อะริสโตเติล: งานนี้มีวัตถุประสงค์แท้จริง ว่าอย่างไร
Episode 09 part two
ศ.แซนเดล เปิดการบรรยายด้วยการทบทวนว่า
ครั้งที่แล้วจบการบรรยายด้วยการอภิปราย เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย กับมาตรการการต่อแต้ม
โดยพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลเพื่อการต่อแต้ม แบ่งออกได้เป็นสามประการ คือ
- Corrective argument – ต่อแต้มเพื่อปรับคะแนนผลการเรียน ให้ตรงตาม ความหมายแท้จริง
ของคะแนนสอบ ให้คะแนนสอบเป็นเครื่องแสดงศักยภาพแท้จริง โดยพิจารณาถึงพื้นฐานที่แตกต่างกันของนักเรียนมาประกอบด้วย
ทั้งนี้เพื่อที่จะประเมินผลการเรียน และ
“แวว” ของนักศึกษาให้ได้แม่นยำยิ่งขึ้น
- Compensatory argument – ต่อแต้มเพื่อชดเชยความผิดพลาดในอดีต
หรือความไม่ยุติธรรมในประวัติศาสตร์
- Diversity argument – ต่อแต้มเพื่อความหลากหลาย แสดงตัวอย่างด้วยคดีที่นางสาวฮ็ปวูด ฟ้องต่อศาลเพื่อประท้วงนโยบายต่อแต้มของมหาวิทยาลัยเท็กซัส เมื่อปี 1990 ซึ่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส ก็ได้เถียง(แสดงเหตุผล)ว่า ตนมีพันธกิจทางสังคม ที่จะต้องผลิตผู้นำให้แก่วงการกฎหมายในรัฐเท็กซัส เพราะฉะนั้น ตนก็ต้องรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับโครงสร้างเผ่าพงศ์(ethnicity) และชาติพันธุ์(racial background)ของประชาชนในรัฐเทกซัส อีกนัยหนึ่งเพราะว่าพันธกิจทางสังคมของมหาวิทยาลัยเทกซัส เป็นไปเพื่อยังผลดีให้เกิดแก่ส่วนรวม(common good)
ครั้งที่แล้ว
ได้พิจารณาข้อโต้แย้ง ต่อการอ้างเหตุผลเรื่องการต่อแต้มของมหาวิทยาลัยเท็กซัส
ในประเด็น ยังผลดีให้เกิดแก่ส่วนรวม และจบลงโดย ศ.แซนเดล กล่าวว่า อาจารย์ รอลส์
ไม่เห็นด้วยกับการยกเหตุผลเรื่อง ผลดีแก่ส่วนรวม(common good)
ตามข้อ 3. มาเป็นเหตุผลใหญ่-ถ้าหากว่าสิทธิส่วนบุคคลถูกละเมิด
แม้จะถูกละเมิดโดยอ้างว่า เพื่อส่งเสริมผลดีแก่ส่วนรวม
ก็ตาม
“สิทธิอะไรหรือ ที่กำลังจะถูกละเมิด” ศ.แซนเดล
ตั้งปริศนา
What right might be at stake? (เวลาวีดีโอ 29:00)
นางสาวฮ็ปวูด
เธอ มีสิทธิ พึงจะได้รับการพิจารณารับเข้าเป็นนักศึกษา บนพื้นฐานของปัจจัยต่าง
ๆ ที่ตัวเธอเองสามารถควบคุมได้
การเป็นคนผิวขาว-เป็นปัจจัยที่เธอควบคุมไม่ได้ แล้วทำไมจะมาพิจารณาตัดสินเธอ ด้วยปัจจัยที่เธอไม่อาจรับผิดชอบได้
ด้วยเล่า?
นักศึกษาคนหนึ่งลุกขึ้นอภิปรายว่า
มหาวิทยาลัย เช่น ฮาร์วาร์ด เป็นสถาบันเอกชน
ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดพันธกิจของตนได้ตามใจปรารถนา ครั้นได้ตั้งพันธกิจขึ้นแล้ว เมื่อนั้นเราจึงอาจสามารถระบุว่า
คุณสมบัติใดพึงเป็นปัจจัยในการพิจารณาคัดเลือก เพื่อรับเข้าเป็นนักศึกษา เพราะฉะนั้น การที่นางสาวฮ็ปวูดถูกมหาวิทยาลัยปฏิเสธ
ก็ไม่ได้มี สิทธิ ประเภทใด ๆ ของเธอที่ถูกละเมิด
จากเหตุผลนี้
ก็เกิดคำถามตามมาว่า
สถาบันการศึกษา/และสถาบันเอกชนทั้งหลาย สามารถกำหนดพันธกิจอย่างไรก็ได้
ตามอำเภอใจหรือ?
ในอดีต
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคยมีโควตารับนักศึกษาที่มีลักษณะปฏิปักษ์ต่อคนยิว – anti
Jewish quota โดยอ้างเหตุผลว่า
มหาวิทยาลัยมีพันธกิจที่จะผลิตนักศึกษาออกไปทำงาน ในสังคมส่วนรวม ซึ่งลักษณะงานเหล่านั้นไม่มีคนยิวทำอยู่ มหาวิทยาลัยเท็กซัสในอดีตที่ยังมีโควตา ไม่รับ
คนผิวดำ ก็อ้างสังคมส่วนรวมเหมือนกัน
คำถามมีว่า--การอ้างสังคมส่วนรวมเพื่อปฏิเสธคนยิวกับคนผิวดำในอดีต
กับการอ้างสังคมส่วนรวมมาเป็นเหตุผลเรื่องการต่อแต้มในยุคปัจจุบัน(ซึ่งเป็นเหตุให้คนผิวขาว
ที่มีผลการเรียนดี กลับไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย)—เป็นหลักการเดียวกันหรือเปล่า?
ผลการอภิปรายสรุปว่า
นโยบายกีดกันคนยิวกับคนผิวดำในอดีต แฝงการตัดสินไว้แต่ต้น(=แฝงอคติ)ว่า
ทั้งสองพวกเป็นคนด้อยค่า
ส่วนนโยบายต่อแต้มในปัจจุบัน แม้จะใช้คนเป็นเครื่องมือสนองนโยบายทางสังคมก็จริงอยู่
แต่การต่อแต้ม ไม่ได้เห็นว่า คนกลุ่มวัฒนธรรมย่อย
หรือเผ่าพงศ์ใด(ethnic group) โดยตัวเองเป็นคนด้อยค่า
ศ.แซนเดล
ทบทวนความจำให้แก่ชั้นเรียนว่า การอภิปรายประเด็นนี้ทั้งหมดนั้น
เกิดจากปัญหาปรัชญาเบื้องต้น ที่ว่า
“เป็นสิ่งที่ถูกที่ควรหรือไม่
ที่หลักศิลธรรมเรื่องความยุติธรรมในการกระจายทรัพยาการในสังคม
พึงผูกอยู่กับคุณธรรม/คุณสมบัติของบุคคล(moral deserts)” – Whether
distributive justice should be tied to moral deserts or not? (เวลาวีดีโอ 36:10)
ซึ่งอาจารย์
รอลส์ เห็นว่า “ใช่แล้ว ไม่เป็นการยุติธรรม
ที่หลักศิลธรรมเรื่องการกระจายทรัพยากร จะควรอิงคุณธรรม/คุณสมบัติของบุคคล”
ศ.แซนเดล
กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ – Big Issue –
ของปรัชญาการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งสรุปได้ว่า
“ การแยกพิจารณาปัญหาเรื่องความยุติธรรมในการจัดสรรทรัพยากร
ออกเสียจากเรื่องคุณธรรมและคุณสมบัติ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หรือเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
ละหรือ?
ประเด็นนี้
อันที่จริงแล้ว เป็นประเด็นที่แบ่งแยกปรัชญาการเมืองสมัยใหม่(ในโลกตะวันตก) ออกจากแนวความคิดปรัชญาการเมืองโบราณ(ในโลกตะวันตก)”
“Is it possible, is it
desirable, to detach the question of distributive justice from the question of moral
desert or virtue? In many ways this is an issue that seperates modern political
philosophy from ancient political thought.” (เวลาวีดีโอ
38:45)
ศ.แซนเดล บรรยายว่า
การแยกเรื่องนี้ออกจากกันนั้น อาจารย์รอลส์กระทำลงด้วยเหตุผลเรื่องความเสมอภาค – egalitarian
reason กล่าวคือ ถ้าเราแยกเรื่องคุณธรรมไว้ต่างหากแล้ว
โอกาสที่จะพิจารณาเรื่องความเสมอภาค ก็จะเปิดกว้างขึ้น
อย่างไรก็ดี นักคิดแนวเสรีนิยม - Libertarian
right theorists ก็มีความเห็นไปในทำนองเดียวกันกับนักคิดแนวเสมอภาคนิยม
ว่า ไม่สมควรที่จะนำความยุติธรรม มาเป็นรางวัลตอบแทนแก่คุณธรรมหรือคุณงามความดี แต่...ทั้งนี้ด้วยเหตุผลอะไร? (เวลาวีดีโอ 40:40)
ศ.แซนเดล กล่าวว่า นักคิดเหล่านั้นเห็นว่า
การนำความยุติธรรมมาผูกเข้ากับเรื่องคุณธรรมความดี จะทำให้เราละเลยเรื่องเสรีภาพ ตลอดจนไม่เคารพต่อความเป็นอิสระของมนุษย์
ศ.แซนเดล เห็นว่า การที่เราจะตีประเด็นนี้ให้แตก
เราต้องหันไปดูนักปรัชญาผู้มีความเห็นต่างไปจากนักคิดเหล่านั้น ซึ่งผู้ที่มีความเห็นต่างก็คือ อะริสโตเติล
อะริสโตเติล – ผู้เห็นต่าง
ความยุติธรรมในการแบ่งปันจัดสรรทรัพยากร
- อะริสโตเติล เห็นดังนี้
“ความยุติธรรมขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ
คือ 1)
สิ่งของ และ 2) บุคคลผู้ที่จะได้รับสิ่งของนั้น กล่าวโดยทั่วไปก็คือ บุคคลผู้เสมอกัน พึงได้รับอย่างเสมอกัน”
“Justice involves two factors: things
and the persons to whom the things are assigned. In general we say that persons
who are equal should have equal things assigned to them.”
-Aristotle
เกิดคำถามตามมาว่า
ได้รับเสมอกัน-หมายความว่า “เสมอกัน” ในแง่ใด?
ซึ่ง อะริสโตเติล ตอบว่า ขึ้นอยู่กับสิ่งของที่เราจะจัดสรร
เช่น จะจัดขลุ่ยให้ใคร ก็ต้องพิจารณาว่าคุณธรรม/คุณงามความดีเช่นไร จึงจะทำให้คน ๆ
นั้นได้ขลุ่ยไป โดยที่ อะริสโตเติล
เห็นว่า “ขลุ่ยที่ดีที่สุด พึงตกแก่คนที่มีฝีมือเป่าขลุ่ยเก่งที่สุด”
การจัดสรรขลุ่ยโดยวิธีอื่น
จะไม่ยุติธรรม เช่น จัดสรรโดยความร่ำรวย –
ให้ขลุ่ยตกแก่คนที่จ่ายเงินจำนวนสูงสุด
หรือจัดสรรโดยอาศัยชาติกำเนิด – มอบขลุ่ยแก่พวกผู้ลากมากดี หรือจัดสรรโดยยึดความหล่อเป็นเกณท์ –
ให้ขลุ่ยแก่คนหล่อที่สุด หรืออาศัยดวง –
นำขลุ่ยมาออกหวย เพื่อให้ขลุ่ยตกแก่คนดวงเฮงที่สุด
ทำไมถึงอาศัยเกณฑ์นี้? หมายถึงเกณฑ์ที่ว่า ต้องให้ขลุ่ยที่ดีที่สุด แก่คนที่มีฝีมือเป่าขลุ่ยได้อย่างเก่งสุด อะริสโตเติล ให้เหตุผลว่า เพราะว่านั่นคือ “วัตถุประสงค์ของขลุ่ย”
– That’s
what flutes are for. (เวลาวีดีโอ 46:30)
การให้เหตุผลโดยยึดวัตถุประสงค์อันเป็นที่สุด(end)ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเป้าประสงค์บั้นปลาย
หรือธรรมชาติแท้จริงของของสิ่งนั้น เรียกว่า TELEOLOGICAL REASONING (เวลาวีดีโอ 47:57) และการอ้างหลักยุติธรรมโดยยึด ที่สุด หรือ เป้าประสงค์ หรือ
ธรรมชาติธาตุแท้ ของสิ่งที่จะจัดสรรแบ่งปัน มาเป็นเกณฑ์เพื่อความเป็นธรรมนั้น
ท่านเรียกว่า teleological moral reasoning ซึ่งเป็นหลักของ อะริสโตเติล
ศ.แซนเดล ยกตัวอย่างการให้เหตุผลแบบ teleological
reasoning อันเป็นตัวอย่างที่ถูกอกถูกใจนักศึกษา
ด้วยการเล่าเรื่องจากหนังสือสำหรับเด็ก “วินนี่ เดอะ พู” ซึ่งรุ่นพี่ที่โรงเรียนเก่าของผู้เขียนสรุปภาษาไทยผู้หนึ่ง
คือ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลสวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ท่านก็ชอบเรื่องนี้
– โดยท่านได้ทำหนังสือเกี่ยวกับ วินนี เดอะ พู เอาไว้ และที่จริงผู้เขียนสรุปภาษาไทยก็ได้รู้จัก วินนี่
เดอะ พู เป็นครั้งแรก จากรุ่นพี่ท่านนี้-ซึ่งต่างก็เคยสังกัดวงดนตรีไทยโรงเรียนเทพศิรินทร์ด้วยกันมา
ศ.แซนเดล เล่าว่า วันหนึ่ง วินนี เดอะ
พู เดินอยู่ในป่า แล้วได้ยินเสียงหึ่ง ๆ อยู่บนยอดไม้ วินนี เดอะ พู
นั่งลงที่โคนต้นไม้แล้วคิดคำนึงว่า เสียงหึ่ง ๆ นี้ต้องมีความหมายอะไรสักอย่าง ถ้ามีเสียงหึ่ง
ๆ แสดงว่าต้องมีใครสักคนก่อกำเนิดเสียง แล้วเหตุผลที่เกิดเสียงหึ่ง ๆ
เท่าที่ฉันรู้ ก็คือ เธอผู้ทำเสียงหึ่ง ๆ จะต้องเป็นผึ้ง แล้วเหตุผลแห่งการเป็นผึ้งเท่าที่ฉันรู้ ก็คือ
ต้องทำน้ำผึ้ง
แล้วเหตุผลเดียวที่ทำน้ำผึ้ง ก็คือ เพื่อให้ฉันจะได้กินน้ำผึ้ง
ศ.แซนเดล สรุปทิ้งท้ายว่า การที่อะริสโตเติลเห็นว่า
การคิดคำนึงเรื่องความยุติธรรม จะต้องให้เหตุผลจาก ส่วนปลายสุด หรือจาก วัตถุประสงค์ จะเป็นการถูกต้องหรือไม่ อย่างไร? เราจะได้พิจารณากันต่อไป เมื่อเราศึกษาเรื่อง
“การเมือง” ของ อะริสโตเติล
---------------------------------------------------------------------------------
จบ--สรุปภาษาไทย Episode 09/12 part 2 อะริสโตเติล:
มีวัตถุประสงค์แท้จริง ว่าอย่างไร
ชมต้นฉบับวิดิทัศน์--และชมบรรยากาศการเรียนการสอน
ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
สำหรับตอน 09/12 เชิญตามลิงก์ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น