open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กงแซ ของอนุษกา ที่เมืองลิย็ง

สมัยที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศสใหม่ ๆ เพื่อนบอกว่า วันนี้มี “กงแซ” จะไปชมไหม? โสตประสาทยังไม่คุ้นกับภาษาฝรั่งเศส  จึงย้อนถามไปว่า มีอะไรนะ  ถึงได้รู้ว่าเขามี “คอนเสิร์ต”

ใหม่ ๆ อีกเหมือนกันนักเรียนไทยอายุน้อยกว่า แต่อยู่ฝรั่งเศสมาก่อน เวียนมาอำว่า

          “พี่ ๆ ฝรั่งคนนั้น มันถามผมว่า ฟัก แล็ตอยู่ไหน?”

เขาพยายามเน้นคำว่า “ฟัก” ที่ไม่ได้หมายถึง ฟักแฟงแตงกวา แต่เป็นคำหยาบในภาษาอังกฤษ หมายถึง กิจกรรมเพศสัมพันธ์ สะกดว่า “FUCK”  อย่างไรในมหาวิทยาลัยฝรั่งเศส คำว่า ฟัก มาจาก fac ที่แปลว่า “คณะ”  คำว่า ฟัก แล็ต จึงหมายถึงคณะอักษรศาสตร์  เทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คือ Faculty of Letters

โพสต์นี้ เชิญชวนท่านมิตรรักนักเพลงและแฟน ๆ ฟัง “กงแซ” ของ อนุษกา ศังกร ที่แสดงที่เมืองลิย็ง ประเทศฝรั่งเศส




ชื่อของนักดนตรีคลาสสิคภารตะผู้นี้ เขียนว่า अनुष्का शंकर อ่านว่า อะ-นุ-ช-กา  ชัง-ก-ระ  หรืออ่านแบบไทย โดยเทียบอักขระจากเทวนาครี ว่า อนุษกา ศังกร

คุณพ่อของเธอ คือ रवि शंकर ซึ่งคนไทยหลายคนเรียกชื่อเขาตามฝรั่งว่า ราวี แชงการ์  แต่ถ้าอ่านเทียบอักขระเทวนาครีเป็นไทย ก็จะออกเสียงได้ว่า รวิ ศังกร ศิลปินผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกในการนำดนตรีคลาสสิคของภารตะ ไปสู่มิตรรักนัก(ฟัง)เพลงตะวันตกและตะวันออกนอกอินเดีย ตั้งแต่ยังฟังกันในหมู่ผู้ฟังชายขอบ(MARGINAL LISTENERS) จนกระทั่งได้เข้ามาสู่สายทางหลัก(main stream) ในปัจจุบัน

ตามประวัติเล่าว่า อนุษกา ศังกร ไม่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยเพราะต้องการทุ่มเทให้กับ
การเรียน ดนตรีคลาสสิคของอินเดียอย่างเดียว ซึ่งก็คือการเล่นพิณ सितार หรือ สิ ตาร์ 
ชื่อนี้หมายถึงพิณสามสาย แต่โดยทางปฏิบัติอาจมีสายได้ถึงเจ็ดสาย ผิดกับซอสามสายของ
ดนตรีไทย ที่จะมีได้แค่สามสายตามชื่อเท่านั้น
 
กงแซ ของ อนุษกา ทีเมืองลิย็ง ครั้งนี้น่าสนใจเป็นพิเศษตรงที่ตามประวัตินั้น เมื่อแรก 
รวิ ศังกร นำพิณสิตาร์มาเล่นในตะวันตก เขามาเปิดเวทีที่ฝรั่งเศสก่อน ก่อนที่จะไปเล่นให้
พวกฮิปปีฟังในคาลิฟฟอเนียร์ สหรัฐอเมริกา และโด่งดังในภายหลัง  อนุษกา พูดภาษา
ฝรั่งเศสได้ดังเธอจะได้พูดให้เราฟังระหว่างการแสดง กงแซ
 
เวลานี้ วัฒนธรรมฮิสปานิค หรือวัฒนธรรมสเปนมีความสำคัญขึ้นในสหรัฐฯ เพราะคนพูด
สเปนในสหรัฐฯมีจำนวนมาก ประเด็นเกี่ยวกับชุมชนฮิสปานิคได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งใน
ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน 2559 นี้
 
กงแซ ครั้งนี้มีฟลาเมงโกมาผสมผสาน ซึ่งทำให้มีรสชาติแปลกประหลาดสำหรับมิตรรัก
นักเพลงทั้งหลาย ฟลาเมงโกที่นำมาร้องกัน บางเพลงเก่าแก่นับร้อย ๆ ปี เช่น เพลง 
Si no puede verla. ภาษาสเปนอ่านว่า“ซิ โน ปวย เด แว ลา” หรือ “ถ้า ฉัน ไม่ ได้ พบ เธอ”  
ที่เวลาวีดีโอประมาณ 10:30 เพลงนี้นำมาจากบทกวีของอิสลามิก นิกายซุฟฟี สมัยโบราณ 
(ฟังจากที่อนุษกา ประกาศ ซึ่งเธอไม่ได้พูดคำว่า อิสลามิก ผู้เขียนเติมเอาเอง เธอพูดเพียง
ว่าเป็นกวีชาวซุฟฟี)
 
พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ศัพท์ภาษาสเปนที่ได้ยินบ่อย ๆ ในเนื้อเพลง ตลอดการแสดงกงแซ 
คือคำว่า “ไบ ลา”(bailar) กับคำว่า “ไบ ลัน โด”(bailando) ซึ่งเป็น present participle 
ทั้งสองคำนี้หมายถึง การร้องรำทำเพลง
 
และนั่นก็คือ แนว หรือ theme ของ กงแซ อนุษกาประกาศแต่ต้นเลยว่า จะเป็นกงแซ
ที่ว่าด้วยการร้องรำทำเพลง
 
แต่สำหรับบางท่าน อาจเห็นก็ได้ว่า เป็นการร่ายเวทย์ สวดมนตร์ อ้อนวอน และบูชาเทพเจ้า
บนสรวงสวรรค์ ไม่ใช่เป็นการบันเทิงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเมื่อจบ กงแซ บางคนอาจรู้สึกราว
กับได้ฟังธรรม  การมาฟังดนตรีเท่ากับมาฟังธรรม...
 
ธัมมัส สวนะ กาโล อยัมภทันตา...
 

ผู้เขียนเห็นว่า วงกระจิดริด และคุณอินทัช ตลอดจนแฟนเพลงของเขา น่าที่จะได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ไม่มากก็น้อย จากกงแซครั้งนี้ เกี่ยวกับการนำดนตรีไทยออกไปสู่วงผู้ฟังที่กว้างขึ้น...


------------------------------------------------------------------
สนใจอ่าน วิจารณ์วงกระจิดริด เชิญตามลิงก์
https://pricha123.blogspot.com/2016/09/blog-post_18.html


 

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

I’m no hengsuai-hengsuai professor of American history.

The name of Mr.Donald Trump had been attached at the Open Letter, posted on June 16, (BE 2559) 2016 as a tease, for good reason; so that I could say today November 30, 1916 that I know America and the American people far better than that professor Thongchai Winichakul knows Thailand and her people.

 

Nevertheless, I am no Hengsuai-hengsuai professor of American history at any Thai university.

Some years ago, about twelve years ago, I accompanied my then boss to see Mr.Trump in his New York office, on businesss. Of course, we only met with one of his managers, a great lady. The visit had been friendly and the business well taken care of. So, Mr. President Trump, you have a friend here in Chumphon province, Thailand.

Welcome to Chumphon, Mr.President Donald Trump!


Dan Baile
หลังสวน
ชุมพร

Nov 30, 16


---------------------------------------------------------------------

ลิงก์ที่อาจจะเกี่ยวข้อง possibly, related links


An Open Letter to French Ambassador to Thailand
จดหมายเปิดผนึก ถึงทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
วิจารณ์การอภิปรายของ รองศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

วิทยานิพนธ์ ของ นิตี๋ เอี่ยวหีนวงศ์
A critique of Professor Thongchai Winichakul’s quote

วิจารณ์คำพูดของ ศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล

I’m no hengsuai-hengsuai professor of American history.

วิจารณ์ มุกหอม วงศ์เทศ "มุสาแต่โดยเดา" ?


วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เทวรูปพระนารายณ์ นครศรีธรรมราช

เทวรูป พระนารายณ์
จังหวัดนครศรีธรรมราช
-      บทความในชุด “แผ่นดินใต้
เมื่อ 1 พันปีก่อน สุโขทัย”








พระนารายณ์รูปนี้ มีอายุประมาณหนึ่งพันปีก่อนกรุงสุโขทัย  พบที่นครศรีธรรมราช นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ เห็นว่าเป็นรุ่นเดียวกับพระนารายณ์ ที่พบที่วัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังได้เคยนำเสนอท่านผู้อ่านไปก่อนแล้ว  ซึ่งก็หมายความว่า เป็นสกุลศิลป์จากลุ่มแม่น้ำกฤษณา เช่นเดียวกัน แต่ว่า งานสร้างนั้นทำขึ้นในพื้นที่ภาคใต้เอง

เทวรูปพระนารายณ์รูปนี้ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ถูกจัดว่างไว้โดดเด่นดังภาพ(สี)





และยังมีเทวรูปพระนารายณ์อีกองค์หนึ่ง พบที่วัดพระเพลิง อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ลักษณะการปั้น(แกะสลัก)เช่นเดียวกับสองรูปนี้

สิ่งที่ผู้เขียนจะสรุป จากเทวรูปเหล่านี้ก็คือ แนวคิดหรือคติพราหมณ์เรื่อง พระนารายณ์เป็นใหญ่ หรือ ไวษณพนิกายในศาสนาพราห์มณ์ (อ่านว่า ไว-สะ-นบ นิกาย) ภาษาสันสกฤตเขียนด้วยอักขระเทวนาครีว่า  वैष्णववाद  อ่านว่า ไว-ชะ-นาบ-วาด โดยที่เสียง น. นั้นเป็นเสียง น.ขึ้นจมูกหรือ ณ.เณร


นอกจากเทวรูปพระนารายณ์ ที่พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับที่จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าพบเทวรูปศิลปะชนิดเดียวกันนี้ ที่มีอายุประมาณหนึ่งพันปีก่อนสุโขทัย ที่ไหนอีกในประเทศไทย

เทวรูปเหล่านี้ นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเห็นเป็นที่ยุติว่า ได้รับอิทธิพลศิลปะสกุลอมราวดี จากลุ่มแม่น้ำกฤษณา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย (อยู่ใกล้กับแม่น้ำโคทา-วารี)



เทวรูปเหล่านี้ แสดงถึงคติความเชื่อเรื่องพระนารายณ์เป็นใหญ่ (ไม่ได้เชื่อว่า พระศิวะเป็นใหญ่) ซึ่งกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะองค์สำคัญ อันได้แก่ พระเจ้าจันทรคุปตะที่สอง เคารพนับถือ  และกษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะส่วนมากก็จะนับถือศาสนาพราห์มณ์นิกายนี้  พระเจ้าจันทรคุปตะที่สอง ครองราชย์ ประมาณค.ศ. 380-415 มีพระนามอีกนามหนึ่งว่า “จันทรคุปตะ วิกรมาทิตย์”( चंद्रगुप्त विक्रमादित्य )

 

แนวคิดดังกล่าวสนับสนุนปรัชญาการเมืองแนว “ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น”  คือ สนับสนุนระบอบราชาธิปไตย  ตามความเชื่อที่ว่า พระนารายณ์(หรือ พระกฤษณะ หรือพระวิษณุ)จะอวตารของมาเป็นผู้ปกครอง การอวตารที่มีชื่อเสียง คืออวตารเป็น พระราม ในเรื่องรามเกียรติ

 

พาหนะของพระนารายณ์ คือ ครุฑ(गरुड) เพราะฉะนั้น ครุฑจึงศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย และได้กลายเป็นตราแผ่นดินของประเทศไทย และประเทศอินโดเนเซีย ในเวลาต่อมา  ซึ่งราชวงศ์ชวาสมัยโบราณได้รับนับถือเรื่องพระนารายณ์เป็นใหญ่เช่นเดียวกัน 

 

สรุปอีกทีว่า ศาสนาพราห์มณ์ลัทธิพระนารายณ์เป็นใหญ่ หรือไวษวณพนิกาย ได้เดินทางจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา เข้ามาในแผ่นดินทีเป็นประเทศไทยปัจจุบัน โดยเข้ามาอยู่ในดินแดนภาคใต้ก่อน ประมาณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลุ่มแม่น้ำตาปี และจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน  เมื่อประมาณหนึ่งพันปี ก่อนกรุงสุโขทัย ตามหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่พิสูจน์ได้ในเวลานี้ เราคงต้องเชื่ออย่างนี้ไปก่อน จนกว่าจะมีการค้นพบหลักฐานอื่นมาหักล้าง

 

 


ปรีชา
นาพญา
หลังสวน
ชุมพร

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

An open letter to all BBC listeners worldwide:

John Steinbeck criticized Mr. Jonathan Head, for his reports on Thailand.



จดหมายเปิดผนึก ถึงผู้ฟังบีบีซี ทั่วโลก: จอห์น สไตเบค วิจารณ์ การรายข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยตลอดมาของ 

นายโจนาธาน เฮด



Let Mr.John Steinbeck enjoy freedom of speech and liberty of expression as follows…

          “On the long journey doubts were often my companions.”

 But doubts had not been companions of Mr.Jonathan Head’s reporting on Thailand.

“I’ve always admired those reporters who can descend on an area, talk to key people, ask key questions,  take samplings of opinions, and then set down an orderly report very like a road map.”

Explicitly Mr.John Steinbeck described to us how Mr.Jonathan Head had worked all along. But what Mr.John Steinbeck did not reveal was that the key this and key that and key those in the practice of Mr.Jonathan Head were all sh_t keys.

“I envy this technique and at the same time do not trust it as a mirror of reality.”

However, Mr.John Steinbeck did not beat around the bush, he blamed Mr.Jonathan Head right on…

“I feel that there are too many realities. What I set down here is true until someone else passes that way and rearranged the world in his own style. In literary criticism the critic has no choice but to make over the victim of his attention into something the size and shape of himself.”

Mr.John Steinbeck comfirmed that the size and shape of Mr.Jonathan Head is small indeed, despite himself being slightly overweighted.

“And in this report I do not fool myself into thinking I am dealing with constants. A long time ago I was in the ancient city of Prague and at the same time Joseph Alsop, the justly famous critic of places and events, was there.”

Now, Mr.John Steinbeck invoked a concrete example to hit Mr.Jonathan Head hard on the head. He had named names…

“He talked to informed people, officials, ambassadors; he read reports, even the fine print and figures, while I in my slipshod manner roved about with actors, gypsies, vagabonds. Joe and I flew home to America in the same plane, and on the way he told me about Prague, and his Prague had no relation to the city I had seen and heard.”

At this point Mr.John Steinbeck cautioned me about the difference between Thailand as reported by Mr.Jonathan Head and Thailand I have lived almost all my life.

“It just wasn’t the same place, and yet each of us was honest, neither one a liar, both pretty good observers by any standard, and we brought home two cities, two truths.”

Mr.John Steinbeck was wrong here because Mr.Jonathan Head is a liar, but not me.

“For this reason I cannot commend this account as an America that you will find. So much there is to see, but our afternoon eyes and surely our wearied evening eyes can report only a weary evening world.”

I am not a truculent commentator, only a critical listerner. I can commend Mr.Jonathan Head’s reports as Thailand that you will not find outside the BBC broadcasting studio in London. It is not Thailand with her bouddhist, hindu, and syncretic cultural tradition.

“Sunday morning in a Vermont town, my last day in New England, I shaved, dressed in a suit, polished my shoes whited my sepulcher, and looked for a church to attend.”

Has Mr.Jonathan Head ever attended a church in his poor life?


                                                                             Dan Baile
บ้านนาพญา
หลังสวน
ชุมพร
November 4, 2559