นานทีปีหนดอก
เราจึงจะได้พบกับ “วิจารณ์ การวิจารณ์” สักครั้ง
วีดีโอรายการนี้แฟนท่านหนึ่งส่งลิงก์ทางอีเมล มาให้ลองเคาะชม
เมื่อดูแล้วก็พาลนึกถึง คุณมุกหอม วงศ์เทศ คอลัมนิสต์ชื่อดัง ซึ่งผลงานของเธอ
แม้จะไม่ได้ปรากฏใน Secret Magazine แต่ก็เคยถูกวิจารณ์ที่หน้าบลอคนี้
อ้อ สำหรับ Secret Magazine นั้น ขอเรียนว่าในเมืองหลังสวน
อำเภอบ้านผม มีวางขายนะครับ แสดงว่าต้องมีแฟนอยู่ที่นี่หลายคน
ก็ในเมื่อ
มี “วิจารณ์ การวิจารณ์” ได้ ก็ย่อมมี “วิจารณ์ - การวิจารณ์การวิจารณ์” (โห
มีคำว่า วิจารณ์ อยู่ถึง 3 คำ เอากะเขาซี)ตามมาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็คือ
ข้อเขียนชิ้นนี้…..
ก่อนอื่น
ขอประเดิมชัยด้วยการประเมิน(วิจารณ์)โดยรวมว่า ผู้เขียนเห็นว่า วีดีโอเรื่องนี้เป็น
“วิจารณ์การวิจารณ์” ที่ดี น่าชมน่าฟัง ท่านผู้วิจารณ์ท่านกอปรด้วยความจริงจัง
จริงใจ และยุติธรรม ไม่เฉพาะแต่
“นักวิจารณ์” เท่านั้น ทุกผู้ทุกนามที่เล่นเนตในยุคปัจจุบัน
พึงรับชมรับฟังความคิดเห็นของท่าน เพราะยากนะ ที่เราจะไม่ถูกใครวิจารณ์(หรือ
ประเมิน)ในโลกทุกวันนี้
ยิ่งเวลาที่การเมืองกำลังอุ่นเครื่อง
เริ่มร้อนแรงขึ้น พร้อมด้วยความแปลกใหม่ ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน
ผู้วิจารณ์การวิจารณ์ – คุณขุนเขา สินธุเสนฯ จะมีงานทำอีกมาก ฤดูงานชุก
ว่างั้นเถอะ
เข้าเรื่องเลยดีกว่า
อย่าโหมโรงยืดยาด ภาษาหนังตะลุงท่านว่า ออกตาฤษี –
ก่อนหนังจะจับเรื่อง ผู้เขียนบลอคขอ “วิจารณ์
– การวิจารณ์การวิจารณ์” เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น คือ.....
คือ
อะไรเอ่ย?
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
ไม่ใช่
เต่า นะ เพราะนั่นมันอะไรเอ่ย สี่ตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง แต่อะไรเอ่ยของเราคือสิ่งที่คุณขุนเขาฯ
บอกให้เรา – ผู้อ่านหรือผู้ฟังทั้งหลาย – แยกให้เห็นชัดเจน ท่านใช้คำพูดว่า แยกให้ดี ว่ามันมี truth หรือ
“ความจริง” อยู่มากน้อยแค่ไหนในการวิจารณ์
การแสวงหา
“ความจริง” ดูจะเป็นหัวใจในการวิจารณ์ รวมทั้งการวิจารณ์การวิจารณ์ (คำว่า วิจารณ์
เบิ้ล 2 ที) แล้ว ”ความจริง”
อยู่ที่ไหนอ่ะ?
มันก็ต้องอยู่ในคำวิจารณ์
จะหาที่อื่นคงไม่เจอ เช่น ออกบรรพชาไปเที่ยวเดินแสวงหาความจริงอยู่ในป่าเขาใหญ่
ก็อาจไม่พบความจริงในการวิจารณ์ แต่เจอ งูจงอาง แทน และประสบกับ ความตาย ในที่สุด
เพราะ
การวิจารณ์ในแวดวงวรรณกรรม แสดงออกมาผ่าน การใช้ภาษา ไม่ได้ใช้ “หางตา” ค่อนแคะ หรือยื่นมือออกไปลูบ
ๆ คลำ ๆ และขยำดู นั่นเป็นการปลุกเร้าผ่านการสัมผัส อีกนัยหนึ่งวิจารณ์โดย ใช้ผัสสะ
หามิได้
โดยผ่านผัสสะสิ่งที่พบและกำอยู่ในอุ้งมือ ไม่ใช่ความจริง แต่เป็นอย่างอื่น เราจะพบกับความจริงในการวิจารณ์ อยู่ใน การใช้ภาษา
ของคำวิจารณ์ เท่านั้น
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
ซึ่งการใช้ภาษาในการวิจารณ์
ย่อมประกอบด้วยกลุ่มของคำพูดคำจา ที่ยกขึ้นมาเอ่ยอ้างต่าง ๆ นานา ที่บางส่วนมีเจตนามุ่งเข้าหาข้อสรุป
ว่า ในบั้นปลายแล้วอะไรเป็นอะไร
คำกล่าวอ้างที่มีเจตนามุ่งเข้าหาข้อสรุปนั้น
เราสามารถนำมาจัดรูปประโยคเสียใหม่ ให้สะดวกในการอนุมานคิดหาเหตุผล และหาความจริง ท่านเรียกขั้นตอนนี้ว่า การเปลี่ยนประโยคธรรมดาให้เป็น
“ประพจน์”(ประโยคตรรกะ) พูดอีกแบบว่า เปลี่ยน statement - ข้อความธรรมดา
ให้เป็น proposition – ประโยคตรรกะ
เป็นแปลกทีเดียว
คำกิริยา ในประโยคตรรกะจะมีเพียงกิริยาเดียว คือ “เป็น” หรือ “คือ”
ตรงกับคำกิริยาภาษาอังกฤษ - verb
to be
เรื่องนี้
ต้องฝึกหัดทำ ถ้ามีครูคอยกำกับดูแล เช่น ครูเดฟ ก็จะง่ายและสะดวกขึ้น
แต่จะฝึกเอาเองก็ได้ มีหนังสือคู่มือเพื่อการนี้เพียบ อยู่ในเน็ต
และอะเมซอน.ดอท.คอม
งงตายห่า
– เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกแย่ ๆ และเป็นความรู้สึกดิบ ๆ ไม่ค่อยสุภาพดังกล่าว
จะขอยกตัวอย่างประกอบให้ดู ให้เห็นกันจะ ๆ ดังนี้
ประโยคธรรมดา : มันบ่แน่ดอกนาย
ประพจน์ : สิ่งนั้น เป็น สิ่งที่ไม่แน่นอน
ประโยคธรรมดา : มีแตด เหมือนมีตูด พูดไม่ออก
ประพจน์ 1 : ตูด เป็น อวัยวะที่พูดไม่ได้
ประพจน์ 2 : แตด เป็น เหมือนตูด
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
ง่าย
ๆ เลย – พูดแบบนี้แปลว่า กำลังจะยากล่ะซีท่า?
ง่าย ๆ เลยนะ ความจริง คือ
อะไร?
ความจริง
คือ สภาวะที่ลงรอยกับ ข้อเท็จจริง
truth ß---- สภาวะที่ลงรอยกับ
----à facts
งงตายห่า
- ยกตัวอย่างดีกว่า เพื่อเลี่ยงความรู้สึกติดลบ
และเพื่อเนรมิตความรู้สึกเชิงบวก
truth : วันนี้
เป็นวันที่อากาศร้อน
facts : อุณหภูมิสูงผิดปกติ(วัดด้วยเธอร์โมมิเตอร์
- เครื่องวัดอุณหภูมิ)
truth : คุณขุนขึ้นเขาฯ
เป็นคนสุขภาพไม่ดี
facts : วันก่อนหมอตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย
ก่อนที่
ลูกหมากของแกจะแตก
ยกสองตัวอย่างพอ
ยกมากไปเดี๋ยวผิด
ข้ออ้างต่าง
ๆ ที่เป็นจริง จะถูกยกขึ้นมา เพื่อสนับสนุนข้อสรุปในบั้นปลาย ความจริง ที่ปรากฏอยู่ในข้ออ้าง(premise)ทั้งหลาย จะถูกอนุรักษ์หรือเก็บรักษาไว้ในข้อสรุป(conclusion) ซึ่งจะตามข้ออ้างมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แบบนี้เรียกว่าเป็นการให้เหตุผลที่
สมบูรณ์(sound)
ภาษาตรรกะ ท่านว่า
ข้อสรุปย่อม ตาม ข้ออ้างมา โดยจำเป็น คือว่าข้อสรุปจะเฉไฉเป็นอื่นไปไม่ได้
ท่านว่า
การให้เหตุผลสไตล์นี้มีลักษณะเป็น “truth preserving” หรือเป็นสไตล์ อนุรักษ์/เก็บรักษาไว้ ซึ่งความจริง โดยที่ความจริงปรากฏและเก็บอยู่ในข้ออ้าง(ทั้งหลาย)
ความจริงนั้นก็ถูกถ่ายมาอยู่ในข้อสรุป ถ้าข้ออ้างจริง
ข้อสรุปจะจริงด้วย เป็นอื่น(เป็นเท็จ)ไปไม่ได้
โห
ซีเรียสขนาดนั้นเลย?
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
ที่ไม่เข้มงวดถึงขนาดนั้น
ก็มีครับ
คุณขุนเขาฯ
ท่านบอกเราว่า “เราต้องแยกให้ดีว่า ในคำวิจารณ์นั้น มันเป็น truth......อัตราส่วนเท่าไหร่?”
ท่านคงจะหมายความว่า
ถ้าในข้ออ้างก็ดี ข้อสรุปก็ดี เป็นเท็จมั่งจริงมั่วปนกันอยู่
ท่านแนะนำให้แยกให้ดีว่า การใช้ภาษาวิพากษ์วิจารณ์ เช่นสมมติว่า
วิจารณ์การวิจารณ์ของคุณเดฟนั้น เป็นความจริงอยู่มากน้อยเพียงใด ท่านใช้คำว่า “อัตราส่วน
เท่าไหร่?”
ซึ่งอัตราส่วนที่นิยมใช้กันมากในโลก
คือ “อัตราส่วนร้อยละ” หรือ percentage ถ้ามีความจริงปนอยู่ร้อยละ
90 ก็ถือว่าสูง ถ้ามีความจริงอยู่แค่ 30% ก็ถือว่าต่ำ
เป็นต้น
การให้เหตุผลหรือการวิจารณ์ที่เราพิจารณาด้วยการเล็งไปที่ อัตราส่วนของความจริงที่อาจจะเป็นไปได้
เรากำลังประเมินความ “น่าเชื่อถือ”
ของคำวิจารณ์ ว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน จะเป็นไปได้สักมากน้อยเพียงใด
ในอัตราส่วนเท่าไหร เรา(--ที่จริงคือ
คุณขุนเขาฯ) ไม่ได้กะเกณฑ์บังคับว่า จะต้องจริง 100%
งงตายห่า
– ยกตัวอย่างดีกว่า
truth : คุณขึ้นเขา
เป็นคนสุขภาพไม่ดี
facts : วันก่อนหมอตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย
โอกาสที่ลูกหมากของแกจะแตกภายในห้าวันเจ็ดวัน
สูงเท่ากับเป็น 75% ของกรณีตัวอย่างที่พบในประเทศไทย
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
สไตล์การให้เหตุผล
หรืออ้างเหตุผล สไตล์ที่คุณขุนเขาฯแนะนำ - ไม่ใช่ขี้ ๆ นะ แต่ใช้กันทั่วและไม่ใช่เฉพาะวงวรรณกรรม
แต่มีใช้ใน วงการวินิจฉัยโรค วงการช่างซ่อมแอร์ วงการเล่นหุ้น วงการพยากรณ์และคาดการณ์บางประเภท
ฯลฯ ความจริง ที่ปรากฏอยู่ในข้ออ้าง(premise) ทั้งหลาย
ไม่ได้ ถูกอนุรักษ์หรือเก็บรักษาไว้ในข้อสรุป(conclusion) เต็ม 100% แต่ข้อสรุป จะตามข้ออ้างมาแบบ น่าจะเป็น
เช่น เป็นอัตราส่วนร้อยละเท่านั้นเท่านี้ แบบนี้จะถูกเรียกว่าเป็นการให้เหตุผลที่
น่าเชื่อถือ(strong and convincing) ที่จริงท่านมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า cogent
= น่าเชื่อถือ (คือ ถ้า-มีข้ออ้างที่เป็นจริง
แต่ข้อสรุปไม่ได้ตามมาจากข้ออ้างเต็มร้อย ทว่าตามมาในอัตราส่วนที่สูง)
คำนั้นอ่านว่า “โค-เจ้น”
งงตายห่า
– ดูตัวอย่างดีกว่า เช่น
1.ผลการวิจัยทางแพทย์พบว่า 75%ของคนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้ายที่พบในประเทศไทย
ลูกหมากจะแตกภายในห้าวันเจ็ดวัน
2.คุณขึ้นเขา เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย
3.สรุป เพราะฉะนั้น
โอกาสที่ต่อมลูกหมากของแกจะแตกภายในห้าวันเจ็ดวัน มีความ น่าจะเป็นไปได้
สูง (คือ 75%)
การให้เหตุผลสไตล์นี้ท่านเรียกว่า
inductive
argument – การอ้างเหตุผลหรือให้เหตุผลหรือแสดงเหตุผล(argument)แบบ อุปนัย
ส่วนสไตล์แรกที่เราคุยกันนั้น เป็นการอ้างเหตุผลชนิด deductive
argument – การอ้างเหตุผลแบบ นิรนัย
ซึ่งความจริงในข้ออ้างจะถูกอนุรักษ์อยู่ในข้อสรุปแบบเต็มร้อย
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
โชคดีโดยไม่รู้ตัว
เป็นของท่านผู้อ่านที่น่ารักหลาย ๆ ท่าน
เพราะว่า
สไตล์การคิดหาเหตุผลทั้งทางวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ ในโลก
สุริยจักรวาล และกาแล็กซีทางช้างเผือก เข้าใจกันและรู้กันบนโลกมนุษย์ว่า
มีสองสไตล์ใหญ่ ๆ นี้เท่านั้น คือคิดหาเหตุผลแบบ นิรนัย กับคิดหาเหตุผลแบบ อุปนัย
เช่น
เรื่องการหาความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุ ว่าอะไรมันเป็นเหตุให้เกิดผลเช่นนั้นเช่นนี้
เป็นการคิดหาเหตุผล ที่มนุษย์รู้จักคิดมาก่อนวิชาตรรกวิทยาจะเกิด
รู้จักคิดมาเป็นหมื่นปีแล้ว เข้าใจว่ามันจะเป็นพันธุกรรมของคน
ที่เซลสมองถูกสร้างมาให้มีเครือข่าย(network)ประเภทนี้ตามธรรมชาติ คนดึกดำบรรพ์ท่านจึงได้คิดหาเหตุ ที่ทำให้เกิดผล
ด้วยวิธีการคิดหาเหตุผลแบบ อุปนัย
ดีใจเบ็ดเตล็ด(เล็ก
ๆ) ที่เราได้รู้ความจริงข้อนี้.....
อ่านต่อไปอีกหน่อย
อาจจะเสียใจก็ได้ ใครจะรู้.....มันบ่แน่ดอกนาย ถ้าไม่อยากเสี่ยงเสียใจ
ก็ให้หยุดอ่านเพียงแค่นี้ บลอกนี้พูดอะไรตรง ๆ บอกไว้ก่อน ขี้ก็บอกว่าขี้
เยี่ยวบอกเยี่ยว อ่านต่อไปอาจโดนผีบิดใส้ก็ได้ แต่ว่าบิดแบบหยอก ๆ
ไม่ใช่บิดให้ใส้ขาด
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
วิจารณ์ตัวอย่างประกอบ
ของ คุณขุนเขาฯ ซึ่งยกตัวอย่างการให้เหตุผลสไตล์อุปนัยว่า ถ้ามีคนมาวิจารณ์เราว่า “เนี่ย
อ้วนมากเลย”
ท่านกำลังพุ่งประเด็น
ให้เราพิจารณาความน่าเชื่อถือ(cogency)ของคำวิจารณ์
การศึกษาภาษามนุษย์
ทำให้เรารู้ตัวพวกเรากันเองว่า
เราใช้วิธีพูดจาแสดงเหตุผล(ทั้งอุปนัยและนิรนัย)กันอย่างย่อ ๆ สั้น ๆ
พอให้ได้ใจความ พอเพียงที่จะเข้าใจซึ่งกันและกัน
เราไม่ใช่นักศึกษาตรรกวิทยาที่จะต้องพูดจาตอแหลเรียงข้ออ้างข้อสรุป
บ้าเปล่า – เราไม่ใช่พวกศีรษะแพทย์(พวกหัวหมอ - หมายถึงหมอความ
ไม่ใช่หมอโรงพยาบาล)
วิชาภาษาศาสตร์ท่านบอกว่า
มนุษย์นิยมพูดจาสื่อความกันโดยมี “presupposition” คือ ใจความที่ละเว้นไว้ ฐานที่เข้าใจ ซึ่งบางครั้งกลับชวนให้เข้าใจผิด
และวิชาตรรกวิทยาก็เข้ามาแทรกว่า ในการพูดจาแสดงเหตุผลก็เหมือนกัน
มนุษย์ชอบที่จะพูดย่อ ๆ โดย “ละไว้ “ ซึ่งบางส่วน
บางใจความ.....ทำให้การแสดงเหตุผล น่าข้องใจ อยู่บ่อย ๆ
ยกตัวอย่าง
ตามวีดีโอของคุณขุนเขาฯ เช่นคำวิจารณ์ที่ว่า “เนี่ย อ้วนมากเลย”
แปลว่าอะไร
กูไม่ได้อ้วนซะหน่อย คนอื่นอ้วนกว่ากูเยอะแยะ
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
“เนี่ย
อ้วนมากเลย”
เป็นการแสดงเหตุผลชนิดย่อ ที่มีประโยคเดียว (หรือ ประพจน์เดียว)
ประโยคนี้อาจเป็น ข้ออ้าง หรือ ข้อสรุป ก็อาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่าง
เราต้องพิจารณาดู
พิจารณาอย่างไร?
ข้อความที่ถูกละเว้นไว้ คือ อะไร? งงตายห่า.....
ขั้นแรก.
ผู้เขียนใช้วิธีมองหา พจน์ หรือ term ซึ่งเราก็จะได้คำว่า เธอ กับ คนอ้วน โดยที่ พจน์ หรือ term หมายถึง
ประเภทหรือชนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่บวกกันได้และลบกันได้
(แต่คูณกับหารไม่เกี่ยว) - ขออภัย
นี่เป็นการพยายามทำความเข้าใจเรื่อง พจน์ หรือ เทอม ของผู้เขียนบลอคนี้
ซึ่งไม่ใช่คนสายวิทยาศาสตร์ เป็นคนสายอักษรศาสตร์
เคยเห็นคนสายวิทย์
ท่านทำความเข้าใจเรื่อง พจน์หรือเทอม ง่าย ๆ ผ่านวิชาพีชคณิต
ซึ่งเครื่องหมายบวกกับลบ แยกเทอมออกจากกัน ส่วนคูณกับหาร ไม่เกี่ยว
คนสายอักษรฯ
เราไม่เรียนหรอก พิชคณิต งงตายห่า..... แต่เราต้องทำความเข้าใจกับ
พจน์หรือเทอม เพราะเราต้องเรียน ตรรกวิทยา
อันเป็นวิชาที่ช่วยให้พวกเรารอดตัวกันมาได้ ไม่โดนคนทั้งหลาย จัดประเภทพวกเรา
ไปอยู่ปนกับพวก “ไสยศาสตร์”
แบบที่เขาเอามาเขียนเป็นวงกลม
แทนประเภทหรือชนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อศึกษาตรรกวิทยาเช่น วงกลม A (พจน์ A) กับ วงกลม B (พจน์ B)
เป็นต้น โดยสำหรับกรณีของเรา วงกลม A คือ เธอ
ส่วนวงกลม B คือ
คนอ้วน
เนี่ย
หมายถึง เธอเนี่ย ได้คำ(สรรพนาม)
แทนประเภทหรือชนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาหนึ่งคำ คือพจน์ หรือเทอม ที่ว่า เธอ
ส่วน
อ้วนมากเลย ได้พจน์หรือเทอม คือ คนอ้วน
คำวิจารณ์ย่อ
ๆ ที่ว่า “เนี่ย อ้วนมากเลย”
ก็จะเขียนรูปวงกลมได้ว่า
|
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
“ปลาหมึกยักษ์ตัวหนึ่ง
ขึ้นมาจากทะเล แล้วเดินตรงมาที่คลินิกระบบทางเดินหายใจโรงพยาบาลหลังสวน
ระหว่างนั้นมันก็ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด ครุ่นคิดเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของไอน์สไตน์”
ถ้าหากท่านผู้อ่าน
เป็นคนสติไม่วิปลาส ท่านปกติดีมาตลอดจนถึงขณะที่กำลังอ่านอยู่นี้ ก็แปลว่าท่านไม่เคยคิดเรื่องข้างบนนั้นมาก่อนเลย
ผู้เขียนบลอคนี้ต่างหาก ที่เป็นคนทำให้ท่านคิดขึ้นมา ด้วยการใช้ภาษา
เห็นมั๊ยว่า
การใช้ภาษามีอิทธิพลแค่ไหน?
แทรกขำขันมาแก้เครียดครับ
เอ๊า ว่ากันต่อไป.....
ขั้นที่สอง.
ขีดความสามารถในการใช้ภาษาของคน เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ที่สัตว์อื่นสู้ไม่ได้
คำพูดที่ว่า “เธอเนี่ย อ้วนมากเลย” ฟังแล้วน่าจะเป็นข้อสรุป
บริบทแวดล้อมของคำพูดส่อไปในทางนั้น เพราะมีความข้างหน้า ความตามหลัง
ที่ช่วยกันสนับสนุนไปแนวนั้น
รูปแบบมาตรฐานของการให้เหตุผล
(เต็มรูปไม่ได้ “ละ” ข้อความใด)
ข้ออ้างที่ 1. คนทั้งหมด เป็น สิ่งต้องตาย
ข้ออ้างที่ 2. โสคราติส เป็น คน
ข้อสรุป เพราะฉะนั้น โสคราติส เป็น สิ่งต้องตาย
ทั้งหมดนั้น
มีพจน์ 3 พจน์ คือ 1.คน 2.สิ่งต้องตาย และ 3.โสคราติส
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
ขั้นที่สาม.
เรานำตัวอย่างคำวิจารณ์ ที่คุณขุนเขาฯ ยกขึ้นมาให้เราฟัง
มาเรียบเรียงเป็นภาษาตรรกะเต็มรูป น่าจะได้ว่า
ข้ออ้างที่ 1. คนทั้งหมดที่วิเคราะห์รูปร่างแล้วพบว่ามีน้ำหนักเกินส่วน เป็น
คนอ้วน
ข้ออ้างที่ 2. เธอ เป็น คนมีน้ำหนักเกินส่วน
ข้อสรุป เพราะฉะนั้น เธอ เป็น คนอ้วน
มี
3 พจน์ คือ 1.คนมีน้ำหนักเกินส่วน 2.คนอ้วน 3.เธอ
คุณขุนเขาฯ
ตั้งโจทย์ย่อ ที่มี 2 พจน์ คือ คนอ้วน กับ เธอ
โดยที่
เธอ เป็น พจน์หลัก ส่วน พจน์รอง
คือ คนอ้วน
การแก้โจทย์ของเรา
คือ เราจะหาพจน์ที่ 3. คือ “พจน์กลาง” – อันจะมาช่วยในกระบวนการอนุมานหาเหตุผลของเรา
พจน์กลางทำหน้าที่เป็น ตัวกลาง ที่จะชี้ให้เห็น ความสัมพันธ์ระหว่าง
พจน์หลัก กับ พจน์รอง
การสร้างพจน์กลางของเรา
เราจะต้องสร้างพจน์กลางขึ้นจากบริบทเรื่องที่กำลังพูดกันอยู่นั้น
ความสามารถในการใช้ภาษาระดับธรรมดา ช่วยคนเรื่องนี้ได้
ไม่ต้องมีความสามารถพิเศษอะไร
กรณีนี้
เราสร้างพจน์กลางว่า “คนมีน้ำหนักเกินส่วน”
คำที่เขาวิจารณ์เรา
พูดมาย่อ ๆ เพียงข้อสรุป “เธอเนี่ย อ้วนมากเลย” ครั้นเราได้พจน์ 3 พจน์แล้ว
เราก็หาข้ออ้างหลัก(ข้ออ้างที่ 1.) และข้ออ้างรอง(ข้ออ้างที่ 2.)ได้
ดังแสดงไว้ข้างต้น
[ยังมีต่อ ว่าง ๆ โปรดเคาะเข้ามาเช็คดู – ขอบคุณครับ]
ขั้นที่สี่.
สร้างข้ออ้างหลัก ข้ออ้างรอง และข้อสรุป
ข้ออ้างหลัก. คนทั้งหมดที่วิเคราะห์รูปร่างแล้วพบว่ามีน้ำหนักเกินส่วน เป็น คนอ้วน
ข้ออ้างรอง. เธอ เป็น คนมีน้ำหนักเกินส่วน
ข้อสรุป เพราะฉะนั้น เธอ เป็น คนอ้วน
จบแล้วครับ
ที่จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องหญ้าปากคอก ไม่น่าที่จะนำมาเขียนเรี่ยราด ใคร ๆ ก็รู้ ๆ
และเข้าใจกันดีอยู่แล้ว ดันเอามาร่ายยาวยืดยาด มากมายก่ายกอง งงตายห่า.....
อย่างไรก็ดี
ขอบคุณที่ท่านหลงอ่านจนจบ
เดฟ นาพญา
(aka ปรีชา ทิวะหุต)
อ.หลังสวน จ.ชุมพร
หมายเหตุ - aka = also known as
อ.หลังสวน จ.ชุมพร
หมายเหตุ - aka = also known as
คอมเม้นต์ : ถ้าคนถูกวิจารณ์ เป็นชื่อจริงนามสกุลจริง
คนวิจารณ์ ก็ต้องใช้ชื่อจริงนามสกุลจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น