ตอนที่ 1.
กำลังอ่าน
"Islam" ของ Bernard Lewis เวอร์ชันภาษาฝรั่งเศส
โดย สนพ.กัลลิมาร์ 1,300 หน้า อยู่ครับ
ตั้งใจว่า
เมื่ออ่านได้ทุก ๆ 1 ใน 4 ของหนังสือ คือประมาณ 325
หน้า จะเล่าความประทับใจ แบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้ฟัง(อ่าน) เป็นประเด็นเกร็ดฝอย ไม่ใช่ย่อความหนังสือ เผื่อว่า
อาจจะมีบางคน สนใจ...หนังสือเล่มนี้ดีนะ หาข้อมูลในอินเตอร์เนต ดูเด่ะ
มีหลายเวอร์ชัน(ภาษา)
แม้กระทั่ง ภาษาอิหร่าน และ ภาษาอินโดเนเซีย ก็มีด้วย เพราะคนเขียนเขาเขียน
ข้อเท็จจริง ล้วน ๆ
ยกตัวอย่างเช่น หน้านี้ อ่านแล้ว ชอบสุด ๆ
แผนที่ตะวันออกกลาง
ประกอบการอ่าน
วิธีของผู้เขียนบลอคนี้ คือ สร้างแผนที่จำลองตะวันออกกลางขึ้นมา ด้วยการวาดแผนที่ประเทศต่าง ๆ ให้อยู่ในรุปสี่เหลี่ยมทั้งหมด ทั้งนี้โดยรักษาขนาดเดิม แต่ย่อส่วนให้ใกล้เคียงความจริง
แผนที่จำลอง ดังกล่าว จะจำง่าย ดังตัวอย่างข้างล่าง
สร้างเสร็จแล้ว
ก็ถ่ายภาพแบบช้อนขึ้นข้างบน สายตาที่ช้อนขึ้นไปด้านเหนือคาบสมุทร์อาระเบีย
มองไปยังแผ่นดินตะวันออกกลางนี้ คือ
สายตาของบรรพชนมุสลิมระยะแรกเมื่อต้นศักราชอิสลาม
พวกท่านเหล่านั้นจะอยู่ค่อนลงมาทางใต้ ที่เม็กกะ และ เมดินะ
แผนที่จริง
ประเทศใหญ่
ระดับมหาอำนาจในภูมิภาค มีสามประเทศคือ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และตุรกี
ทั้งหมดนั้นคนไทยเรียก "แขก"
แต่ในความเป็นจริงพวกเขาคนละเผ่าพันธ์กัน ซาอุดิอาระเบีย-เป็นอาหรับ
อิหร่าน-เป็น ฝรั่ง คืออินโดอาระยัน คนไทยเรียกเขาว่า "แขกขาว"
ส่วนตุรกี-เป็นแขกเตอร์ก ซึ่งไม่ใช่อาหรับ และไม่ใช่ฝรั่ง(อินโดยุโรเปียน)
แต่เขามาจากเอเซียกลาง ติดชายแดนจีน
พวกอาหรับ
เด่นกว่าเพื่อนในส่วนที่เกี่ยวกับ อิสลาม โดยหลัก ๆ อาหรับ ได้แก
ซาอุดิอาระเบีย อิรัค จอร์แดน และซีเรีย (ไม่นับประเทศเล็ก ๆ) ศาสนาอิสลาม
กำเนิดในประเทศซาอุดิอาระเบีย
การอ่าน
อิสลาม ของ ลิววิส ผู้เขียนบล็อคนี้ จะเล่าประเด็นประทับใจ
ที่ตนได้พบในหนังสือเท่านั้น ไม่พูดนอกหนังสือ และจะไม่เล่าเรื่องราวประวัติอิสลามและคนมุสลิม
เพราะเรื่องนี้อิสลามิกชนผู้มีน้ำใจงาม(ขอองค์อัลเลาะห์ได้โปรดคุ้มครองพวกเขา)ได้สร้างเว็บไซด์เป็นภาษาไทย
ไว้มากแล้ว ผู้เขียนเป็นคนพุทธ และไม่ใช่ผู้รู้เรื่องอิสลาม
ไม่สามารถทำได้ดีเท่าท่านเหล่านั้น แม้เพียงกระผีกริ้น
ประเด็นที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง
จะยกข้อความในต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ขึ้นอ้างอิงด้วย
ถ้าเป็นไปได้จะถ่ายหนังสือหน้านั้น ๆ มาโพสต์
[โพสต์เมื่อ มีนาคม 9, 2559]
ตอนที่ 1. หนึ่งในสี่แรกของหนังสือ
หน้าแรก ถึงหน้าประมาณ 325
ตอนที่ 1. หนึ่งในสี่แรกของหนังสือ
หน้าแรก ถึงหน้าประมาณ 325
เก็บประเด็นมาเล่า เจ็ดประเด็น ดังนี้ครับ
ประเด็นที่ 1 การศึกษาประวัติศาสตร์
คำนำของหนังสือ นายลิววิส
ตั้งหัวข้อไว้เรื่องหนึ่งว่า L’Etude de l’histoire: objet et method หรือ การศึกษาประวัติศาสตร์: วัตถุที่ศึกษา และ
วิธีการ
ประเด็นนี้
ท่านผู้เขียน ได้ตั้งคำถามย่อยไว้มากมาย และมีคำตอบมากด้วย จะขอประมวลมาเฉพาะคำถ่าม และคำตอบบางประเด็น
คือ
ประวัติศาสตร์ คือ อะไร?
ทำไม เราต้องศึกษาประวัติศาสตร์?
นักประวัติศาสตร์ทำอะไร?
เราลงทุนลงแรงศึกษาประวัติศาสตร์ไปทำไม?
คำว่า
ประวัติศาสตร์ histoire มาจากภาษากรีก แปลว่า “เรียนรู้
ด้วยการตั้งคำถาม”
ลิววิส
กล่าวว่า ตามโลกทัศน์มุสลิม ประวัติศาสตร์สำคัญอย่างยิ่ง สำคัญดุจจะศาสนา เพราะว่าเหตุการณ์สำคัญในศาสนาอิสลาม ล้วนเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ มุสลิมเรียนรู้เรื่องศาสนาด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์
(หน้า 35)
ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา
ลิววิส เขียนว่า บรรดาศาสนาทั้งหลาย มีแต่ศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลามเท่านั้น
ที่ประกาศว่า สัจธรรมของตนเป็นสากล และขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องเฉพาะ กล่าวคือ
คริสตศาสนิกและอิสลามิก เป็นกลุ่มชนผู้พบสัจธรรมกับวจนะของพระเจ้า
และตนมีหน้าที่ต้องทำให้มนุษยชาติทั้งมวล ได้แลเป็นสัจธรรมนี้ด้วย ผู้ที่มีดวงตาไม่เห็นธรรมดังกล่าว จะตกนรก
โดยที่
นรก ของศาสนาคริสต์และอิสลาม คล้ายกันมากหรือเหมือนกัน จะต่างกันเฉพาะสวรรค์ของแต่ละศาสนาเท่านั้น (หน้า
56)
ศาสนาอื่น
ๆ เช่น ศาสนาขงจื้อ พุทธ ฮินดู และยิว ยอมรับว่าทางไปสู่พระเจ้าหรือสัจธรรม
อาจมีได้หลายทาง
ลิววิส
บอกว่า คนเรา-ถ้าเราเป็นฝ่ายชนะ เราก็สามารถทำใจให้กว้างได้ไม่ยาก แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายแพ้ เราก็มักจะใจแคบ
การต่อสู้ระหว่าง
อิสลามกับคริสต์ ในระยะหลัง ๆ นี้ คนมุสลิมตระหนักดีว่า
ฝ่ายตนเหินห่างจากความเป็นเลิศในกิจกรรมหลักของมนุษยชาติ (ผู้เขียนบลอค –
ซึ่งมุสลิมเคยเชี่ยวชาญและรู้เรื่องเหล่านั้นเป็นอย่างดีมาแต่เก่าก่อน) เช่น
การค้า การสงคราม เทคโนโลยี อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
ความน้อยเนื้อต่ำใจย่อมเกิดขึ้นได้
และในบางภาคส่วนก็ได้กลายเป็นความโกรธแค้น หัวชนฝา ที่ยากแก่การเจรจา สิ่งที่เข้ามาทดแทนการเจรจาพาที ได้แก่
เสียงร้องให้ทำ จิฮาด (djihad) ทำสงครามศักดิ์สิทธิ์(la
guerre sainte) และการสละชีพเพื่อศรัทธา(martyre pour la
foi) (หน้า 57)
ประเด็นที่ 2 คนอาหรับ คือ ใคร?
คนอาหรับ
อาจถือพาสปอร์ต ซาอุดิอาระเบีย เยเมน อิรัค คูเวต ซีเรีย จอร์แดน ซูดาน ลิเบีย
ตูนิเซีย อัลจีเรีย มอรอคโค ฯลฯ
ผู้นำอาหรับกลุ่มหนึ่ง
นิยามคนอาหรับว่า “ผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศเรา พูดภาษาเรา
ถูกเลี้ยงดูมาในวัฒนธรรมเรา มีความภาคภูมิในในเกียรติภูมิของเรา ถือได้ว่า
เขาเป็นหนึ่งในหมู่เรา”
ต้นกำเนิดของคำว่า
อาหรับ มืดมนอนธกาล มีตำนานมากมาย เช่น บ้างว่าเป็นคำที่มีรากภาษาเซมิติก
ที่แปลว่า “ตะวันตก” ซึ่งชาวเมโสโปเตเมียโบราณ
ใช้เรียกหมู่ชนที่อยู่ทางตะวันตกของลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส บ้างก็ว่า ในภาษาฮิบบรู มีคำว่าอาหรับ หมายถึง
พวกเร่ร่อน อยู่ไม่เป็นที่ บ้างว่า ฯลฯ
ฯลฯ
สรุปว่า
ก่อนกำเนิดศาสนาอิสลาม ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานแน่ชัด เกี่ยวกับคำว่า อาหรับ
สำหรับพระมะหะหมัด
และอิสลามิกรุ่นแรก คำว่า อาหรับ หมายถึง คนร่อนเร่พเนจรในทะเลทราย แม้ในพระคัมภีร์(อัล กุระอ่าน) คำว่า อาหรับ ก็จะหมายถึงคนพวกนั้น พระคัมภีร์ไม่ใช้คำว่า อาหรับ
เพื่อหมายถึงคนที่อยู่ในบ้านเมือง เช่น เมืองเม็กกะ หรือเมืองเมดินะ อย่างไรก็ดี ภาษาที่ใช้กันในเมืองเรียกกันว่า
ภาษาอาหรับ (หน้า 70) คิดว่าจากจุดนี้เองที่ในระยะต่อ ๆ มา ถือกันว่า ภาษาอาหรับ
ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ของแท้ ดั้งเดิม คือ ภาษาของชาวเบดูอิน(พวกร่อนเร่พเนจรในทะเลทราย)
ชัยชนะของบรรพชนมุสลิม
หลังจากที่พระมะหะหมัดหาชีวิตไม่แล้ว
ได้ช่วยนำคำว่า อาหรับ เผยแพร่ เป็นที่รู้จักกัน ทั่วสามทวีป คือ เอเชีย อัฟริกา
และยุโรป
ประเด็นที่
3 คำว่า เชี่ยะห์ หรือ ชีอะห์ มาจากไหน?
เมื่อเทียบกับพุทธ
ที่มีนิกายหินยาน กับ มหายาน อิสลามมีนิกายสุหนี่ กับ ชีอะห์
คำว่า
ชีอะห์(อาจเขียนสะกดการันต์ แบบอื่น ในภาษาไทย) มาจากไหน? อ่านพบในหน้า 125 ดังภาพที่ถ่ายให้ชม
Chiite= Shi ‘atu ‘Ali, “le
parti d’ Ali”
มาจากคำว่า Shi ‘atu ‘Ali ซึ่งหมายถึง
กลุ่มผู้สนับสนุนให้ อาลี ผู้เป็นบุตรเขยพระมะหะหมัด ได้รับตำแหน่ง กาหลิบ
ต่อมาบุคคลกลุ่มความคิดนี้ได้ย้ายไปอยู่ในซีเรีย
ได้รับความสนับสนุนจากราชวงศ์โอมมิยาด และได้รับความภักดีจากชาวอิรัคบางส่วน
-หน้า 125
ซึ่งหมายความว่า
กวีผิวดำผู้นุ่งห่มเสื้อผ้าสีขาวนั้น ดูประหนึ่ง :
อ่านตอนที่หนึ่ง ตามลิงก์ข้างล่างครับ
https://pricha123.blogspot.com/2016/05/blog-post.html
[ยังมีต่อ จะว่าด้วย ¼ ส่วนต่อไปของหนังสือ หรือประมาณอีก 300 หน้าเศษ หรือถึงครึ่งเล่ม จะว่าตามหนังสือครับ ดีก็จะบอกว่าดี ไม่ดีบอกว่าไม่ดี ถ้าสั้นก็จะบอกว่าสั้น ส่วนถ้ายาวก็จะบอกว่า.....ยาว]
ประเด็นที่
4 คนอาหรับในสเปน
เป็นไปไม่ได้เลยที่นักเรียนภาษาสเปน
เช่น ผู้เขียนบลอคนี้(คือ ข้าพเจ้าเอง)
จะไม่สนใจเรื่องราวของอิสลามและคนมุสลิมในสเปน เป็นกรณีพิเศษ
เมื่อแรกเรียนภาษาสเปน
ผู้เขียนฯก็ได้เริ่มรับรู้ถึงอิทธิพลของบรรพชนมุสลิมที่นั่น และรับทราบว่า ชื่อเมืองหลวงของสเปนปัจจุบัน
กรุงมาดดริด มาจากภาษาอาหรับ
และใครจะปฏิเสธว่า อาหารที่คนไทยหลาย ๆ คนรู้จักกันในนาม “ข้าวผัดสเปน”
จะไม่ใช่อาหารที่ได้รับอิทธิพลอาหรับ
ผู้ที่เคยทัศนาจรประเทศสเปนหลาย
ๆ คน ล้วนนึกนิยมสถาปัตยกรรมมุสลิมเพื่อการอยู่อาศัย – ไม่ใช่ศาสนสถาน
อันถือกันว่าเป็นชิ้นเอก คือ วังอัลฮัมบรา ที่เมืองกระนาดา ผู้เขียนเคยไปชมมาสองครั้งแล้ว
และยังนึกอยากจะไปอีก เชื่อกันว่า ราชินี
อิสซาเบลลาและเจ้าชายเฟอร์ดินานแห่งสเปน ตัดสินพระทัยออกทุนให้โคลัมบัสเดินทางแล่นเรือไปตะวันออกไกล
จนในที่สุดได้พบทวีปอเมริกาโดยบังเอิญ การตัดสินใจครั้งนั้นเกิดที่พระราชวัง อัลฮัมบรา
เมืองกระนาดา ซึ่งเคยเป็นที่มั่นสุดท้ายบนแผ่นดินสเปนของชาวมุสลิม ครั้นเจ้าคริสเตียนทำสงครามชนะเจ้ามุสลิม โดยตีได้กระนาดา
แล้วก็ขับชาวมุสลิมพ้นแผ่นดินสเปน
ประวัติความเป็นมาโดยย่นย่อของคนมุสลิมและอาหรับ
ในสเปน เป็นดังนี้
หลังจากที่ได้ลองชิมลาง
โดยได้รับความร่วมมือจากฝรั่ง(พวกวิสิโกธ) กองกำลังเล็ก ๆ
ของผู้นำจากฝั่งอัฟริกาเหนือ ชื่อ ตาริก เป็นคนเผ่าแบร์แบร์ในมอรอคโคปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่ชาวอาหรับ
แต่อยู่ใต้การปกครองของอาหรับและรับนับถืออิสลาม ได้ยกข้ามช่องแคบยิบรอลตาร์ ข้ามมายังฝั่งยุโรป
ปีค.ศ. 710
ความสำเร็จเบื้องต้นครั้งนั้น
ทำให้ ตาริก มีกำลังใจจัดทัพใหญ่ขึ้น มีกำลังพลเจ็ดพันคน ข้ามช่องแคบในปี 711
เข้ามาตีเอาบ้านเอาเมืองในสเปน ได้เมืองโกโดบา เมืองโตลีโด
กำลังพลแทบทั้งหมดเป็นคนเผ่าแบร์แบร์(อ่าน ตามสำเนียงฝรั่งเศส)
ผู้เขียนบลอค
เคยมีเพื่อนนักเรียนชาวมอรอคโค เรียนด้วยกันที่มหาวิทยาลัยบอร์โดส์
ทางใต้ของฝรั่งเศส เขาบอกผู้เขียนว่า ฉันไม่ใช่คนอาหรับนะ ฉันเป็นแบร์แบร์
ต่อมา
เมื่อมีกำลังพลข้ามมาจากฝั่งอัฟริกาเข้ามาสบทบ ชาวมุสลิมเหล่านั้นก็ตีได้เมืองเซวิลล์และเมืองเมริดา
ปีค.ศ. 712 กระทั่งปี 718 ชาวอาหรับ(และคนในอาณัติอาหรับ)ก็ยึดครองแผ่นดินสเปนส่วนใหญ่ไว้ได้
ต่อมา
กองทัพอาหรับได้ยกข้ามเทือกเขาปิเรเน่ ที่กั้นระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส เข้าไปในฝรั่งเศส มีการรบครั้งสำคัญเด็ดขาด ที่เมืองปวยติเย่
เมื่อค.ศ. 732 กองทัพอาหรับแพ้แก่ฝรั่งเศสที่นำทัพโดย ชาร์ล มาร์เตล และอาหรับถูกไล่ตีเรื่อยลงมา จนต้องละทิ้งเมืองนาบอนน์(ใกล้
บอร์โดส์)ที่ยึดไว้เป็นที่มั่น และข้ามเขาปิเรเน่ กลับเข้าไปในสเปน
อย่างไรก็ดี
ชาวสเปนพื้นเมืองบนคาบสมุทร์ไอบีเรีย พากันแซ่สร้องสรรเสริญเจ้านายชาวอาหรับว่า
ยอดเยี่ยมยุติธรรมกว่าพวกฝรั่งเศส ที่ปกครองสเปนทางเหนืออยู่บางส่วนในเวลานั้น
พวกแบร์แบร์จากอัฟริกา
พากันข้ามทะเลเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสเปนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งปี 741
ก็รวมตัวกันเป็นขบถต่อพวกอาหรับผู้เป็นเจ้านาย
พระเจ้ากาหลิบที่ซีเรีย ต้องจัดทัพรวมพลอาหรับเฉพาะกิจ มาปราบพวกแบร์แบร์ในสเปน เมื่อชนะแล้วรวมพลอาหรับเฉพาะกิจ
ก็ได้รับการปูนบำเหน็จ ได้รับการแบ่งปันที่ดิน แว่นแคว้น บ้านเมืองใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในสเปน
แจกจ่ายกันไป เช่น พวกที่มาจากดามัสกัส
ได้บริเวณ เอลวีเร พวกที่มาจากจอร์แดน
ได้อยู่แถวมะละกา พวกที่มาจากปาเลสไตน์
ได้ซิโดนี พวกที่มาจากเมืองฮิม(ในซีเรีย
เหนือดามัสกัส) ได้แถว ๆ เซวิลล์ พวกอาหรับที่มาจากอีจิปต์ ได้ที่ดินแถบเมือง เบ-จา
และ มูเซีย เป็นต้น
ชาวอาหรับ
ได้ตั้ง เมืองโกโดบา เป็นเมืองหลวงของอาหรับทั้งหลายที่อยู่ในสเปน
-โพสต์เมื่อ
มีนาคม 26, 2559
ประเด็นที่
5 ภาษาอาหรับ ในสเปน
ว่ากันโดยทั่วไป
ระบอบการปกครองของมุสลิมในสเปน เป็นระบอบค่อนข้างเสรี ให้ความเคารพต่อศาสนาเดิมของพลเมือง
น้อยนักที่จะมีการปราบปรามคนนอกศาสนา(คือ
คนคริสเตียน และคนยิว) โดยส่วนมาก คนพื้นเมืองในสเปน
หันเข้าหาศาสนาอิสลามโดยสมัครใจ ไม่มีการบังคับ คนสเปนหันมา “เข้าแขก” คือ
นับถือศาสนาอิสลาม กันเป็นจำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว
ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษาอาหรับ คนสเปนที่ยังนับถือคริสต์
ก็ยอมรับภาษาอาหรับอย่างกว้างขวาง กระทั่งในศตวรรษที่เก้า อัลวาโร
ชาวคริสเตียนในเมืองโกโดบา พรรณนาไว้อย่างน้อยใจว่า
“มิตรสหายจำนวนมากของข้าพเจ้า
อ่านบทกวีภาษาอาหรับ อ่านนิทานภาษาอาหรับ พวกเขาศึกษางานเขียนของนักเทววิทยาและนักปรัชญามูฮัมหมัด ทั้งนี้มิใช่เพื่อหาจุดปฏิเสธ(ไม่ยอมรับ) แต่เพื่อจะเรียนรู้ว่า ตนเองจะใช้ภาษาอาหรับที่งดงาม
สละสลวยได้อย่างไร
จะมีใครสักกี่คนทุกวันนี้ ที่อ่านคัมภีร์ศาสนาคริสต์ในภาษาละติน?”
ในเวลาเดียวกันนั้น
สังฆราชาแห่งเมืองเซวิลล์ ถึงกับให้แปลพระคัมภีร์ไบเบิล ออกเป็นภาษาอาหรับ ทั้งนี้
มิใช่เพื่อเผยแพร่ศาสนา แต่เพื่อให้ญาติโยมที่นั่น ซึ่งอ่านละตินไม่ออกกันแล้ว จะได้อ่านกันสะดวก
ๆ !
(หน้า 175)
ศิลปะอิสลาม
ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาในสเปนอย่างมีเอกลักษณ์ งดงาม ถือเป็นเพชรน้ำหนึ่ง ได้แก่ สุเหร่าแห่งเมืองโกโดบา
ปัจจุบันภาษาสเปนเรียกว่า ลา เมซกิตา
เป็นต้นกำเนิดสถาปัตยกรรมสไตล์ใหม่ที่เรียกว่า มัวร์-สเปน หรือ le
hispano-mauresque งานชิ้นที่สองได้แก่
หอคอย ลา จิรัลดา และพระราชวังอัลคาซาร์ ที่เมืองเซวิลล์ และชิ้นที่สามก็คือ พระราชวัง อัลฮัมบรา
เมืองกระนาดา (ทั้งสามชิ้นงานสถาปัตยกรรมนั้น ผู้เขียนบลอค – คือ ข้าพเจ้าเอง
ได้ไปชมมาแล้วครั้งหนึ่งบ้าง สองครั้งบ้าง และยังอยากจะไปชมอีก)
ผู้รู้ชาวยุโรป
เดินทางมาที่สเปน เพื่อศึกษาวิทยาการต่าง ๆ จากชาวมุสลิม โดยมีศูนย์กลางการแปลหนังสือจากภาษาอาหรับ
ออกเป็นภาษาละติน อยู่ที่เมืองโตเลโด (-ซึ่ง ข้าพเจ้าก็ไปมาแล้วเหมือนกัน) แม้ภายหลังชาวคริสเตียนตีเมืองโตเลโด
คืนมาได้จากมุสลิม
แต่ด้วยความใจกว้างและบรรยากาศอิสระเสรีภาพพอสมควร ทำให้ผู้รู้ชาวมุสลิม
ท่านยังคงอยู่ในเมืองโตเลโดเป็นจำนวนมาก
หนังสือวิชาความรู้สมัยกรีก
ที่อนุรักษ์อยู่ในภาษาอาหรับ ถูกแปลเป็นละตินที่โตเลโด เช่น งานส่วนมากของยุคลิด –
ที่เรารู้จักกัน แปลกันที่โตเลโด งานเรื่อง ออร์กานอน ของ อริสโตเติล งานส่วนมากของฮิปโปเครติส งานของปโตเลมี เป็นต้น งานสำคัญต่าง ๆ จากโลกยุคยุโรปโบราณเหล่านั้น
ใช่ว่าชาวมุสลิมจะอนุรักษ์ไว้อย่างเดียว แต่ได้เสริมแต่ง และต่อยอดด้วยความเห็นมากมาย
ชาวอาหรับ
ได้ทิ้งรอยที่ลบเลือนได้ยากไว้กับสเปน ทั้งเทคโนโลยีการเกษตร งานฝีมือพื้นเมือง
และศัพท์แสงต่าง ๆ ในศิลปะต่าง ๆ สถาปัตยกรรม
ดนตรี(กีตาร์ – เป็นมรดกจากซีเรีย) วรรณคดี วิทยาศาสตร์ และปรัชญา
-โพสต์เมื่อ
มีนาคม 31, 2559
ประเด็นที่
6 อารยธรรมอิสลาม
จะแปลตรงจากย่อหน้าแรก
ในบทที่ 8 ว่าด้วย อารยธรรมอิสลาม หนังสือหน้า 180
“ในระหว่างที่ราชอาณาจักรอาหรับ และจักรวรรดิอิสลาม
กำลังรุ่งเรืองอย่างมากนั้น เราได้พบกับความเจริญรุ่งโรจน์ในตะวันออกกลาง
ด้วยอารยธรรมหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า ‘อาหรับ’
อารยธรรมดังกล่าวนี้ ผู้พิชิตจากทะเลทรายมิได้นำมา
แต่ว่าภายหลังที่ได้ชัยชนะแล้ว ปวงชนทั้งหลายที่อยู่ใต้การปกครองคือ
ชาวอาหรับ ชาวเปอร์เซีย ชาวอิจิปต์ และชนอื่น ๆ อีกหลายหมู่เหล่า ได้ช่วยกันรังสรรค์ขึ้น
เนื้อหาของอารยธรรมนั้น ใช่ว่าจะเป็นของชาวมุสลิมเสียทั้งหมด
แต่ชาวคริสเตียน ชาวยิว ชาวโซโรอาสเตอร์ ต่างก็มีส่วนร่วมสร้างสรรค์อารยธรรมอาหรับ
อย่างไรก็ดี เครื่องมือในการสื่ออารยธรรม
ได้แก่ ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาอาหรับที่อยู่ภายใต้ศาสนาอิสลาม
และวิถีชีวิตอิสลามิก ศาสนาและภาษาจึงเป็นปัจจัยสองประการที่เอื้ออำนวยให้ผู้พิชิตชาวอาหรับใช้เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์อารยธรรมอันเป็นเอก
ได้อย่างรวดเร็ว”
ภาษาอาหรับเป็นภาษาตระกูลเซมิติค
เช่นเดียวกับภาษายิว(ฮิบบรู) แต่จะพูดว่าภาษาอาหรับเป็นภาษาตระกูลเซมิติคที่รุ่มรวยที่สุด
ก็ว่าได้
ก่อนที่จะยอมรับนับถืออิสลาม
ผู้คนในดินแดนทะเลทรายอาระเบีย เป็นคนดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตยากแค้น ไม่มีการศึกษา ไม่มีวัฒนธรรมที่เป็นระเบียบ
และไม่รู้จักการเขียนหนังสือ
กระนั้น
ผู้ชนเหล่านั้นได้พัฒนาการใช้ภาษาและประเพณีเรื่องบทกวี ที่ละเอียดอ่อน สละสลวย รุ่มรวยน่าเคารพ
ผู้รู้ตามประเพณีของชาวทะเลทรายรังสรรค์ฉันทลักษณ์อันเป็นระเบียบระบบ
ใช้เป็นแบบแผนชัดแจ้งคลาสสิค และได้เป็นรากฐานของบทกวีอาหรับทั้งหลายทั้งปวงในลำดับถัดมา
รากฐานคลาสสิคดังกล่าวแสดงออกซึ่งชีวิตคนพเนจรในทะเลทราย(พวก
เบ ดู อิน) บทกวีพรรณนาถึงความรัก เหล้าไวน์
สงคราม การล่าสัตว์ บรรยายภูมิทัศน์อันน่าสะพึงกลัวของภูเขาและทะเลทราย คุณค่าของชายชาตินักรบ
และเล่ห์กระเท่ห์ของฝ่ายศัตรู
ในเวลาที่ชาวอาหรับอิสลามิกเจริญถึงขีดสูงสุดในประวัติศาสตร์
ผู้เจริญเหล่านั้นมองยุโรปยุคกลางอันเป็นยุคร่วมสมัยกับตน
แบบมองไม่ขึ้น
ในโลกอิสลามที่แจ้งด้วยแสงสว่างทางปัญญา
โลกฝรั่งยุโรปยุคกลาง เป็นโลกของนรกอันมืดมิด โลกของอนารยชน ซึ่งโลกอิสลามไม่สามารถสมาทานความรู้ใด
ๆ มาได้เลย
อัล-มัสอุดี
(Al-mMas
‘udi) นักภูมิศาสตร์ศตวรรษที่สิบ
แสดงความเห็นไว้อย่างน่าฟัง ว่า
“ผู้คนทางเหนือ เป็นคนที่พระอาทิตย์ส่องถึงไม่เต็มที่
ความหนาวเย็นกับความชื้นปกคลุมทั่วทั้งภูมิภาค หิมะและน้ำแข็งปูต่อเนื่องกัน หาที่ว่างเว้นมิได้
อารมณ์อันอบอุ่นไม่มีในหมู่ชนเหล่านั้น ร่างกายของพวกเขาหนา สันดานและกิริยาหยาบคาย สติปัญญานิ่ม
ภาษาพูดลงเสียงหนัก ความเชื่อถือศรัทธาของพวกเขาขาดความหนักแน่น พวกที่อยู่เหนือสุด ยิ่งโง่บัดซบ หยาบคาย เถื่อน”
(หน้า 213)
-โพสต์เมื่อ
เมษายน 1, 2559
ประเด็นที่
7 ความเดียดฉันท์เรื่องผิว/เผ่าพันธุ์ ในโลกมุสลิมโบราณ
ทาสมีอยู่ทั่วทุกสังคมมนุษย์ในประวัติศาสตร์
ดังนั้นสังคมตะวันออกกลางก็ไม่ยกเว้น พระคัมภีร์(อัล กุระอ่าน) ยอมรับเรื่องการมีทาส
แต่เราต้องไม่ลืมว่าพระคัมภีร์รจนาขึ้น(ตามโองการพระเจ้า)ที่เมืองเม็กกะ
และ เมดินะ ใน(คริสต์)ศตวรรษที่เจ็ด(ประมาณพ.ศ. 1200) บริบทสังคมยุคสมัยนั้น
อันได้แก่ โลกอาหรับโบราณ เป็นเรื่องที่คนสมัยปัจจุบัน จะต้องรับพิจารณาเป็นเบื้องปฐมถึงแม้ว่าโองการพระเจ้าจะศักดิ์สิทธิ์และเป็นอกาลิโก
ก็ตาม
องค์ศาสดา
พระมะหะหมัด ทรงชี้ทางไว้ให้มุสลิมปฏิบัติต่อทาสอย่างอารี ให้นึกถึงใจเขาใจเรา
ท่านห้ามกระทำทารุณต่อทาส พระศาสดาทรงเตือนมุสลิมทั้งหลายว่า คำสอนของท่าน
ทรงสั่งสอนเสมอหน้ากันหมด ไม่ว่าคุณจะเป็น ไท หรือเป็น ทาส (หน้า 247)
อย่างไรก็ดี
มนุษย์เราใช่ว่าจะมีดวงตาเห็นธรรมทั่วกันหมด
คนอาหรับ อีกนัยหนึ่ง คนผิวขาวแกมน้ำตาล(les Blancsbasanés) ก็มีความรู้สึกว่า ตนเป็นคนเหนือชั้นกว่าพวกชาวเหนือ
ผู้มีผิวสีขาวซีด(ฝรั่ง)
แต่คนอาหรับไม่ได้เดียดฉันท์คนผิวดำมากเท่าคนขาว – ช้าก่อน
ประเด็นนี้อาจจะจริง หรือไม่จริง?
ลิววิส
ยกอุทาหรณ์จากนิทาน อาหรับราตรี(พันหนึ่งทิวา) จะขอคัดข้อความ แปลตรงจากหนังสือ
หน้า 269 ว่า
“แม้แต่ผู้อ่านที่ไม่รู้เรื่องวรรณคดีอาหรับ
ยกเว้น เคยอ่าน พันหนึ่งทิวา-อาหรับราตรี มาบ้างเท่านั้น ผู้อ่านเหล่านั้นก็อาจนึกสงสัยว่า
ความใจกว้างไม่เดียดฉันท์คนผิวดำของชาวอาหรับ
เพียงแต่ขอให้นับถืออิสลามด้วยกันเป็นพอ
ความข้อนี้จริงอยู่หรือ
ความสงสัยคลางแคลงใจเรื่องนี้
บังเกิดเมื่อได้อ่านเรื่องของ ราชาชาซามาน ผู้ออกเดินทางไปเยื่ยมน้องชาย ราชาชาชริยาร แต่เนื่องจากท้าวเธอลืมของบางอย่าง จึงได้เดินทางกลับวัง ครั้นกลับมาถึงวังตอนเที่ยงคืน ก็ได้พบมเหสี
นอนอยู่บนเตียงกับทาสผิวดำ ผู้ซึ่งก็กำลังหลับอยู่ เนื่องจากได้ให้ “บริการ”
มเหสีไปเรียบร้อยแล้ว
ครั้นพบภาพดังกล่าว ราชา ชาซามาน พิโรธโกรธจัด
ตรงเข้าไปฟันสองคนนั้น ขาดเป็นท่อน ๆ แล้วก็เดินทางไปเยี่ยมน้องชายต่อไป ก็พบว่าสถานการณ์ของน้องชายยิ่งแย่กว่าอีก เพราะระหว่างที่ ราชา ชาชริยาร
ผู้เป็นน้องชายออกไปล่าสัตว์ ปรากฏว่า
ใช่แต่มเหสีเท่านั้น แต่บรรดาสนมรวมยี่สิบนาง ต่างได้รับ “บริการ”
(ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส หมายเหตุตรงนี้ไว้ว่า ใช้คำตามสำนวนแปลภาษาอังกฤษ
ที่แปลพันหนึ่งทิวาฯสมัยวิคตอเรีย) จากทาสผิวดำจำนวนยี่สิบคน กันถ้วนหน้า
มเหสีโดดเด่นอยู่ในอาภรณ์
อันงามสง่า และองค์เองก็เลอโฉม
เหล่าสนมพากันเดินตามมเหสีมาที่น้ำพุ
นางทั้งหลายพักผ่อนสนุกสนานบันเทิง ด้วยกันที่นั่น แล้วบัดนั้น มเหสีก็ร้องขึ้นว่า “โอ มาซูด!” แล้วทันใด
ทาสผิวดำคนหนึ่งก็เดินมาหา ทั้งสองสวมกอดกัน
แล้วนางสนมทั้งหลาย ก็ระเริงรักกับทาสผิวดำคนอื่น ๆ กระทั่งเย็นค่ำย่ำสนธยา
ราชา ชาซามานกับ ราชา
ชาริยาร เป็นตัวแทนของคนผิวขาว(แกมน้ำตาล)ผู้เหนือชั้นกว่า แต่มีความฝันลับ ๆ ทางกามารมณ์
หรืออาจจะเป็นฝันร้ายทางเพศ
ซึ่งทุกคนอาจรู้ดีกันอยู่แล้ว” หน้า
269
ผู้เขียนบลอคนี้
เคยอ่านคำสัมภาษณ์สื่อฝรั่งเศส ของ เจมส์ บอลวินด์ (James
Baldwin)นักเขียนชาวอเมริกันดำ
ผู้มาอยู่อาศัยในฝรั่งเศสนานนับสิบปี
เขาบอกว่า คนอเมริกันผิวขาว เกรงกลัวคนดำ ตรงที่อวัยวะเพศของชายผิวดำ
มีขนาดใหญ่โตและยาวกว่า นี่แหละคือ
หัวใจของปัญหาเรื่องสีผิวในสหรัฐฯ เจมส์ บอลวินด์ ย้ำ
เมื่อผู้เขียนบลอค
เรียนหนังสืออยู่ในฝรั่งเศส เคยฟังเพื่อนนักเรียนชาวฝรั่งเศส
เล่าเรื่องสัปดนให้เพื่อนฝูงฟังในโรงอาหาร
เขาเล่าถึงคนอาหรับผู้หนึ่ง เขาบอกว่า “มีกล้วยใบเบ้อเร่อเลย”(une
banane énorme) ผู้เขียนฯคิดว่าคนฝรั่งเศส ก็อาจประหวั่นพรั่นพรึงประเด็นนี้กับคนอาหรับอยู่เหมือนกัน
หรือว่าไม่ก็ไม่รู้?
ต่อมาเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้ของ
ลิววิส ก็เลยได้ทราบว่า คนอาหรับเอง ก็มีปมค้างคาใจต่อคนผิวดำ
ตรงที่คนผิวดำมีอวัยวะเพศมหึมากว่าของพวกตนอีก เช่น ในหนังสือหน้า 316
ดังภาพถ่ายที่นักประวัติศาสตร์อาหรับสมัยโบราณ บรรยายไว้ว่าคนผิวดำมีเอกลักษณ์สิบประการ
ซึ่งประการหนึ่งก็คือ un penis long ซึ่งแปลว่า อวัยวะเพศยาว (ดังที่ผู้เขียนบลอค
ขีดเส้นใต้ไว้)
ภาพถ่ายหนังสือหน้า
316
อย่างไรก็ดี
แม้พระคัมภีร์จะสอนว่า มุสลิมล้วนเสมอภาคกัน แต่ในทางปฏิบัติ คนผิวดำในดินแดนอาหรับโบราณ
ประมาณค.ศ. 700 หรือศตวรรษที่แปด ก็ยังถูกเหยียดผิวอยู่ดี เช่น กวีเอกภาษาอาหรับ
แต่เป็นคนอัฟริกันดำ ชื่อ อัล ไฮยะเกียน(al-Hayquian) มีชีวิตอยู่สมัยราชวงศ์โอมิยาด
ก็ถูกเหยียดผิวจากกวีอาหรับ(แท้)ชื่อ ดจารี(Djarir) ตาย ค.ศ.
729
โดยมีเรื่องเล่ากันว่า
คนทั้งสองได้พบกันในงานเทศกาล เวลานั้นกวีผิวดำ อัล ไฮยะเกียน
แต่งตัวใส่เสื้อสีขาว ตัดกับสีผิวดำของตน มาในงาน
คำพังเพยภาษาไทย
ที่ว่า “อีกา คาบพริก”
เป็นสำนวนแสดงความขัดกัน ระหว่างสีเสื้อผ้าที่สวมใส่กับสีผิว แต่กวีอาหรับโบราณ ท่านแหลมคมกว่านั้นมาก ดจารี(Djarir) กล่าววาจาเหน็บแนม อัล ไฮยะเกียน ผู้มีผิวดำแต่สวมเสื้อผ้าสีขาวมาในงาน
ว่า (หน้า 285)
แลดูดุจจะ "un pénis d’âne envelopé dans un papyrus "
(ภาพถ่ายจากหนังสือหน้า 285 ส่วนที่ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียนบลอค)
ภาพถ่ายหนังสือหน้า 285
“องคชาติของลา
ที่ห่อหุ่มด้วยกระดาษปาปิรุส”
-โพสต์หลัง สงกรานต์, 2559
-----------------------------------------------------------------------------------
อ่านตอนที่หนึ่ง ตามลิงก์ข้างล่างครับ
https://pricha123.blogspot.com/2016/05/blog-post.html
[ยังมีต่อ จะว่าด้วย ¼ ส่วนต่อไปของหนังสือ หรือประมาณอีก 300 หน้าเศษ หรือถึงครึ่งเล่ม จะว่าตามหนังสือครับ ดีก็จะบอกว่าดี ไม่ดีบอกว่าไม่ดี ถ้าสั้นก็จะบอกว่าสั้น ส่วนถ้ายาวก็จะบอกว่า.....ยาว]
underconstruction.....กำลังดำเนินการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น