open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กงแซ ของอนุษกา ที่เมืองลิย็ง

สมัยที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศสใหม่ ๆ เพื่อนบอกว่า วันนี้มี “กงแซ” จะไปชมไหม? โสตประสาทยังไม่คุ้นกับภาษาฝรั่งเศส  จึงย้อนถามไปว่า มีอะไรนะ  ถึงได้รู้ว่าเขามี “คอนเสิร์ต”

ใหม่ ๆ อีกเหมือนกันนักเรียนไทยอายุน้อยกว่า แต่อยู่ฝรั่งเศสมาก่อน เวียนมาอำว่า

          “พี่ ๆ ฝรั่งคนนั้น มันถามผมว่า ฟัก แล็ตอยู่ไหน?”

เขาพยายามเน้นคำว่า “ฟัก” ที่ไม่ได้หมายถึง ฟักแฟงแตงกวา แต่เป็นคำหยาบในภาษาอังกฤษ หมายถึง กิจกรรมเพศสัมพันธ์ สะกดว่า “FUCK”  อย่างไรในมหาวิทยาลัยฝรั่งเศส คำว่า ฟัก มาจาก fac ที่แปลว่า “คณะ”  คำว่า ฟัก แล็ต จึงหมายถึงคณะอักษรศาสตร์  เทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คือ Faculty of Letters

โพสต์นี้ เชิญชวนท่านมิตรรักนักเพลงและแฟน ๆ ฟัง “กงแซ” ของ อนุษกา ศังกร ที่แสดงที่เมืองลิย็ง ประเทศฝรั่งเศส




ชื่อของนักดนตรีคลาสสิคภารตะผู้นี้ เขียนว่า अनुष्का शंकर อ่านว่า อะ-นุ-ช-กา  ชัง-ก-ระ  หรืออ่านแบบไทย โดยเทียบอักขระจากเทวนาครี ว่า อนุษกา ศังกร

คุณพ่อของเธอ คือ रवि शंकर ซึ่งคนไทยหลายคนเรียกชื่อเขาตามฝรั่งว่า ราวี แชงการ์  แต่ถ้าอ่านเทียบอักขระเทวนาครีเป็นไทย ก็จะออกเสียงได้ว่า รวิ ศังกร ศิลปินผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกในการนำดนตรีคลาสสิคของภารตะ ไปสู่มิตรรักนัก(ฟัง)เพลงตะวันตกและตะวันออกนอกอินเดีย ตั้งแต่ยังฟังกันในหมู่ผู้ฟังชายขอบ(MARGINAL LISTENERS) จนกระทั่งได้เข้ามาสู่สายทางหลัก(main stream) ในปัจจุบัน

ตามประวัติเล่าว่า อนุษกา ศังกร ไม่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยเพราะต้องการทุ่มเทให้กับ
การเรียน ดนตรีคลาสสิคของอินเดียอย่างเดียว ซึ่งก็คือการเล่นพิณ सितार หรือ สิ ตาร์ 
ชื่อนี้หมายถึงพิณสามสาย แต่โดยทางปฏิบัติอาจมีสายได้ถึงเจ็ดสาย ผิดกับซอสามสายของ
ดนตรีไทย ที่จะมีได้แค่สามสายตามชื่อเท่านั้น
 
กงแซ ของ อนุษกา ทีเมืองลิย็ง ครั้งนี้น่าสนใจเป็นพิเศษตรงที่ตามประวัตินั้น เมื่อแรก 
รวิ ศังกร นำพิณสิตาร์มาเล่นในตะวันตก เขามาเปิดเวทีที่ฝรั่งเศสก่อน ก่อนที่จะไปเล่นให้
พวกฮิปปีฟังในคาลิฟฟอเนียร์ สหรัฐอเมริกา และโด่งดังในภายหลัง  อนุษกา พูดภาษา
ฝรั่งเศสได้ดังเธอจะได้พูดให้เราฟังระหว่างการแสดง กงแซ
 
เวลานี้ วัฒนธรรมฮิสปานิค หรือวัฒนธรรมสเปนมีความสำคัญขึ้นในสหรัฐฯ เพราะคนพูด
สเปนในสหรัฐฯมีจำนวนมาก ประเด็นเกี่ยวกับชุมชนฮิสปานิคได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งใน
ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน 2559 นี้
 
กงแซ ครั้งนี้มีฟลาเมงโกมาผสมผสาน ซึ่งทำให้มีรสชาติแปลกประหลาดสำหรับมิตรรัก
นักเพลงทั้งหลาย ฟลาเมงโกที่นำมาร้องกัน บางเพลงเก่าแก่นับร้อย ๆ ปี เช่น เพลง 
Si no puede verla. ภาษาสเปนอ่านว่า“ซิ โน ปวย เด แว ลา” หรือ “ถ้า ฉัน ไม่ ได้ พบ เธอ”  
ที่เวลาวีดีโอประมาณ 10:30 เพลงนี้นำมาจากบทกวีของอิสลามิก นิกายซุฟฟี สมัยโบราณ 
(ฟังจากที่อนุษกา ประกาศ ซึ่งเธอไม่ได้พูดคำว่า อิสลามิก ผู้เขียนเติมเอาเอง เธอพูดเพียง
ว่าเป็นกวีชาวซุฟฟี)
 
พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ศัพท์ภาษาสเปนที่ได้ยินบ่อย ๆ ในเนื้อเพลง ตลอดการแสดงกงแซ 
คือคำว่า “ไบ ลา”(bailar) กับคำว่า “ไบ ลัน โด”(bailando) ซึ่งเป็น present participle 
ทั้งสองคำนี้หมายถึง การร้องรำทำเพลง
 
และนั่นก็คือ แนว หรือ theme ของ กงแซ อนุษกาประกาศแต่ต้นเลยว่า จะเป็นกงแซ
ที่ว่าด้วยการร้องรำทำเพลง
 
แต่สำหรับบางท่าน อาจเห็นก็ได้ว่า เป็นการร่ายเวทย์ สวดมนตร์ อ้อนวอน และบูชาเทพเจ้า
บนสรวงสวรรค์ ไม่ใช่เป็นการบันเทิงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเมื่อจบ กงแซ บางคนอาจรู้สึกราว
กับได้ฟังธรรม  การมาฟังดนตรีเท่ากับมาฟังธรรม...
 
ธัมมัส สวนะ กาโล อยัมภทันตา...
 

ผู้เขียนเห็นว่า วงกระจิดริด และคุณอินทัช ตลอดจนแฟนเพลงของเขา น่าที่จะได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ไม่มากก็น้อย จากกงแซครั้งนี้ เกี่ยวกับการนำดนตรีไทยออกไปสู่วงผู้ฟังที่กว้างขึ้น...


------------------------------------------------------------------
สนใจอ่าน วิจารณ์วงกระจิดริด เชิญตามลิงก์
https://pricha123.blogspot.com/2016/09/blog-post_18.html


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น