open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นักปรัชญา กับ พระราชา ตอน 2/3

ปรัชญาการเมือง
ศาสตราจารย์ สตีเวน บี. สมิธ
มหาวิทยาลัย เยล

Dan Bailé ผู้สรุปเป็นภาษาไทย


นักปรัชญา กับ พระราชา ตอน 2/3
Plato’s Republic III-IV


การบรรยายตอนนี้ ศ.สมิธ นำเสนอตัวละครที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ สาธารณรัฐของ เพลโต

เริ่มจาก โพลิมากุส(Polemarchus) บุตรของ เกอเฟลุส(Cephalus) โพลิมากุส เป็นสุภาพบุรุษแบบกรีกโบราณ ซึ่งไม่ใช่สุภาพบุรุษแบบที่คนสมัยใหม่บางคนเข้าใจ คือ ผู้หลีกทางให้สตรีเดินเข้าลิฟต์ก่อน หรือจับบานประตูไว้ให้ผู้สูงอายุเดินเข้าห้าง อะไรทำนองนั้น

สุภาพบุรุษแบบกรีกโบราณ หมายความว่า รักเพื่อนรักฝูง ไม่ใช่เอาตัวรอดคนเดียวแบบบิดาของเขา(เกอเฟลุส) ผู้ซึ่งหมกมุ่นอยู่แต่กับเรื่องเงินกับกามารมณ์  อีกนัยหนึ่ง สนใจสนองตัณหาราคะทางกายภาพ ไม่คิดถึงบ้านเมือง  ในขณะที่บุตรชาย คือ โพลิมากุส ชอบที่จะคิดคำนึงเรื่องเกียรติยศ และความมั่นคงของบ้านเมือง

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นักปรัชญา กับ พระราชา ตอน 1

ปรัชญาการเมือง
ศาสตราจารย์ สตีเวน บี. สมิธ
มหาวิทยาลัย เยล

Dan Bailé สรุปเป็นภาษาไทย



นักปรัชญา กับ พระราชา ตอน 1
Plato’s Republic I-II


การบรรยายลำดับต่อไป รวมสามตอน จะพูดถึงหนังสือ “สาธารณรัฐ” - Republic ของ เพลโต 

ศ.สมิธ กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้ของ เพลโต เป็นจุดเริ่มของการศึกษาวิชาการเมือง หรือรัฐศาสตร์  หนังสือเล่มอื่นในแนวการเมือง ที่ตามมาจากเล่มนี้ ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน  ต่างล้วนได้รับการจุดประกายจากหนังสือ Republic ทั้งสิ้น  นักศึกษาหลายคนอาจจะประจักษ์ในภายหลังว่า การได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เป็นการผจญภัยทางสติปัญญาที่ทรงคุณค่า ที่ตนได้รับจาก มหาวิทยาลัย เยล

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พลเมือง ตามแบบ โสคราติส ตอนที่ 2

ปรัชญาการเมือง
ศาสตราจารย์ สตีเวน บี. สมิธ
มหาวิทยาลัย เยล

Dan Bailé ผู้สรุปเป็นภาษาไทย


พลเมือง ตามแบบ โสคราติส ตอนที่ 2
ตอนที่ 2 Socratic citizenship: Plato’s Crito


การที่ทางการนครรัฐเอเธนส์ ไต่สวน โสคราติส มีนัยยะอย่างไร?

ศ.สมิธ เริ่มการบรรยายด้วยการสอบถามนักศึกษาในชั้นเรียน ว่าหลังจากที่ได้อ่านหนังสือ อะโปโลจี แล้ว  ใครเห็นด้วยว่า โสคราติส บริสุทธิ์-สมควรปล่อยตัว  กับใครเห็นว่า โสคราติส ผิด-สมควรได้รับโทษ  ผลการยกมือปรากฏว่านักศึกษาพวกที่เห็นว่า ไม่ผิด-สมควรปล่อยตัว มีจำนวนมากกว่า พวกที่เห็นว่า ผิด-สมควรได้รับโทษ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เทวรูป พระนารายณ์ ปางป้องกันภัย

วัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
-      บทความสั้น ๆ ในชุด “แผ่นดินใต้ เมื่อ 1 พันปีก่อน สุโขทัย”




อายุประมาณ พ.ศ.900
-เก่าแก่ก่อนที่ศาสนาพุทธหรืออิสลาม จะมาถึงภาคใต้
-ก่อนเขมรสร้างปราสาทนครวัด ประมาณ 700 ปี  ก่อนไสยศาสตร์เขมรทั้งหมด
-ก่อนกรุงสุโขทัย ประมาณเกือบ 1 พันปี  ถ้าท่านคิดว่า ประวัติศาสตร์ไทยเริ่มที่กรุงสุโขทัย  ท่านสมควรเชื่อต่อไปว่า ประวัติศาสตร์ดินแดนภาคใต้ เริ่มมาแล้วก่อนหน้านั้น 1 พันปี

เทวรูปพระนารายณ์ปางป้องกันภัยองค์นี้ แสดงถึงอิทธิพล ศิลป์และไสย(ศาสตร์) ที่มาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา कृष्णा नदी ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในภาคใต้ และในประเทศไทย ศิลปะในลุ่มแม่น้ำกฤษณาเป็นสกุลหนึ่งของศิลปะในดินแดนภารตะ เรียกชื่อทางการว่า ศิลปะสกุลอมราวดี

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความคืบหน้า ภาษาอินโดเนเซีย (รายงาน ครั้งที่ 3)

เล่าประสบการณ์และข้อมูล ที่อาจจะเป็นประโยชน์

ต่อมิตรสหาย ที่กำลังเรียนภาษาอื่น ๆ ด้วย

เมื่อเราตั้งใจเรียนภาษาต่างประเทศจริงจัง เป็นขั้นเป็นตอน  เวลาจะผ่านไปเหมือนติดปีกบิน  นับแต่รายงานครั้งที่สองเมื่อ 1 ธันวาคม 2558 เวลาผ่านไปแล้ว 8 เดือน เหมือนกระพริบตา

แม้เวลาจะผ่านไปไว แต่การเรียนกลับคืบหน้าไป อย่างช้า ๆ ได้มาอีก 7 บท(ยาก ๆ) รวมกับที่เรียนแล้ว 50 บท เป็น 57 บท และรู้ศัพท์แล้วรวมประมาณ 625 คำ(ตามทฤษฎี) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,500 คำ  ครูบอกว่าต้องรู้ศัพท์ประมาณนั้น จึงจะ “พอพูดได้”

และ 1,500 คำคือเป้าหมาย ของการรายงานเรื่องนี้ที่หน้าบลอค ได้ 1,500 คำเมื่อไร ก็จะเลิกรายงานครับ 

เริ่มเรียน ธันวาคมปี 2557  ถึงบัดนี้ - สิงหาคม 2559  เวลาผ่านไปแล้วหนึ่งปี กับแปดเดือน

ครั้งนี้ ขอรายงานว่า การนับเลขที่เรียนมาเมื่อต้นปี 2558 ถูกนำมาใช้เต็มที่ เพื่อบอกเวลาโมงยาม

สำนวนการบอกเวลาในภาษาอินโดเนเซีย แตกต่างอยู่บ้างกับการบอกเวลาในภาษาไทย เช่น

          ภาษาไทย พูดว่า:                เวลา สิบสี่ นาฬิกา สิบห้า นาที
          ภาษาอินโดเนเซีย พูดว่า:      นาฬิกา สิบสี่ ผ่านไปแล้ว หนึ่งในสี่
                                                [จัม เอิมปัด เบอลัส เลอวัด เซอเปอเริมปัด]

          ภาษาไทย พูดว่า:                อีก สิบห้า นาที จะเก้า นาฬิกา
          ภาษาอินโดเนเซีย:              นาฬิกา เก้า หย่อน สิบห้า นาที
                                                [จัม เซ็มบิลัน กูรัง เซอเปอเริมปัด]
          เป็นต้น

ชื่อวันจันทร์ถึงศุกร์ เป็นคนละเรื่องคนละราว กับภาษาต่างประเทศภาษาอื่น ๆ ที่เคยเรียนมา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และฮินดี -ไม่นับภาษาจีนกลาง เพราะเรียนมาน้อยมาก  เพราะฉะนั้น จะค้นหาไฟล์เก่าในความจำ มาเทียบใช้ไม่ได้เลย  ต้องจำเอาใหม่ล้วน ๆ คือ
         
          จันทร์            ฮารี     เซอนิน
          อังคาร                    เซอลาซา
          พุธ                         ราบู
          พฤหัส                     กามิส
          ศุกร์                       จุมมัด
          เสาร์                       ซับตู
          อาทิตย์                   มิงกู

สวรรค์ทรงโปรด พี่บังแกยืมชื่อเดือนของฝรั่งมาใช้ เรื่องชื่อเดือนจึงง่าย ไม่ต้องจำใหม่เลย

ส่วนฤดูกาลนั้น ตามปกติพี่บังมีสองฤดูเหมือนปักษ์ใต้ คือหน้าแล้ง – มูชิม เกอะมาเรา  กับหน้าฝน – มูชิม หูจัน

แต่ชาวบ้านอินโดเนเซีย จะมีฤดูแทรกเข้ามาอีกสามฤดู คือ ฤดูเกี่ยวข้าว ฤดูลม และฤดูลมตะวันตก  เรียกตามลำดับว่า มูชิม ปาริเน็น มูชิม อังกิน กับมูชิม อังกิน บารัด

ประเด็นเรื่อง ความจำ กับ ความเข้าใจ จะมามีบทบาทกับการเรียนภาษาต่างประเทศ  เมื่อผู้เขียนเรียนกฎหมาย เคยมีคุณพี่ติวเตอร์ท่านหนึ่ง ท่านดุเอาว่า ไม่ต้องท่องจำหรอก เข้าใจแล้วเดี๋ยวจำได้เอง  เรื่องนี้ผู้เขียนสงสัยว่า ที่ภาษาอินโดเนเซียเรียกวันจันทร์ว่า ฮารี เซอนิน นั้น ถ้าผมไม่พึ่งความจำ คุณพี่จะให้ผมทำความเข้าใจว่าอย่างไร ครับ?  เพื่อที่ผมจะได้จำได้?

โคดยากเลย ที่เราจะทำความเข้าใจว่า ทำไมภาษาอินโดเนเซีย เรียกวันวานซืนว่า เกอะมาริน ดูลุ  หรือเรียกพรุ่งนี้ว่า เบอซ็ค

สำหรับช่วงเวลาระหว่างวัน ก็ต้องจำใหม่หมด จะไปหาเค้าในภาษาอื่นทีเคยเรียนมาไม่ได้ ก็เลยขอเทียบกันภาษาใต้ ดังนี้

          หัวรุ่ง                      ซูบุ
          หวันขึ้น                   มาตาฮารี ตระบิด
          ข้างเช้า                   ปากี

          หวันเที่ยง                เซียง
          หวันชาย                  ซอเร
          หวันตกดิน               มาตาฮารี ตระเบอนัม

          ค่ำ                         มาลัม

คำศัพท์แปลก ๆ คำหนึ่งที่ใช้กับการบอกเวลา คือ ซัมไป
ซึ่งหมายถึง “จนกระทั่งถึง” หรือ “จนถึง”  เช่น

          เขาทำงาน จนถึง ห้านาฬิกา
          เดีย เบอะกระจา ซัมไป จัม ลิมา

หรือจะใช้กับระยะทาง ก็ได้ เช่น เพลงอินโดฯเพลงหนึ่ง ชื่อ
          “ดารี สะบัง ซัมไป มะเราเก”
          จาก สะบัง ถึง มะเราเก

หรือจะใช้เป็น คำกิริยา แปลว่า มาถึง(to arrive) ก็ได้อีก
          จัม เบอรัมปะ เปอซาวัด ตระบัง ซัมไป?
          เครื่องบัน มาถึง กี่โมง?

หรือ ใช้เป็น บุรพบท ในสำนวนต่าง ๆ เช่น
          ซัมไป นันตี              แล้วพบกันนะ
          ซัมไป จุมปา             แล้วเจอกันอีก
          ซัมไป บระเต็มมู        จนกว่าจะพบกันอีก
เป็นต้น

ช่วงเวลาระหว่างว้น เช่น ตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนบ่าย ตอนค่ำ ศัพท์เหล่านี้มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อจะบอกว่า เราจะทำอะไร ตอนไหน เช่น

          ปาดา เซียง ฮารี                  ตอนกลางวัน
          ปาดา ซอเร ฮารี                 ตอนบ่ายแก่ ๆ
          ปาดา จัม เอินนัม เบอลัส      ตอนสิบหกนาฬิกา

ได้เรียนคำว่า ถูก กับ ผิด หรือ เบอนารฺ กับ ซาละ ไปแล้วด้วย มีตัวอย่าง ขำ ๆ คือ

          ซายา เมา เกอะ บันดุง เตอะตาปี ซายา ไนอิก บัส ยัง ซาละ
          เซอการัง ซายา ดิ โบกอรฺ

          ฉัน ต้องการ จะไป เมืองบันดุง แต่ว่า ฉัน ขึ้นรถเมล์ ผิด
          ตอนนี้ ฉันเลย อยู่ที่ เมื่องโบกอรฺ





สถาปัตยกรรม มหาวิหาร ศิลปะชวา
มัสยิด เกอเด เกามาน เมืองยกยาการ์ตา
เราจะไม่พบ สุเหร่าสไตล์นี้ ที่ไหนในโลก!

การใช้เวลาว่าง ช่วงเวลาที่ผ่านไป ได้เรียนคำศัพท์ สำนวน เกี่ยวกับการใช้เวลาว่าง – วัคตุ เซ็งกัง  และวันหยุด -- ฮารี ลิบูรฺ

          ยามว่าง คุณชอบ ไปโรงยิม  หรือสระว่ายน้ำ?
          ปาดา วัคตุ เซ็งกัง อะปากะ อันดา ซุคกะ เกอะ เกอดุง โอสะรากา  อะเตา โกลัม เรอะนัง?

          ตามธรรมดาในวันหยุด คุณทำอะไร?
          บิอาสันยะ อะดา อะจาระ อะปา ปาดา ฮารี ลิบูรฺ?

สุดท้ายสำหรับการเรียนช่วงที่ผ่านไป คือ การพูดคุย สอบถาม ตอนคำถาม และตั้งคำถาม เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ในระหว่างวัน เช่น ทำเมื่อไร ทำที่ไหน เป็นต้น

          เมื่อคืน เธอ กลับบ้าน กี่โมง?
          จัม เบอรัมปะ ปูลัง ตาดิ มาลัม?

          ผมไปงานปาร์ตีที่บ้านเพื่อน
          ซายา เกอะ เปสตา ดิ รูมะ เตอะมาน

          เธอไปงานปาตีนั้น กับใคร?
          กามู ประกี เกอะ เปสตา อิตู เดิงง้น ซีอัมปะ?

          ฉัน ไม่เชื่อ เธอหรอก!
          ซายา ติดะ ประจายะ!

ขอส่งท้าย รายงานความคืบหน้าการเรียนภาษาอินโดเนเซีย ครั้งที่ 3 ด้วยประโยคต่อไปนี้

          งักปะอิน เบอลาจารฺ บาฮาซา อินโดเนเซีย?
                   -คุณอยากเรียนภาษาอินโดเนเซีย ไปทำไมกัน?

ซูลิด สิ!
          -ยากจะตาย!


แดง ใบเล่
เผยแพร่เมื่อ สิงหาคม 2559
ที่ www.pricha123.blogspot.com



หมายเหตุ: การทำความเข้าใจกับ ชื่อวัน ในภาษาอินโดเนเซีย ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าท่านรู้ภาษา
อาระบิค(ผู้เขียนบลอค-ไม่รู้)

เช่น     วันจันทร์        อาระบิคว่า      al-ithnayn     อินโดฯว่า   เซอนิน
          อังคาร                                         ?                                เซอลาซา
          พุธ                                         al-arbi’aa                        ราบู
          พฤหัสบดี                               al-khamis                        กามิส
          ศุกร์                                       al-jum’ah                        จุมมัด
          เสาร์                                      as-sabt                             ซับตู  
          อาทิตย์                                 al-ahad                             อะฮาด
          แต่สำหรับวันอาทิตย์ บางทีก็ยื่มมาจาก ภาษาโปรตุเกสว่า โดมิงโก อินโดฯว่า มิงกุ

ฉันใดก็ฉันนั้น สมมติว่าท่านเป็นชาวต่างภาษา กำลังเรียนภาษาไทย ชื่อวันในภาษาไทย ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าท่านรู้ภาษาฮินดี/สันสกฤต 

เช่น     วันจันทร์        ฮินดี/สันสกฤต ว่า      โสมวาร सोमवार
          อังคาร                                         มังคลวาร  मंगल्वार
          พุธ                                            พุธวาร बुधवार
          พฤหัสบดี                                     คุรุวาร गुरुवार (วันครู งัย)
          ศุกร์                                           ศุกรวาร शुक्रवार
          เสาร์                                          ศนิวาร शनिवार

          อาทิตย์                                                 รวิวาร रविवार




สนใจอ่าน รายงานก่อน ๆ เชิญที่

รายงานครั้งที่ 1

รายงานครั้งที่ 2