open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

วิจารณ์ เกี่ยวกับ วงกระจิดริด แบนด์




วีเดโอ เสน่หา Ost.ลีลาวดีเพลิง cover by กระจิริดแบนด์

เหตุเพราะการถ่ายทำขาวดำก็เป็นได้ ที่ช่วยให้ผู้ฟังมีสมาธิในการฟังโดยไม่รู้ตัว และบันเทิงใจกับฝีมือการทำเพลงของศิลปิน  ผู้ชมบางคนอาจชอบคลิบนี้ เพราะเขาไม่ต้องว่อกแว่กไปกับสีเสื้อหรือเครื่องแต่งกายของนักดนตรี

“กระจิดริด”  นี่ มาจากภาษาอินโดเนเซีย หรือเรียกให้เวียนหัวว่า ภาษาตระกูลมาเลย์-อินโดฯ ในฐานะนักเรียนภาษาอินโดฯ และรักภาษาอินโดฯ กับเคยเรียนดนตรีไทยมาก่อน ผู้วิจารณ์จึงนึกขอบคุณ ชาวคณะวงดนตรีวงนี้ ที่ท่านให้เกียรติภาษาอินโดเนเซีย จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

ผู้วิจารณ์นึกเพ้อฝันไปว่า อยากจะเห็นวงกระจิดริด ที่มีชื่อภาษาอินโดเนเซียอันน่ารัก และ cute  ช่วยเล่นเพลงอินโดเนเซีย ดัง ๆ เพราะ ๆ ให้ชาวโลกฟัง สักสามเพลง คือ

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

วิจารณ์ การสัมภาษณ์ คุณอินทัช สิงหเสนี ของสถานีโทรทัศน์ ไทยรัฐทีวี cover

*การวิจารณ์ ว่าตามที่เห็นในวีดีโอ ไม่ได้เกลียดชังผู้ใด รักทุกคน เน้นอารมณ์ขันเป็นสำคัญ




โพสต์วีดีโอสัมภาษณ์  https://www.youtube.com/watch?v=qAsBCoVCulM


1)   เครื่องดนตรีคู่กาย

ที่เวลาวีดีโอ 0013 พิธีกรในชุดเสื้อผ้าสีนวล ด้านขวามือของผู้ชม บรรยายนักดนตรีให้ผู้ชมโทรทัศน์ฟังว่า เขามาพร้อมกับ “เครื่องดนตรีคู่กาย”

วิจารณ์: ผู้วิจารณ์อยากจะท้วงติง คุณพิธีกรไทยรัฐทีวี ชุดสีนวลว่า เครื่องดนตรีคู่กายของคุณอินทัช สิงหเสนี อาจจะไม่ใช่ซอนะครับ สมมติอย่างนี้แล้วกัน ติต่างว่า ผู้วิจารณ์เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ –ไม่ใช่ โทรทัศน์ไทยรัฐ ทีวี  แล้วเขียนข่าว ๆ หนึ่ง ดังนี้

“.....หลังจากที่ภรรยาผู้หึงจัด โยนเครื่องดนตรีคู่กายของนายอินทัช สิงหเสนี ที่เฉือนแล้ว ลงใต้ถุนบ้าน เป็ดตัวหนึ่งเห็นเข้า ก็ตีปีกร้องก๊าบ ๆ วิ่งมาคาบเอาไปกิน...”

เมื่ออ่านข่าวนี้ นอกจากท่านผู้อ่านบางคนจะเสียวแทนแล้ว ผู้อ่านแทบทุกคนรู้ทันทีว่า ไม่ใช่ ซอ...

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

นกแก้ว ยังพูดอาหรับ เปอร์เซีย กรีก และฮินดู ได้

นกแก้ว ยังพูดภาษาอาหรับ เปอร์เซีย กรีก และฮินดู ได้
-บทความสั้น ๆ ในชุด “แผ่นดินใต้ เมื่อ 1 พันปี ก่อนสุโขทัย”


ในหนังสือภาษาฝรั่งเศสของนายแฟรังด์ ที่ศึกษาเรื่องอาณาจักรศรีวิชัยในสุมาตรา อ้างบันทึกของนักเดินทางชาวอาหรับ ชื่อ อาบู ซาอิด ฮาซาน ชาวเมืองซีราฟ ริมอ่าวเปอร์เซีย เขียนไว้ประมาณ 300 ปีก่อนกรุงสุโขทัย เล่าถึงดินแดนบนคาบสมุทร์ภาคใต้ว่า

“.....มีคนจากทั่วโลก เดินทางผ่านไปมา จนกระทั่งแม้แต่นกแก้วที่นั่น ยังสามารถพูดภาษาอาหรับ เปอร์เซีย กรีก และฮินดู ได้”