open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทกวี Roses are red, สำหรับนายโจนาธาร เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซี ประจำประเทศไทย

บทกวีนี้ เสนอให้ นาย Jonathan Head
ผู้สื่อข่าวคนเก่ง ของบีบีซี ประจำไทย
เพื่อนำออกอากาศ ทางวิทยุบีบีซี ทั่วโลก




                                               Roses are red,
                                        Violets are blue,
                                        I like your best friend,
                                        Can I fuck her too?               





ลิงก์ บทกวีอื่น ๆ ที่บลอกนี้
กวีไฮกุ เสนอออกทาง บีบีซี

บทกวี สมยศ พฤกษาเกษมสุข

บทกวี ขรรค์ชัย บุนปาน

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ทันทีหลังปีใหม่ 2562 จะเสนอข้อเขียนสั้น ๆ ในชุด VillageLife ชื่อ “บ้านงานบุญ” รวม 8 ตอน โดยย่อดังนี้ครับ

VillageLife บ้านงานบุญ ตอน 1 เอาถุงนอน ไปด้วย
ก็เพราะบ้านงานบุญอยู่ไกล จึงหอบถุงนอนไปด้วย เหมือนไปแคมปิ้ง

VillageLIfe บ้านงานบุญ ตอน 2 ญาติผู้ใหญ่ พูดเพ้อ
ข้อเขียนตอนนี้ ไม่ได้เขียนนินทาญาติผู้ใหญ่

VillageLife บ้านงานบุญ ตอนที่ 3 เครื่องเสียงในชนบททุกวันนี้
เดซิเบลของเครื่องเสียงตามบ้านงานบุญในชนบท อึกกระทึกครึกโครม มหึมาครับอภิมหามหึมา ทวยราษฎร์ระอา เอือมเดช คือ ระดับนรกแตก

VillageLife บ้านงานบุญ ตอน 4 ดูน้าเล่นไพ่ จนง่วง

ในโลกอันชั่วร้าย ของสติปัญญาที่เชือดเฉือน
                   ไม่มีอะไรจะน่ากลุ้มใจ (หรือ น่าอับอายขายขี้หน้า)
                   ไปกว่าได้เล่นไพ่ใบที่คุณหลงรัก แต่แล้ว.....

VillageLife ตอน 5 คน “ไม่พูด”  เสน่ห์แบบเงียบ ๆ

พูดไป สองไพเบี้ย
นิ่งเสีย ตำลึงทอง

VillageLife บ้านงานบุญ ตอน 6 พิธีสงฆ์ นอนฟังเสียงพระสวด
งานนี้นิมนตร์พระ กี่รูป?

VillageLife บ้านงานบุญ ตอน 7 งานบุญอะไร คะคุณพี่?
ตอน 7 นี้เป็นตอนรองสุดท้ายของข้อเขียนชุด “บ้านงานบุญ”  ซึ่งในตอนนี้จะได้เปิดเผยต่อท่านผู้อ่านว่า เป็นงานบุญอะไร

VillageLife บ้านงานบุญ ตอน 8 ชีวิตจิตใจคนสมัยนี้
ญาติผู้น้อยผู้นี้ของผู้เขียนเขาเป็นคนยุคใหม่ เขามีทั้ง roots และมีทั้ง wings


วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

VillageLife นักเขียนที่ “เลว” คือ อย่างไร?





คอมเมนนี้ แปลจับใจความคำสอนในวีดีโอ 

“เลว” แปลตรงตัวจาก “bad” ซึ่งคำแปลภาษาไทยฟังดูหนักหน่วงไปนิดนึง “bad” ไม่ถึงกับเลวมากมายอะไร น่าจะแปลว่า “ไม่ดี” จะดีกว่า

แต่ถ้าแปลว่า ไม่ดี ผู้เขียนบลอคเห็นว่า จะเบาไปหน่อย ก็เลยเลือกที่จะใช้คำว่า “เลว” ในความหมายว่า “ไม่ดี” ไม่ใช่ในความหมายว่า ชั่วช้า

คำว่า “นักเขียน” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงนักเขียนรางวัลโนเบล หรือศิลปินแห่งชาติ แต่หมายถึงคนรักการขีดเขียนทุกคน รวมทั้งผู้เขียนบลอคนี้ด้วย และหมายถึงคนรักการขีดเขียนในรูปแบบ ชนิด หรือ genre และสไตล์ต่าง ๆ นานา

ท่านว่า “นักเขียนที่เลว คือ นักเขียนที่ไม่มีอะไรจะเขียน”

“Bad writers have nothing to say.”

คือ นักเขียนที่ตัวเองไม่มีอะไรจะเขียน คอยแต่จะก็อปผู้อื่นอยู่ร่ำไป โดยที่ไม่รู้จักที่จะคิดเองบ้างเลย

เช่น พบเห็นปรากฏการณ์งานขายดีฤดูที่แล้ว ตัวก็จะเขียนอย่างนั้นบ้าง หรือว่าพักนี้เขา ฮิต-อิน-ฟิน กันเรื่องอะไร กูก็จะไปทางนั้นกับเขาบ้าง ครูเล่าว่า หลังจากเรื่อง Boys Don’t Cry ออกมาทำเงินเป็นกอบเป็นกำ ปรากฏว่าในวงการฮอลลีวูด ทะลักท่วม เอ่อนอง หลากไปด้วยจดหมายเสนองานทำนองคล้าย ๆ กัน อันได้แก่ เรื่องพิสวาสแปลก ๆ ของคนที่อยู่อาศัยในเมืองเล็ก ๆ ในชนบทของสหรัฐอเมริกา

คนรักการขีดเขียนที่เลว – bad writers – หวังยอดขาย มากกว่าที่จะกังวลเรื่องความคิดความอ่าน จินตนาการ หรือศิลปะ

นักเขียนที่เลวแม้จะมีผลงานมาแล้วยี่สิบเรื่อง ครูบอกว่า ใช่ว่าเขาจะมีฝีมือการเขียน – the craft of exposition

เรื่องนี้ – the craft of exposition – เป็นเรื่องสำคัญขั้นต้นที่คนรักการขีดเขียน หรือนักเขียน จะต้องฝึกฝน สร้างสมประสบการณ์

ครูท่านอ่านงานไม่กี่บรรทัดท่านก็สามารถรู้ได้ว่า คนเขียนมีฝีมือในการนำเสนอเรื่อง มากน้อยเพียงใด หรือว่าไม่มีเลย

ท่านบอกต่อไปว่า ผู้ที่มีฝีมือในการนำเสนอเรื่องราว – the craft of exposition – เขาเข้าใจลึกซึ้งถึงฝีมือการนำเสนอเรื่อง เขารู้จักที่จะดึงความสนใจ เรียกร้องความสนใจของผู้อ่านเข้ามาในเรื่องราวที่เขียน โดยไม่ได้ใช้วิธีฉุดกระชากลากถูเข้ามา หรือด่วนนำเข้ามาก่อนเวลาอันควร  แต่จะทำให้ผู้อ่านใจจดใจจ่อกับเรื่องด้วยความอยากรู้อยากเห็น ด้วยจิตใจที่รู้จักเห็นอกเขาอกเรากับเพื่อนมนุษย์

กระบวนการนี้เขาจะเลียบเคียงทำ ทำอ้อม ๆ แลไม่เห็น และผู้อ่านไม่รู้ตัว
เทคนิค หรือ ฝีมือ เรื่องนี้อย่างเดียว ท่านว่าต้องใช้เวลาฝึกฝนนานนับเป็นปี ๆ ไม่ใช่วันสองวัน หรือเดือนสองเดือน

นั่นเป็นเรื่องฝีมือ ต่อไปเป็นเรื่อง ศิลปะ หรือจินตนาการ

ครูสอนว่า เวลาเขาแข่งกีฬาโอลิมปิคบางประเภท เช่น สะเก็ตศิลป์ หรือ ยิมนาสติค จะมีคณะกรรมการผู้ให้คะแนนคอยพิจารณาการแสดงความสามารถของนักกีฬา ครูถามว่า รู้มั้ยกรรมการตัดสินเขาใช้เกณฑ์อะไรมาพิจารณาให้คะแนน กรรมการตัดสินเขา “มองหาอะไร” เพื่อให้คะแนน 1 ถึง 10

ครูบอกว่า กรรมการอาจใช้เกณฑ์ เช่น ตัดสินความรู้สึก อาการผ่อนคลายไม่เกร็งระหว่างการแสดง พิจารณาลักษณะที่ส่อความมั่นใจระหว่างการแสดง ดูความมีสมาธิในการแสดง แล้วอาจพิจารณา “มุมตก” ของใบมีดสะเก็ต ว่าตกลงกับพื้นน้ำแข็งด้วยองศาประมาณเท่าไร เป็นต้น

ฉันใดก็ฉันนั้น การเขียนก็เป็น “การแสดง” ชนิดหนึ่ง หรือเป็น “performance” อย่างหนึ่ง เหมือนกับกีฬาสะเกตน้ำแข็ง หรือ ยิมนาสติค หรือการเต้นรำ ความแม่นยำเที่ยงตรงของประเด็นการเขียน จังหวะจะโคน นี่ก็น่าจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลงานเขียนได้




การเต้นรำก็เป็นการแสดงออกด้านฝีมือ(craftmanship) เช่นเดียวกับการเขียน และก็อาจเป็นการแสดงออกเชิงศิลปะ(art) ด้วยก็ได้ การเขียนก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ท่านผู้อ่านอาจจะไม่มีวันรู้ได้ว่า คนเขียนหนังสือได้แรงบันดาลใจมาจากไหน?  อาจได้จากการชมการเต้นรำประกวดข้างบนนั้น หรือจากการชมภาพเขียน หรือฟังเพลง หรือดูลิเก หรือดูมโนราห์หนังตะลุง หรือฟังมโหรีเพลงบีโธเฟน - ซึ่งท่านว่าขี้มักจะจบแบบสุขนาฏกรรม – happy ending


ครูพูดว่า ฝีมือ หรือ craftsmanship เป็นเรื่องหนึ่งแต่มีอีกเรื่องหนึ่ง คือ นักเขียนมีอะไรจะพูดจะเขียนหรือเปล่า? (something to say)

ครูยกตัวอย่างคนมีฝีมือเลอเลิศ แต่ไม่มีอะไรจะพูด ได้แก่นายสตีเวน สปีลเบิร์ก คน ๆ นี้ไม่มีอะไรจะพูด เขามีจิตใจหนังสือการ์ตูน – a comic book mind เขาไม่มีสาระอะไรจะบอกกล่าว

กระนั้นก็ดี ยังมีคนอีกหลายคนที่ต่อสู้ดิ้นรนอยู่กับการสร้างสมฝีมือ โดยที่เขามี passion ที่บางคนแปลว่า หลงใหล บางคนแปลว่า กระสัน เขามี insight เขาเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ มีจินตนาการอันวิเศษถึงโลกทางเลือก คนพวกนี้มีอยู่ในงานเขียนทุกชนิดงาน(any genre)

เห็นมั้ยล่ะว่า การมีฝีมือใช่ว่าจะเป็นหลักประกันว่า นักเขียนจะสร้างผลงานได้ยอดเยี่ยม

แต่นั่นแหละ ครูสรุปว่า ดูเหมือนคนเราถ้าไร้ฝีมือเสียแล้ว ก็มักจะขาดจินตนาการด้วย ดังนั้น นักเขียนที่เลว(ไร้ฝีมือ) จึงมักจะไม่มีอะไรจะพูดจะเขียนไปพร้อม ๆ กันเป็นธรรมดา (ครูหัวเราะ แต่ผู้เขียนบลอค หัวเราะไม่ออก...)


เดฟ นาพญา

บทความนี้ เผยแพร่อยู่ที่ 

โปรด ช่วยแชร์ลิงก์ - ขอบคุณครับ



วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

VillageLife วีดีโอมิวสิคเพลง “ใกล้รุ่ง”


เพื่อนคนที่ผมเคยเขียนถึงอยู่ในบลอค แต่ในชีวิตจริง – ที่จริงอินเตอร์เนตก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง – เราไม่ได้พบปะเจอะเจอกันนานปี  ล่าสุดพบกันที่บ้านเขาในซอย ถนนสุขุมวิท กทม. คุณแม่ของเพื่อนท่านมีเมตตาต่อผมมาก และผมเคารพรักท่านมาก รองจากแม่ผมเอง ผมจึงเสมือนคนมีแม่สองคน แม่จริงซึ่งเป็นชาวนาชาวสวน – สอนให้รู้จักมีน้ำอดน้ำทน สู้ชีวิตและสู้คน  กับแม่เชิงจิตวิญญาณที่เป็นคนนาครธรรม – สอนให้รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีที่งาม(สำหรับตัวเอง)



จะหัวเด็ดตีนขาดอย่างไร ผมคงไม่เอ่ยชื่อเพื่อนในทางสาธารณะ  แต่เขาเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ และปรากฏนามอยู่กับวีดีโอ Near Dawn ข้างบนนั้น

เพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” ผมชอบมากมาแต่สมัยรุ่น ๆ ทุกวันนี้ยังฮัมเพลงนี้และร้องเล่นประจำ เป็นความสบายอกสบายใจอย่างหนึ่ง

ผลงานมิวสิควีดีโอข้างบน การร้อง ดนตรี และการถ่ายทำ ตามอัตวิสัยผมเอง – เห็นว่าเป็นอย่างเอก หนึ่งไม่มีสอง ผมฟังและชมซ้ำ ๆ นับสิบครั้ง ไม่เบื่อ  ทั่วทั้งโลกไซเบอร์คงจะมีแต่คนไทยเท่านั้น ที่จะสามารถทำเพลงนี้ได้ผลงานออกมาวิเศษอย่างนี้

ขอบคุณผู้ที่นำมาแบ่งปันกันชมและฟัง เปิดโอกาสให้ผมได้แบ่งปันต่อไปกับมิตรสหาย ท่านผู้อ่านบลอคและเฟสบุค 

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Village Life: คุณเจ้ ผู้บูชาท่านประธานเหมา


ผู้เขียนเคยมีสหายสตรีผู้หนึ่ง เธอมีเจ้ ผู้คลั่งประธานเหมาชนิดคำก็ประธานเหมา สองคำก็ประธานเหมา เช่น เธอเคยบอกผู้เขียนอย่างซีเรียส ว่า

“นี่แนะ ท่านประธานเหมาสั่งให้ดื่มน้ำหนึ่งแก้ว ตอนเช้า”

ครั้นอินเตอร์เนตแพร่หลายมากขึ้น ประมาณปี 2543 ผู้เขียนก็พบว่าใช่แต่ประธานเหมาเท่านั้น ประธานอื่น ๆ รวมทั้งคนที่ไม่ได้เป็นประธานอะไรอีกหลายคน ต่างก็พูดตรงกันว่า ให้ดื่มน้ำหนึ่งแก้วตอนเช้า



ฉบับแปลเป็นอังกฤษอย่างเป็นทางการ ต้นฉบับพิมพ์เผยแพร่โดย กองทัพปลดแอกประชาชนจีน

Quotations from Chairman Mao Tse-tung: Bilingual Edition, English and Chinese 毛主席语录: The Little Red Book by [毛泽东, Mao Tse-tung]


คุณเจ้ แกมีความคิดความอ่านแหลมคมฉับไว เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เธอเคยบอกผู้เขียนว่า ความสำเร็จของคนก็คือ นี่งัย $ เครื่องหมายยูเอสดอลลาร์  - ซัคเซส - Success ก็คือ ยูเอส ดอลลาร์ $ แบบว่า เยอะ ๆ

ผู้เขียนฟังความคิดความอ่านของเธออย่างสนใจ แต่ก็ไม่วายปนระคนสงสัย เช่น สงสัยว่าประธานเหมากับยูเอสดอลลาร์ จะมาปนคละกันอยู่ได้งัยเนี่ยะ ฟังดูคล้ายกับการเมืองสไตล์คอมมิวนิสต์ แต่เศรษฐกิจเป็นระบอบนายทุน - อะไรเทือกนั้น แต่ถ้าการเมืองเป็นแบบโดแนลทรัมพ์  แต่เศรษฐกิจเป็นระบอบเหมาเซตุง จะผสมพันธ์กันได้งัยเนี่ยะ

หรือยกตัวอย่างในบริบทจีน สมมติว่า พรรคก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็คอยู่ที่ปักกิ่ง ส่วนคอมมิวนิสต์ของเมาเซตุงอยู่ที่ ไทเป ไต้หวัน  อย่างนี้เจ้จะยัง “คลั่ง”ประธานเหมาอยู่หรือเปล่า?

อันที่จริง เจ้แกรู้จักและมักจี่คนใหญ่คนโตทั่วไป เช่น อดีตนายกรมต.ชวน หลีกภัย แกก็รู้จักมักจี่ อดีตนายกรมต.บัญญัติ บรรทัดฐาน แกก็รู้จักมักจี่ คนหลังนี้นัยว่าจะเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์รุ่นเดียวกันกับเธอด้วยซ้ำ

สมัยที่คุณบรรญัติ เป็นนายกรมต. เจ้แกก็เริ่มได้รับการแต่งตั้ง เข้าไปดำรงตำแหน่งใหญ่โต นั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ โดยที่เธอมีตำแหน่งทางวิชาการ เป็นถึง “รองศาสตราจารย์” ใน คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่องบัญน้ำบัญชีผู้เขียนเคยเรียนกับอาจารย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (L’Institut d’Administration des Entreprises) มหาวิทยาลัยบอร์โดส์ ฝรั่งเศส  ส่วนอาจารย๋ท่านสอนอะไรไว้บ้างนั้นก็ลืมหมดแล้ว – ขออภัย  แต่จำได้อยู่อย่าง คือท่านสอนไว้ว่า

“ในบรรดาความทรงจำสองสามอย่างที่มนุษย์ยากที่จะลืม หนึ่งในนั้นได้แก่ ความทรงจำทางการเงิน”

หรือภาษาฝรั่งเศสว่า ลา เม็มมัวร์ ฟิน็องซิแยร์ – la mémoire financière  หรือถ้าจะถือวิสาสะแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็น่าจะแปลได้ว่า financial memory

ประธานเหมาสอนว่า เราต้องแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ซึ่งที่จริงก็คือประเด็นของข้อเขียนชิ้นนี้นั่นเอง เพราะในบรรดาจุดต่างมากมาย ผู้เขียนมีจุดร่วมกับเจ้แกอยู่เรื่องหนึ่ง คือ ผู้เขียนมีเงินก้อนหนึ่งอยู่กับเจ้ ในความทรงจำทางการเงินอันไม่ลืมเลือนของผู้เขียน เงินก้อนนั้นมีจำนวนหนึ่งล้านบาท แต่เจ้แกคืนให้มาแล้วห้าแสนบาท ยังคงเหลืออยู่กับเจ้อีกห้าแสนบาท

วันก่อน ผู้เขียนฝากญาติโทรศัพท์ไปทวงถามถึงเงินจำนวนห้าแสนบาทจำนวนดังกล่าว เจ้แกตะเพิดญาติผู้เขียนมาทางโทรศัพท์ว่า

“ทีหลัง อย่าโทรมาอีก นะ”

ท่านผู้อ่านไม่จำเป็นจะต้องเดา ก็รู้ชัดว่านั่นคือเหตุผล ที่จะต้องนำเรื่องนี้มาแถลงในบลอค ทั้งนี้ก็เพราะว่า เจ้แกห้ามใช้โทรศัพท์นั่นเอง – แต่แกไม่ได้ห้ามเขียนในบลอค

ในความทรงจำที่มิใช่ความทรงจำทางการเงิน หรือที่ไม่ใช่ เม็มมัวร์ ฟิน็องซิแยร์ ซึ่งมีสิทธิที่จะเลอะเลือนได้ แต่จำได้ว่า เจ้แกเป็นอาจารย์ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เจ้แกไม่ได้เป็นอาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์(Linguistics) คณะศิลปะศาสตร์ ซะหน่อย

วิชาภาษาศาสตร์มี มโนทัศน์ หรือ concept เกี่ยวกับการหยิบยืมที่อาจไม่เหมือนใคร และแน่ ๆ ว่าไม่เหมือนมโนทัศน์เรื่องเดียวกันในวิชาการบัญชี กล่าวคือ การยืมคำจากภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่ง กลายเป็นคำชนิดที่เขาเรียกว่า “คำยืม” นั้น เขายืมกันแล้ว ไม่คืน

ยกตัวอย่างเช่น ภาษาไทยยืมคำอังกฤษว่า นิว  กับยืมคำจีนว่า เปงเชียง  นำมาใช้เป็นคำยืมอยู่ในภาษาไทย – และไม่ยอมคืน ว่า – นิว เปงเชียง 



หรือภาษาจีนยืมคำไทยโบราณว่า สามแผ่น – หมายถึงไม้สามแผ่น ไปใช้ในภาษาจีนว่า ซำปัน หมายถึงเรือ สำปั้น ที่ในภายหลังไทยยืมกลับเข้ามาใช้ในภาษาไทย – และนี่ก็ไม่คืน

เรือสำปั้นพระบิณฑบาตร(เรือจำลอง)

แต่ว่า ยืมแล้วไม่คืน นั่นเป็นหลักในวิชาภาษาศาสตร์ ตามปกติแล้วหลักบัญชีอันเป็นสากล           
เดบิท_เงินสด แล้ว เครดิต_เจ้าหนี้ ครับ

แม้ผู้เขียนจะไม่ใช่คน “คลั่งประธานเหมา” แต่ตัวเองก็มีเชื้อจีน สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า I’m a quarter Chinese. คือมีเชื้อจีนอยู่หนึ่งในสี่  อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ไม่ได้เห็นด้วยกับคนในเมืองจีนจำนวนมากในปัจจุบัน ที่คิดว่าประธานเหมาได้สร้างความเสียหายแก่แผ่นดินจีน สมควรถูกลงโทษ ผู้เขียนยังคงเห็นว่า ประธานเหมาสั่งสอนไว้น่าเคารพหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น วาทะประธานเหมา แปลภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการข้อที่ผู้เขียนทำตัวเอนและแปลไทยไว้ในวงเล็บ

วาทะประธานเหมา บางข้อ:

The Three Main Rules of Discipline are as follows:


(1) Obey orders in all your actions.

(2) Do not take a single needle piece of thread from the masses. (อย่ามั่วเอาเข็มแม้สักเล่ม หรือด้ายสักเส้นจากมวลชน – รวมทั้งจาก ปรีชา ด้วย)

(3) Turn in everything captured.

The Eight Points for Attention are as follows:


(1) Speak politely. (เจรจาสุภาพ - รวมทั้งอย่าตะเพิดญาติเจ้าหนี้ เวลาญาติเจ้าหนี้โทรมา)

(2) Pay fairly for what you buy.

(3) Return everything you borrow. (คืนทุกสิ่งที่ยืมมา - รวมทั้งเงินคงค้างอีก 500,000 บาทของ ปรีชา ด้วย)

(4) …… (5) ….. (6) ….. (7) ….. (8) …..


เพราะฉะนั้น หลังจากที่ได้ติดต่อท่านประธานเหมา ผ่าน การนั่งทางใน โดยอาจารย์ไสย(ศาสตร์)ประจำตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน แล้ว  อาจารย์ไสยฯบอกว่า ท่านประธานเหมาสั่งมาว่า ให้ น.ส.ประนอม โฆวินิวพัฒน์ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ คณะบัญชี ธรรมศาสตร์ ต้องคืนเงินต้นจำนวนห้าแสนบาท แก่นายปรีชา ทิวะหุต โดยที่นายปรีชา ทิวะหุต สมัครใจยกดอกเบี้ยกึ่งหนึ่งให้แก่ น.ส.ประนอม แบบให้เปล่า ส่วนดอกเบี้ยอีกกึ่งหนึ่งขอทำบุญกับ กองทุนวันเกิด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  – อย่าลืมออกใบเสร็จรับเงินให้ปรีชา ด้วยนะครับ รองศาสตราจารย์ประนอม

อนึ่ง ประเด็นต่อไปนี้สำคัญ ในการติดต่อท่านประธานเหมาด้วยการนั่งทางในนั้น ท่านอนุญาตให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลง The Eight Points for Attention ของท่านเป็น Nine Points

โดยข้อใหม่ ข้อที่ (9) ความว่า


(9) Cheaters must be punished.


ปรีชา ทิวะหุต
บ้านนาพญา
อำเภอหลังสวน
จังหวัดชุมพร




ลิงก์ข้างล่างทั้งหมด 10 ลิงก์ โยงไปหา รองศาสตราจารย์ ประนอมฯ

หรือที่

ตั้ง 2 กรรมการใหม่ แทน ประนอม โฆวินวิพัฒน์ -วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ชอบด้วยกฎหมาย

รายย่อยจับมือ "ทวิช" เสนอชื่อ 6 อรหันต์

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกพิจารณากลั่นกรองบทความ วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ

บทความนี้ เผยแพร่อยู่ที่ 

โปรด ช่วยแชร์ลิงก์ - ขอบคุณครับ


วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

VillageLife มหาเศรษฐี สามหมื่นสองพันล้านบาท จากการเขียนหนังสือ


การที่ท่านอุตส่าห์ติดตามอ่านบลอคนี้ ผู้เขียนนึกขอบคุณท่านผู้อ่านเสมอ  แม้ผู้เขียนจะรู้สึกอายที่จะเปิดเผยตัวเลข เพราะจำนวนท่านผู้อ่านบลอคไม่ได้มากมายอะไรเลย และตลอดมาเป็นปี ก็ไม่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นสักกี่คน

แต่สัจธรรมข้อหนึ่งได้รับการพิสูจน์ยืนยัน จากความจริงดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ คนมีคุณภาพย่อมมีจำนวนเพียงกระหยิบมือเดียว น้อยนิดกระจิ๋วหริวกว่าพวกโหลยโถ้ย ชัวร์ ๆ อยู่แล้ว

เพราะรู้คุณและเห็นค่าท่านผู้อ่าน ผู้เขียนได้เพียร คิด คิด คิด คิด คิดว่าจะหาของขวัญสักชิ้นหนึ่ง เป็นของขวัญปีใหม่ 2562 แก่ท่านผู้อ่านที่เคารพจำนวนไม่มากของบลอคนี้ – ไม่ต้องเป็นกังวลครับ พบแล้ว

ทำเสื้อยืดแจก แหงเลย?  แล้วเขียนที่อกเสื้อว่า

                                      We’re fans of
                                      Dev Napya

                                      เรา คือ แฟน
                                      เดฟ นาพญา

โอเค ทำเล้ยยยยยยย....ไม่กี่ตัวเอง!!!

ขอโทษครับ – ท่านเดาคลาดเคลื่อน เลื่อนเปื้อนไปกันใหญ่  โปรดชมวีดีโอต่อไปนี้





วีดีโอนี้รวบรวมคำแนะนำของนักเขียนคนแรกในประวัติศาสตร์โลก ที่เพียงด้วยปลายปากกาของเธอ สามารถสร้างทรัพย์สินมีมูลค่า ปี 2561 ประมาณหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว ๆ สามหมื่นสองพันล้านบาท

ถ้านำมูลค่าทรัพย์สินของเธอ มาเทียบกับทำเนียบมหาเศรษฐีเมืองไทย  ถึงแม้เธอจะไม่ติดอันดับระดับต้น ๆ แต่เธอก็ไม่ใช่มหาเศรษฐีปลายแถว  อย่าลืม – สามหมื่นสองพัน ล้านบาทครับ

เธอคือ เจ.เค. โรลลิง – J.K. Rowling (ไฮเปอร์ลิงก์) นักเขียนผู้ประพันธ์นิยายเรื่อง แฮรี ปอตเตอร์
แฟนผู้สร้างวีดีโอเรื่องนี้ ได้รวบรวมคำพูดตามที่ต่าง ๆ ต่างกรรมต่างวาระของเธอ มารวบรวมไว้ในที่เดียว คัดเฉพาะที่เขาเห็นว่าเป็นคำแนะนำที่มีค่า ไม่เฉพาะกับผู้มีใจรักการขีดเขียน แต่ผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ ก็น่าที่จะนำไปปรับใช้ได้  ทั้งหมดมี 10 ประการ

ผู้เขียนบลอคมีเจตนาทำงานชิ้นนี้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ท่านผู้อ่านบลอค  ไม่ได้แปลคำแนะนำของ เจ เค โรลลิง แบบคำต่อคำ วลีต่อวลี หรือประโยคต่อประโยค  แต่ได้ใช้วิธีพยายามทำความเข้าใจ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทย ให้ได้ใจความชนิดที่เห็นว่า นี่แหละใช่ ดังนี้ครับ


1)   ความล้มเหลว ช่วยให้เราพบตัวตนแท้จริงของเรา

การที่เราล้มเหลวทำให้เราเกิดความมั่นคงภายใน ที่เราไม่อาจหาได้จากประสบการณ์อื่นใดในชีวิต  ความล้มเหลวสอนฉันว่า ที่จริงฉันเป็นคนมีความตั้งใจแข็งแรงมั่นคง อดทน และมีวินัยกว่าที่ฉันเคยคิด

ความล้มเหลวยังทำให้ฉันพบอีกว่า ฉันยังมีมิตรสหาย มีเพื่อน ผู้มีคุณค่าสูงกว่าเพชรนิลจินดาใด ๆ

เราฟันฝ่าผ่านอุปสรรคมาได้ พร้อมกับจิตใจที่เฉลียวฉลาดขึ้นกว่าเดิม แปลว่าตลอดไปในภายภาคหน้า เราจะมั่นคงอยู่กับขีดความสามารถที่จะรู้รักษาตัวรอดของเราเอง

อนึ่ง เราไม่อาจรู้จักตนเอง หรือรู้ถึงความแข็งแรงแห่งสัมพันธภาพที่เรามีอยู่ ตราบเท่าที่ทั้งสองสิ่งนี้ ไม่เคยผ่านการทดสอบจากอุปสรรคขวากหนาม ความรู้ข้อนี้เป็นของกำนัลอันมีค่าแก่ชีวิต ที่เราจะได้จากประสบการณ์อันเจ็บปวด และเป็นคุณสมบัติวิเศษ เลอเลิศกว่าคุณสมบัติอื่นใดที่ฉันเคยมีมาก่อนหน้านี้


2)   ลงมือทำ ตามความคิดของเรา

ฉันได้ความคิดมาเขียนเรื่อง แฮรี ปอตเตอร์ ระหว่างนั่งรถไฟจากเมืองแมนเชสเตอร์ มากรุงลอนดอน

อย่างแปลกประหลาดที่สุด ฉันรู้สึกแวบขึ้นมาในใจ แล้วฉันก็รู้ว่า นี่เป็นความคิดอันวิเศษ โอ พระเจ้า ฉันรักที่จะเขียนตามความคิดนี้มาก ฉันพบแล้ว พอลงจากรถไฟ ก็ตรงกลับบ้าน นั่งลงเขียนทันที

เมื่อถูกถามว่า คุณไม่เคยมีความคิดทำนองนี้มาก่อนบ้างเลยหรือ  เธอตอบว่า เคย ทำไมจะไม่เคย แต่ไม่เคยมีความคิดใดที่จับจิตจับใจเท่านี้


3)   เราจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์

วรรณคดี ดนตรี และภาพยนตร์ ล้วนเป็นอัตวิสัยสุด ๆ ขึ้นอยู่กับคนแต่ละคน เพราะฉะนั้น เป็นธรรมดาอยู่เองที่เราจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่นั่นเป็นสัจธรรม นั่นคือความเป็นความอยู่ของงาน  นั่นคือจิตวิญญาณของงาน คือเป็นการแสดงออกซึ่งอัตวิสัยอย่างแท้จริง ที่จะต้องถูกวิจารณ์

ถ้าคุณอยากได้ยินแต่คำสรรเสริญเยินยอ แซ่สร้องสดุดีไม่หยุดปาก คุณก็ควรออกไปเสียจากวงการนี้


4)   อย่าลืมกำพืดแท้จริงของเรา อย่าลืมจุดเริ่มต้นของเรา

เธอนำผู้ถ่ายทำวีดีโอเยี่ยมแฟลตเก่าที่เธอเคยอยู่  เป็นที่ ๆ เธอเขียน แฮรี ปอตเตอร์ เธอเล่าว่า ทุกอย่างเริ่มจากที่นั่น เวลานั้นชีวิตเธอยากจนและลำบากแสนสาหัส หมอวิเคราะห์ว่า เธอเป็นโรคหดหู่อย่างแรง

เธอไม่นึกเลยว่า ชีวิตเธอจะกลายเป็นประหนึ่งเทพนิยาย เช่นที่เธอกำลังเป็นอยู่นี้ เธอเล่าไปพลาง ร้องให้ไปพลาง

เธอยังกลับไปเยี่ยมอะพาร์ตเมนต์เก่าแห่งนั้นเสมอ เพราะที่นั่นคือรากฐานที่ส่งให้เธอประสบความสำเร็จ และมีชีวิตดุจเทพนิยาย


5)   ความเชื่อมั่น และ ศรัทธา

เธอเชื่อถือศรัทธาในตนอยู่อย่างหนึ่ง คือ เชื่อว่าตัวเธอสามารถที่จะเล่าเรื่องได้ เธอเป็นนักเล่านิทาน

ระหว่างกำลังเขียนนิยายเล่มแรกอยู่นั้น วันหนึ่งเธอลุกเดินจากโต๊ะในร้านกาแฟที่นั่งเขียน ระหว่างกำลังออกเดิน ก็มีเสียงแว่วอยู่ในมโนนึก วาบขึ้นมาว่า งานที่กำลังเขียนอยู่นั้นคงยากที่จะได้รับการตีพิมพ์ แต่ถ้าได้พิมพ์ จะประสบความสำเร็จมโหฬาร

เธอบอกว่า คนเราต้องมีศรัทธา ตัวเธอเองไม่ใช่คนมีความเชื่อมั่นในตนเองมากมายอะไรเลย เธอแทบจะไม่มีความมั่นใจอะไรสักอย่าง แต่มีอยู่อย่างหนึ่งในชีวิตที่เธอเชื่อและศรัทธา คือ เธอเชื่อว่าเธอสามารถเล่าเรื่องได้ เธอเป็นนักเล่านิทาน


6)   ความหวาดหวั่น

เธอเล่าว่า ทุกครั้งที่เธอเริ่มเขียนหนังสือ แฮรี ปอตเตอร์ เล่มใหม่ เธอจะเป็นกังวล หวั่นวิตกมากเสมอ เพราะเธอกลัวต่อการคาดหวังของผู้อ่านจำนวนนับล้านคน ซึ่งแต่ละคนต่างล้วนเป็นแฟนพันธ์แท้ของ แฮรี ปอตเตอร์ แฟน ๆ ทั้งหลายย่อมคาดหวัง หรือต้องการ ให้เรื่องราวเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้  

เธอจึงต้องคอยเตือนตนตลอดเวลาว่า นี่คือหนทางของเธอ แนวที่เธอจะเดินเรื่องไป เธอจะไม่ยอมให้การคาดหวังของแฟน ๆ มามีอิทธิพลต่อเค้าโครงเรื่องที่เธอตั้งใจไว้


7)   ชีวิตไม่ใช่บัญชีหางว่าวของสมบัติพัสถานที่เราสะสมมาได้ และไม่ใช่รายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราทำสำเร็จ 

คุณสมบัตินานาประการของเราก็ดี หรือแผ่นประวัติบุคคล(CV)ที่รวมประวัติการศึกษา ทักษะ ความสามารถ และหน้าที่การงาน ของเราก็ดี เหล่านี้ไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ชีวิตที่มีความสุข แต่มีคนหลายคนทั้งที่เป็นคนรุ่นเดียวกับเธอและสูงวัยกว่าเธอ ต่างพากันนึกว่า ซีวี(CV) คือ ชีวิต

เธอกล่าวว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ยาก และเป็นเรื่องสลับซับซ้อน

ชีวิตอยู่นอกเหนือการกำกับควบคุมของเจ้าของชีวิต การที่เรารู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน รับรู้และคารวะต่อความจริงข้อนี้ จะช่วยให้เราเอาตัวรอด สามารถฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการในชีวิตจนผ่านพ้นไปได้

8)   วิระยะ อุตสาหะ

ผู้อ่านวัยหนุ่มสาวชอบถามเธอว่า ถ้าพวกเขาอยากจะเป็นนักเขียนบ้าง เธอมีคำแนะนำดี ๆ ให้กับพวกเขาบ้างไหม เธอตอบว่า จะขอเล่าให้ฟังว่า เธอทำมาอย่างไรจะดีกว่าเธอบอกว่า เราต้องอ่านมาก ๆ นั่นเป็นวิธีเรียนเขียนที่ดี ซึ่งจะสอนเราให้รู้ว่าการเขียนที่ดี คืออย่างไร บางทีเราอาจลอกเลียน เลียนแบบ นักเขียนที่เราชอบก็ได้ นั่นก็เป็นวิธีเรียนรู้วิธีหนึ่ง ไม่มีอะไรเสียหาย

เราต้องอนุญาตให้ตัวเองเขียนห่วย ๆ เยอะ ๆ อย่าได้กลัว เขียนให้มากจนความห่วยออกไปพ้นระบบของเรา ไม่นานเราจะได้เห็นเองว่า เขียนดี คือ เขียนอย่างไร

และเรายังจะรู้ด้วยว่า ประเภท-ชนิดของการเขียนของเรา ควรเป็นงานขีดเขียนชนิดใด

ท้ายที่สุด คือ ความเพียรพยายาม ไม่ลดละ งานเขียนเป็นงานที่มีผลตอบแทนสูง – ฉันไม่ได้หมายถึงเงินทอง เธอกำลังบอกว่า การที่เราสามารถทำงานนี้ได้ตลอดชีวิต นั่นคือผลตอบแทนสูงสุดแล้ว  สำหรับบิดามารดาที่มีลูกชอบขีดเขียน อย่าได้ดุว่าเขา ว่าลูกเพ้อเจ้อ ไม่สัมผัสความจริง อย่าได้ว่ากล่าวลูกว่า เพ้อฝัน เป็นอันขาด

9)   ความฝัน สามารถกลายเป็นจริง ได้

ฉันต้องการเป็นนักเขียนมาโดยตลอด แล้วถ้าเรารักที่จะเขียนหนังสือ เราก็มักฝันกันว่า สักวันหนึ่ง เราจะสามารพเลี้ยงชีพได้ ด้วยงานเขียนของเรา

แต่งานเขียนนิยายให้เด็กอ่าน โอกาสที่จะขายดิบขายดีเป็นไปได้ยากมาก เพราะฉะนั้น ลักษณะงานชนิดนี้จะไม่เปิดโอกาสให้ฉันฝันได้ไกล ดังนั้น ผลสำเร็จที่เกิดแก่ฉันเวลานี้ จึงอยู่เหนือฝัน

และ ฉันรู้สึกปิติยินดีอย่างที่สุด

10)               เรามีอำนาจภายในตน ที่จะจินตนาการเห็นโลกที่ดีกว่านี้

ถ้าเรารู้จักเลือกที่จะใช้สถานภาพของเรา มิใช่เพียงเพื่อแสดงตนเป็นส่วนหนึ่งของผู้มีอำนาจวาสนาบารมี แต่เราเลือกที่จะแสดงตนเป็นส่วนหนึ่งของคนที่ไม่มีสิทธิไม่มีเสียง ไม่มีที่พึ่ง คนยากไร้ ถ้าเรารู้จักที่จะจินตนาการตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนสิ้นไร้ไม้ตอก ฉะนี้แล้ว ไม่เพียงแต่ญาติพี่น้องของเราเท่านั้น แต่จะมีคนอีกนับล้านผู้ที่ชีวิตเปลี่ยนแปลงดีขึ้น โดยที่เรามีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงนั้น พวกเขาจะมาร่วมเสียใจกับการจากไปของเรา

ไม่จำเป็นหรอกว่า จะต้องมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มาเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น เพียงอำนาจภายในตนของเรา ก็พอแล้ว


สวัสดีปีใหม่ 2562 ครับ

ปรีชา ทิวะหุต
บ้านนาพญา
อำเภอหลังสวน
จังหวัดชุมพร


บทความนี้ เผยแพร่อยู่ที่ 

โปรด ช่วยแชร์ลิงก์ - ขอบคุณครับ