น จับใบดำใบแดงเข้ามา ผู้เขียนมีหลานชายคนหนึ่ง ที่ตำบลบางมะพร้าว มันทะเลาะกับพ่อมัน มันไม่พอใจพ่อมัน มันก็เก็บความไม่พอใจเงียบไว้ พอถึงวันเกณฑ์ทหาร มันเดินเข้าไปสมัครเฉยเลย พ่อแม่ห้ามไม่ทัน  มันบอกผู้เขียนว่ามันอยากจะไปรบที่ปัตตานี แล้วอยากตายได้ธงชาติคลุมโลงศพกลับบ้าน.....

เกี่ยวกับผู้คนในอำเภอหลังสวน น้าผมซึ่งเป็นนายทหารฝ่ายการข่าว(ถึงแก่กรรมแล้ว) เคยเล่าให้ฟังว่าประมาณ 70% ล้วนนับญาติถึงกันทั้งนั้น  ตัวอย่างเช่น ตัวผมเอง ก็จะเป็นญาติกับคนในสกุล นาคสวัสดิ์ เจียมวิจิตร และ โตบางมะพร้าว  เป็นต้น  นามสกุล โตบางมะพร้าว ของคุณย่านั้น ปัจจุบันก็ยังมีคนใช้กันหลายคน ที่เป็นผู้นำหมู่บ้าน ก็มี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น