open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นำเที่ยว เขาสง ทิวเขายาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เขาสง ไม่ใช่ เขาสก-ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติบริเวณเขื่อนเชี่ยวหลาน
(รัชชประภา)

แต่เขาสง เป็นทิวเขายาวหลายกิโลเมตร ขนานไปกับทางรถไฟสายใต้ระหว่างสถานีท่าชนะ เรื่อยลงใต้ไปทางสถานีเขาพนมแบก หัวเขาที่ท่านเห็นอยู่ไกล ๆ ด้านขวามือในวีดีโอ คือ หัวเขาสง ในอำเภอท่าชนะ




การสร้างทางรถไฟสายใต้นั้น ไม่ใช่เรื่องซื่อ ๆ ตรงไปตรงมา แต่เป็นตัวอย่างที่ดี ถ้าใครอยากจะศึกษาภาคสนาม เป็นกรณีศึกษา(case study)เกี่ยวกับการแผ่อำนาจอิทธิพล ของนักล่าอาณานิคม นักเลงโต สมัยก่อน อันได้แก่ อังกฤษ  บทเรียนเรื่องนี้ยังคงใช้ได้ดีสำหรับอนาคต...แม้นักเลงโต จะเปลี่ยนตัว

การศึกษากรณีนี้ละเอียด อาจทำให้เราเห็นใจญี่ปุ่นสมัยนั้นมากขึ้น ว่าทำไมญี่ปุ่นจึงลุกขึ้นมาไล่ฝรั่งไปจากแหลมมลายู...

รถไฟสายใต้ไม่ได้สร้างตรงจากกรุงเทพฯลงไป มีบางส่วนสร้างขึ้นมาจากข้างใต้ ซึ่งสมัยนั้น ไทรบุรี(เคดาห์ ในปัจจุบัน)ยังขึ้นกับไทย ผมมีมิตรอาวุโส เป็นคนไทยที่ตกค้างอยู่ที่ไทรบุรี ปัจจุบันท่านถือสัญชาติมาเลเซีย และรับราชการงานวิชาการกับรัฐบาลมาเลเซีย เมื่อไม่กี่ปีนี้ยังได้เจอกันเลย

คนไทยพวกนี้ไม่เกี่ยวกับคนไทยในหมู่บ้านคนไทยสองสามหมู่บ้านในรัฐกลันตัน ซึ่งถูกเทครัวมาจากเชียงรุ่ง ถ้าจำไม่ผิด ผมเคยไปเที่ยวมาสองครั้ง ไปที่เมืองหลวงของกลันตัน คือ โกตาบารู แล้วนั่งรถเมล์ไป  โกตาบารู แปลว่า โกตา=ในเมือง หรือเมือง บารู=ใหม่  โกตาบารู คือ เมืองใหม่





กลันตัน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของมาเลย์เซีย เหนือขึ้นมาจาก ปะหัง ที่ถือกันว่า เป็นมาเลเซี้ย-มาเลเซีย ที่สุดในบรรดารัฐมาเลย์ทั้งหลาย โปรดสังเกตว่า ทีมตะกร้อระดับชาติของมาเลเซีย จะมาจาก รัฐปะหัง

การสร้างทางรถไฟสายใต้ช่วง สถานีชุมพร ไปจังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงตอนที่เกี่ยวกับบ้านผม และเขาสง คือช่วงสถานีชุมพร ไป สถานีบ้านนาเดิม(ปัจจุบัน ท่านตัดคำว่า "เดิม" ออก เหลือแค่ สถานีบ้านนา อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี) ช่วงนี้เริ่มสร้าง ปีพ.ศ. 2453

เส้นทางเฉียดผ่านหัวเขาสง ชนิดเกือบจะเอื้อมมือไปแตะภูเขาได้ ถ้าไม่กลัวมือหัก โปรดชมในวีดีโอ จะเห็นหัวเขาเป็นหน้าผาหินปูน สูงชัน อยู่ใกล้ ๆ เส้นทางรถไฟ และเห็นทิวเขายาวเหยียดลงใต้หลายกิโล

เมื่อไม่นานมานี้เอง ท่านจะยังเห็นร่องรอยทางรถไฟเก่า ตรงไปยังเขาสง เพื่อขนหินที่ระเบิดแล้ว มาถมทำทางรถไฟช่วงนี้ 

อนึ่ง การสร้างทางรถไฟสายใต้ น่าจะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ สำหรับผู้ที่ศึกษาขั้นสูง เกี่ยวกับเอเซียอาคเนย์ในมหาวิทยาลัยอังกฤษ เช่น ที่เคมบริดจ์  จะได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลซึ่งปัจจุบันเปิดเผยหมดแล้ว แหล่งข้อมูลอาณานิคมที่สำคัญแหล่งหนึ่ง อยู่ที่กัลกัตตา นะจ้ะ ปัจจุบันอินเดียเป็นผู้ดูแลแหล่งข้อมูลดังกล่าว 

กัลกัตตา เป็น เมืองหลวงของอาณานิคมอังกฤษ มายาวนาน  ส่วนเดลลี เป็นเมืองหลวงระยะหลัง ๆ ก่อนได้รับเอกราชสามสิบกว่าปี  ในอดีตมีการเดินรถไฟด่วนเดลลี-กัลกัตตา ที่เรียกว่า ขบวนรถไฟ "ราชธานี" ซึ่งยังคงอยู่จนทุกวันนี้ และคำว่า "ราชธานี" ได้กลายพันธ์ุเป็นชื่อรถด่วน ที่เชื่อมเมืองหลวงของทุกรัฐ เข้ากับกรุงนิว เดลลี

วิดีโอ ขบวนรถด่วน เฮาราห์ ราชธานี (เชื่อม กรุงเดลลี กับ กัลกัตตา) ในปัจจุบัน




หมายเหตุ - คนที่ยืนอยู่ข้างทางรถไฟ แบกเป้ สวมเสื้อตาสก็อต ในช่วงท้ายวีดีโอ
ไม่ใช่ผมนะครับ อย่าเข้าใจผิด...







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น