open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หล่อแบบฝรั่งเศส – หล่อโดยไม่ได้ตั้งใจ

ที่จริงเรื่องนี้กินความถึงผู้หญิงด้วย  กล่าวคือผู้หญิงฝรั่งเศสก็สวยแบบ “สวยไม่ได้ตั้งใจ” ได้เหมือนกัน  แต่เนื่องจากความรักสวยรักงามถือว่าเป็นธรรมชาติของหญิงอยู่แล้ว  แม้พวกเธอ “ตั้งใจ” จะทำสวยก็ไม่มีใครเขาถือสา  การที่ผู้หญิงสักคนหนึ่งพยายามจะทำสวย ไม่เป็นประเด็นแห่งการติฉินนินทาหรือวิพากษ์วิจารณ์  เรื่องนี้จะเป็นที่น่าสะดุดอยู่ก็เฉพาะเพศชาย หรือเกย์ก็ได้ คือผู้ชายฝรั่งเศสจะต้องหล่ออย่าง “ไม่ได้ตั้งใจ” เท่านั้น - จึงจะมีค่า  หากคนเขาสังเกตรู้เมื่อไรว่า ชายใด “ตั้งใจ” จะทำหล่อ  เขาผู้นั้นจะราคาตกทันที

ผู้ชายฝรั่งเศสจึงมีภาระในชีวิตอยู่อย่าง  คือทุกขเวทนาอยู่แต่ว่า ทำอย่างไรตัวเองจึงจะหล่อได้ อย่างชนิดแลดูเหมือนกับว่าไม่ได้ตั้งใจจะทำหล่อ  แล้วถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ก็จะต้องมีท่าทางฉลาดช่างคิด  ซึ่งตรงกันข้ามกับอเมริกันที่ถือกันว่า ถามปุ้บต้องตอบปั้บ จึงจะฉลาดและจริงใจ  สำหรับคนฝรั่งเศสนั้นไม่จำเป็นเลยว่าเมื่อถูกถามปุ้บ เป็นต้องตอบปั้บ  เมื่อถามปุ้บ - อาจแสร้งทำเป็นใช้ความคิดสักนิดแล้วค่อยตอบ จึงจะฉลาด  ส่วนพวกถามปุ้บ ๆ ตอบปั้บ ๆ นั้น ทำบ่อย ๆ เข้า เขาจะเห็นว่าโง่นิด ๆ และปัญญาอ่อนหน่อย ๆ

การพยายามทำหล่ออย่างไม่ได้ตั้งใจนี้  ชายชาวฝรั่งเศสจะต้องเสียเวลา เปลืองพลังงาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย มิใช่น้อย ๆ  แต่คนฝรั่งเศสก็จะเรียนรู้เรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ

เทศกาลปีใหม่ตกอยู่ในหน้าหนาว  การแต่งเนื้อแต่งตัวของผู้คนก็จะค่อนข้างทึบ ๆ ทึม ๆ เสื้อผ้าต้องหนาเทอะทะขึ้นเพื่อรักษาร่างกายให้อุ่น ป้องกันความหนาวเย็นของลมฟ้าอากาศ  เนื้อตัวและทรวดทรงองค์เอวจะถูกห่อหุ้มมิดชิด  สีเครื่องนุ่งห่มชั้นนอกก็จะใช้สีตุ่น ๆ มืด ๆ เป็นธรรมานุธรรมะปฏิบัติของการแต่งตัวในฤดูนี้  แล้วพวกทำหล่อแบบไม่ได้ตั้งใจ - จะมีทางออกอย่างไร?

นักเขียนชายชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง  เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและนิสัยใจคอของชาวปารีส  เวลานี้ได้กลายเป็นหนังสือขายดีและถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งนักท่องเที่ยวอเมริกันประเภทปัญญาชน และรักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนรักเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ จะชอบอ่านระหว่างเดินทางมาท่องเที่ยวในฝรั่งเศส  ในรายการสัมภาษณ์ทางอินเตอร์เนต สตรีชาวอเมริกันผู้หนึ่ง ตั้งคำถามกับนักเขียนชายชาวฝรั่งเศสผู้นั้น ว่า

“คุณช่วยบอกฉันหน่อยได้ไหม  เวลาผู้ชายฝรั่งเศสเขาผูกผ้าพันคอ เขาทำราวกับว่า(หล่อ)ไม่ได้ตั้งใจ  พวกเขาทำได้อย่างไร?”

นักเขียนฝรั่งเศสผู้นั้น อึกอักเล็กน้อย ได้แต่หัวเราะเกลื่อนกลืน  แล้วพูดว่าผมเข้าใจ--ผมเข้าใจคำถามของคุณว่าคุณหมายความว่าอะไร  แต่แล้วเขาก็ไม่ยอมตอบคำถามที่พยายามเจาะลึกว่าการทำเป็นหล่อแบบไม่ได้ตั้งใจในหน้าหนาว โดยอาศัยศิลปะการผูกผ้าพันคอของชายฝรั่งเศสนั้น เขาทำกันอย่างไร?

ผู้เขียนบทความนี้(แดง ใบเล่)สะเออะคิดว่าตัวเองพอจะรู้ว่า ทำไมนักเขียนฝรั่งเศสผู้นั้นจึงหลีกเลี่ยงเบี่ยงบ่าย ที่จะตอบคำถามแก่สตรีอเมริกัน  ทั้งนี้ก็เพราะว่า ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นความลับระดับชาติของฝรั่งเศส  การเปิดเผยเรื่องนี้เท่ากับกระทำการทรยศต่อชาติ

ข้าพเจ้าผู้เป็นเจ้าของบล็อคนี้ ไม่ใช่คนฝรั่งเศส  เพราะฉะนั้นเพื่อเห็นแก่มิตรรักนักอ่านทั้งหลายผู้ที่ต้องการจะทราบความลับเรื่องการผูกผ้าพันคอแบบหล่อไม่ตั้งใจ  ข้าพเจ้าจะได้นำมาแฉในลำดับต่อไป รับรองว่าจะเปิดเผยหมดเปลือก แฉกันอย่างโจ่งแจ้ง โจ๋งครึ่ม

[ยังมีต่อ--โปรดติดตามอ่านสุดสัปดาห์หน้า ศุกร์ที่ 8 มกรา  59 ครับ]  


ว่ากันคร่าว ๆ ผ้าพันคอมีสองชนิดหลักคือ เอ ช้าฟ  กับ ฟูลา  ชนิดที่เราจะพูดถึงคือผ้าพันคอชนิด เอช้าฟ - écharpe หรือ scarf ในภาษาอังกฤษ ซึ่งชายหรือหญิงก็ใช้ได้ แต่ตามปกติบุรุษจะใช้ผ้าพันคอประเภทนี้มากกว่าสตรี  ผ้าจะมีลักษณะเป็นแถบยาว คล้ายกับสายสะพาย  ส่วน ฟูลา นั้นโดยมากจะเป็นผ้าผู้หญิง มีลักษณะเป็นผืนสี่เหลี่ยม ใหญ่พอสมควร  ผู้ชายบางคนก็ใช้แต่เป็นส่วนน้อย ซึ่งบทความบทนี้จะไม่ขอกล่าวถึง

การพันคอด้วย เอ ช้าฟ ทำได้หลายวิธี สุดแล้วแต่ใครจะพัน หรือจะสักแต่ว่าพัน ๆ หรือพันมั่ว ๆ ก็ไม่มีใครว่า แต่เราจะเน้นวิธีพันคอของพวกทำหล่อเหมือนไม่ได้ตั้งใจ


โปรดชมวีดีโอต่อไปนี้ ประธานาธิบดี ฟร็องซัว ออลล็ง กำลังกล่าวไว้อาลัยผู้เสียชีวิต จากการสังหารหมู่ที่ปารีส เมื่อ 13 ธันวาคม 2558  ให้สังเกตผ้าพันคอสีขรึม กับสังเกตวิธีพันคอของท่านประธานาธิบดี  วิธีพันคอวิธีนี้เป็นการตั้งใจ จงใจ พิถีพิถัน สไตล์เป็นทางการและผู้สูงวัยนิยมทำ  นำมาให้ท่านชมเป็นตัวอย่าง เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ  การพันคอสไตล์นี้เราพบได้ทั่วไปไม่เฉพาะแต่ในงานพิธี  แม้ตามท้องถนนก็มีให้เห็น  ส่วนมากก็มักจะพบในคนอายุราว ๆ สามสิบห้าและกว่านั้น  ส่วนผ้าพันคอก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสีมืด ๆ เสมอไป



ลิงก์วีดีโอhttps://www.youtube.com/watch?v=lqTtAsiiCFc


วีดีโอถัดไปนี้ แสดงตัวอย่างการพันคอแบบ หล่อไม่ตั้งใจ ของนายดาวิด ลาโรช นักพูดปลุกระดมให้คนสู้ชีวิต เขามีชื่อเสียงในวงการเล็ก ๆ วงการนี้พอสมควรในเวลานี้ ทั้งในฝรั่งเศสและประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส เช่น ในมอรอคโค เป็นต้น  เขาไปขายหลักสูตรฝึกอบรมของเขาที่นั่นด้วย


ลิงก์วีดีโอ: https://www.youtube.com/watch?v=z7b4QQCee24

ในวีดีโอ นายดาวิด ลาโรช กำลังพูดปลุกระดมอยู่หน้าประตูชัย กรุงปารีส  เขามีอะพาร์ตเมนต์และสตูดิโอสำหรับสร้างผลงาน และสร้างหลักสูตรฝึกอบรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อยู่ไม่ไกลจากประตูชัย  แสดงว่าเขามั่งมีไม่น้อยเลย  มหาเศรษฐีฝรั่งเศสคนหนึ่งมีนิวาสน์สถานอยู่แถว ๆ นั้น คือ มาดาม เดอ รอธชิลด์ เจ้าของโรงบ่มไวน์ เดอ รอธชิลด์ เหล้าไวน์ของเธอราคาขวดละหลายบาท – ถ้าคิดเป็นเงินไทย  สำหรับนายดาวิด ลาโรช นั้น ได้ข่าวแว่ว ๆ ว่าคุณปู่ของเขาเป็นเจ้าของห้างสินค้าไฮแฟชั่น ยี่ห้อ “กี ลาโรช”  เรื่องนี้จะเท็จจริงอย่างไร ไม่ขอรับรอง

นายดาวิด ลาโรช เป็นคนหน้าตาธรรมดา เพราะฉะนั้น การพันคอและแต่งตัวแบบหล่อไม่ตั้งใจ จะช่วยให้เขาดูดีกว่าธรรมดา  เสื้อแจ็คเกตสีมืดที่สวมอยู่ ท่านที่สนใจเรื่องการแต่งเนื้อแต่งตัวทั้งหลาย ดูก็รู้ว่าต้องเป็นสินค้าไฮแฟชั่น ไม่ใช่โบ้เบ้ (ประโยคหลัง พูดถึงมิติของเสื้อผ้า ใช้ภาษาต่างประเทศทั้งหมด ไม่มีภาษาไทยเลย ทั้งคำว่า “ไฮแฟชั่น” และ “โบ้เบ้”)

ผ้าพันคอที่ใช้ มีสีน้ำเงินเข้ม ขรึมเข้ากับแจ็คเกตก็จริงอยู่  แต่ท่านก็จะเห็นว่า มีเหลื่อมสีขาวหม่นปนอยู่ด้วย  สำหรับชายชาวฝรั่งเศส - ผ้าพันคอบ่งบอกถึงบทกวี ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน ตัวผ้าพันคอนั้นเองเกือบจะเหมือนบทกวีหนึ่งบท  สำหรับหญิงฝรั่งเศสผ้าพันคอคือความงามอันนิรันดร์ ความงามที่เป็นอกาลิโก  ชายและหญิงฝรั่งเศสรัญจวนใจกับการที่ปลายผ้าพันคอของตน จะปลิวสะบัด หวั่นไหวไปตามลมหนาวอันแปรปรวน และทรมานใจของนครปารีส

โปรดสังเกตลักษณะการพันคอของนายดาวิด ลาโรช ซึ่งไม่เหมือนกับวิธีพันคอของประธานาธิบดี ออลล็ง ในวีดีโอก่อนหน้า  นายดาวิด ลาโรชแสดงตัวอย่างแบบฉบับของการพันคออย่างหล่อไม่ได้ตั้งใจและหล่อไม่รู้ตัว ของชายชาวฝรั่งเศส -- ที่สตรีอเมริกันผู้นั้นถามถึง

ท่านผู้อ่านสตรีที่ใช้ผ้าพันคอชนิด เอช้าฟ ในหน้าหนาวเมืองไทย  ท่านก็สามารถพันคอสไตล์นี้ได้เหมือนกัน  แม้อาจจะทำให้ท่านไม่ดูหวานอย่างการพันคอด้วยผ้าพันคอชนิด ฟูลา  คือถ้าใช้เอช้าฟพันคอในหน้าหนาวนี้ ท่านจะเสนอตัวต่อโลกออกไปในแนวสตรีปัญญาชน มีการศึกษาสูง หรือผู้บริหารกิจการชนิดลุย ๆ หรือทำงานบริษัทโฆษณาสินค้ามวลชน หรือนักประชาสัมพันธ์ที่เดินสายไปกับรถโฆษณาขายเครื่องดื่มชูกำลัง ตะลอน - ตะลอน ไปตามทางหลวงชนบทในหน้าหนาว หรือนักบำเพ็ญประโยชน์ไปแจกผ้าห่ม หรือเป็นนักเขียนสารคดีท่องเที่ยว นักหนังสือพิมพ์ คอลัมนิสต์ นักเขียนบล็อค นักต่อสู้(กับเตี่ย)เพื่อสิทธิมนุษยชน(สิทธิสตรี) หรืออะไรประมาณนั้น  สไตล์ของท่านจึงจะไม่ใช่พริตตี้ขายรถยนต์อยู่ในโชว์รูม

เอ้ะ แล้วเขามีวิธีพันคอกันอย่างไร? 

[ยังมีต่อ – สนใจโปรดติดตามสุดสัปดาห์หน้า ศุกร์ที่ 15 มค. 59 ขอบคุณครับ]

เรื่องนี้ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจจะทราบอยู่แล้ว  แต่ก็อาจจะยังมีอีกบางท่านที่ไม่สนใจเรื่องผ้าพันคอมาก่อน  ไม่ค่อยจะได้ใช้ผ้าพันคอเพราะเป็นคนงัยไม่รู้-สุขภาพดี ไม่เคยเป็นหวัดเจ็บคอกับใครเขาหรอก  แม้หน้าหนาวก็ไม่ต้องป้องกันบริเวณลำคอ เพราะเป็นคน “คอแข็ง” ซะอย่าง  ท่านเหล่านั้นอาจจะยังไม่ทราบ ว่าเขาใช้พันคอกันอย่างไร ดังนั้น วีดีโอต่อไปนี้ เด็กฝรั่งเศสคนหนึ่ง จะแสดงวิธีพันคอสไตล์หล่อไม่ตั้งใจ เช่นที่นายดาวิด ลาโรช พันอยู่นั้น ให้ท่านได้ชมและท่านจะได้ทราบ

ในยามที่ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าแม้จะตกต้องตามฤดูกาล แต่ตกมากบ้างน้อยบ้าง โลกเรากำลังตกอยู่ในภาวะโลกสะบัดร้อน ธรณีสะบัดหนาว พสุธาสะบัดสะบิ้ง และบางทีเย็นยะเยือก มีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง หวยออกไม่ตรงกับเลขเด็ดของอาจารย์ดัง  วีดีโอลำดับถัดไปนี้อาจเป็นประโยชน์อย่างมากต่อท่านก็ได้ ใครจะรู้

ที่เวลาวีดีโอ 0143น้องเขาฉวยผ้าพันคอ มาพันคอ

1)   พับผ้า ทบเข้าครึ่งหนึ่ง เวลา 0144
2)   พันรอบคอ เวลา 0145
3)   สอดมือผ่านบ่วง เข้ามาฉวยปลายผ้าอีกด้านหนึ่งลากผ่านบ่วงออกมา กลายเป็นปมใหญ่
4)   กระชับผ้าให้เข้าที่ รอบคอ เป็นอันเสร็จพิธีเวลา 0146

สรุปว่า ท่านจะเห็นน้องเขาพับผ้าครึ่งหนึ่ง แล้วพาดหลังคอ  ด้านหน้าข้างหนึ่งจะมีบ่วง แล้วสอดชายผ้าอีกด้านหนึ่งเข้าไปในบ่วง กลายเป็นปมขนาดเขื่อง นี่เป็นวิธีพันคอแบบหล่อไม่ตั้งใจที่นักเขียนชายชาวฝรั่งเศสผู้นั้น ไม่ได้ตอบคำถามซึ่งสตรีชาวอเมริกันถามมา  อันเป็นวิธีง่าย สะดวก รวดเร็ว และผลที่ได้ เท่ห์




ลิงก์วีดีโอ :https://www.youtube.com/watch?v=2WpgHj-x4rU

โปรดสังเกตวิธีพันคอด้วยว่า  บ่วงสำหรับสอดชายผ้านั้น ท่านจะทำบ่วงพาดมาจากไหล่ด้านซ้ายมือของท่าน(รูป 2 และ 3) หรือพาดจากไหล่ด้านขวามือของท่าน(รูป 1)ก็ได้ สุดแล้วแต่ว่าท่านจะเห็นว่าด้านไหนจะดูดีสำหรับท่านในวันนั้น เช่นเหมาะแก่ลายและสีสันของผ้าพันคอผืนนั้น หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรืออารมณ์ของท่านในเวลานั้น  ครั้นได้กระชับ ขยับ ผ้าพันคอเข้ารูปดีแล้ว ท่านจะลองขยับให้บ่วงกับชายผ้าที่ห้อยลงมานั้น ให้อยู่ด้านไหนของใบหน้าก็ได้อีก  สำหรับท่านที่หน้ากลมเป็นวงเดือน ถ้าขยับให้บ่วงหรือปมผ้าพันคอมาอยู่ตรงกลางใต้คาง ก็อาจจะทำให้ใบหน้าท่านดูเป็นรูปไข่มากขึ้นก็ได้ เป็นต้น

ต่อไปเป็นภาพนายแบบ หล่อไม่ตั้งใจด้วยผ้าพันคอ สามนายสามวัย















อย่างไรก็ดี บางท่านอาจเห็นว่านั่นเป็นเรื่องของพวกนายแบบและเรื่องของคนฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง  แล้วในโลกแห่งความเป็นจริง ในชีวิตจริงล่ะ?  สไตล์การพันคอแบบนี้ ได้รั่วไหลออกไปนอกประเทศฝรั่งเศส ไปยังคนในที่อื่น ๆอย่างไรบ้าง?


[ยังมีต่อ -- สนใจโปรดติดตามสุดสัปดาห์หน้า ครับ]

ผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชนบท เช่นผู้เขียนเป็นต้น ก็มักจะมีผ้าขาวม้าคนละสองสามผืนกันอยู่แล้วฤดูหนาวนี้ท่านสามารถใช้ผ้าขาวม้าผืนหนึ่งเป็นผ้าพันคอชนิด เอช้าฟ ได้เป็นอย่างดี  เมื่อฉวยผ้าขาวม้ามาผืนหนึ่งหมายความว่าไม่ใช่ผืนที่กำลังนุ่งอยู่นะ มาพันคอตามสไตล์หล่อไม่ตั้งใจเรียบร้อยแล้ว ท่านจะดูดีมีราคากลายเป็นไม่ธรรมดา ขึ้นมาทันที  ทั้ง ๆ ที่ตัวจริงท่านอาจจะยังเป็นสินค้ามือสองตลาดโรงเกลือเหมือนเดิม 

หากเป็นหมู่บ้านชนบททางภาคใต้ ท่านก็สามารถนุ่งโสร่งแล้วพันคอสไตล์หล่อไม่ตั้งใจ ออกจากบ้านในสวนลองกองของท่าน แล้วเดินไปเดินมาในหมู่บ้าน หัวบ้านจดท้ายบ้าน สาวแก่แม่หม้ายทั้งหลายในหมู่บ้าน จะเมียงมอง วาบหวิว ปั่นป่วน และไม่เข้าใจตัวเอง ว่าทำไมท่านจึงดูหล่อราวกับไม่ได้ตั้งใจได้อย่างนั้น และพวกเธอทั้งหลายก็จะไม่รู้วิธีใช้ผ้าพันคอ(ผ้าขาวม้า)ของท่าน  เพราะเคยเห็นแต่คนเขาใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว  และต่างก็จะพากันพิศวง กระสันถึง(เขียนเว่อเปล่าไม่รู้?)ว่าท่านทำได้อย่างไร

ในหนังสือเรื่อง เจ้าชายน้อย  ที่หลาย ๆ ท่านได้อ่านเมื่อนานมาแล้ว หากท่านกลับไปพลิกดูใหม่ก็จะพบว่า ภาพประกอบตัวการ์ตูนเจ้าชายน้อย จะมีอยู่หลายภาพที่เจ้าชายน้อยมีผ้าพันคอและชายผ้าปลิวไสวไปตามสายลม  บัดนี้ท่านทราบแล้วว่าทำไมเจ้าชายน้อยจะต้องมีผ้าพันคอ และทำไมผ้าพันคอต้องปลิวไปตามสายลมด้วย  แต่ว่าก่อนนี้ ท่านก็รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ ว่าชายผ้าพันคอที่สะบัดไปตามสายลม คือบทกวี คืออารมณ์ที่หวั่นไหว คือความทรมานใจ คือความงามอันเป็นอกาลิโก  แต่ท่านทราบโดยที่ไม่รู้ตัว รู้โดยที่ไม่ได้ตั้งสติ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ว่าตัวเองกำลังต้องมนตร์อะไร

“ไรวัน ปูโล กะละปา”  เป็นเพลงที่เคยลากลิงก์ไปโพสต์ที่หน้าเฟสบุคของผู้เขียน หลายต่อหลายครั้งตลอดปีก่อนเวอร์ชันที่ลากไปนั้น นักร้องอินโดเนเซีย นายดิโอนิซุสอากุง หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า ดิโอน อากุง เป็นผู้ร้อง  คราวนี้ได้ลากมิวสิควีดีโอมาฝัง(เอ็มเบด)ที่หน้าบลอค แต่มิใช่ด้วยเหตุผลเรื่องเพลงหรือการร้องเพลง  หากว่าเป็นด้วยเหตุผลเรื่องการใช้ผ้าพันคอ

ในมิวสิควีดีโอตอนที่ถ่ายทำบนยอดเขา(กุหนุง) ซึ่งอากาศหนาวเย็น ดิโอน อากุง จะใช้ผ้าพันคอ  แต่ถ้าเป็นฉากบนพื้นราบซึ่งเราจะแลเห็นยอดมะพร้าว(กะละปา) หรือที่ชายทะเล(ปันไต)  เขาจะไม่มีผ้าพันคอ(สยาล)เพราะอากาศมันหนาวกะผีอะไรล่ะจะอย่างไรก็ดี นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่จะเขียนถึง(คำว่า ประเด็น – ภาษาอินโดฯว่างัยก็ไม่ทราบ ยังเรียนไม่ถึง)

ประเด็นอยู่ที่ว่า ท่านผู้อ่านบางท่านที่เคยคลิกชมมิวสิควีดีโอตั้งแต่ต้นจนจบ มัวแต่ฟังเพลงที่เขาร้อง  ท่านเคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่านักร้องผู้นี้พันคอด้วยสไตล์อะไร? 



ลิงก์วีดีโอ:https://www.youtube.com/watch?v=zvPgjc982jU

ท่านผู้อ่านที่เพิ่งคลิกชมวีดีโอเพลงข้างบนจบลง  คงไม่ต้องการให้ผู้เขียนย้ำให้เป็นที่น่าเบื่อหน่าย  เพราะบัดนี้ ท่านทราบด้วยตนเอง เห็นกะตา แล้วว่านักร้องอินโดเนเซียผู้นี้ ก็เป็นอีกคนหนึ่งนอกประเทศฝรั่งเศส  ที่มีรสนิยมการใช้ผ้าพันคอในลีลา หล่อไม่ตั้งใจ

แล้วตัวท่านผู้อ่านเองล่ะ?หน้าหนาวนี้ -- และปีใหม่นี้ ท่านตัดสินใจแล้วหรือยังว่าจะยังยึดมั่นถือมั่นอยู่กับสภาพหล่อไม่เสร็จ-ดังเดิม โดยที่หล่อไม่เสร็จ แปลว่า หล่อกะผีที่ไหนล่ะ  หรือว่าท่านจะเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่จินตนาการใหม่ ในแนวหล่อไม่ตั้งใจ?






แดง ใบเล่

ธันวาคม 25, 58

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ภาษาไทย ไม่สันทัด ปะกิตก็วิบัติ ปาน ๆ กัน ของรศ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล



“วัดช้างเบื้องบาทรู้  จักสาร”

Link to the BBC video: https://www.youtube.com/watch?v=57WDIGl6J5A



   

วัดช้างเบื้องบาทรู้    จักสาร                             
วัดอุทกชักกมุทมาลย์         แม่นรู้
ดู ครู สดับโวหาร                สอนศิษย์
ดู ตระกูลเผ่าผู้                   เพื่อด้วยเจรจาฯ


Old saying: To measure an elephant, look at its feet. To fathom the water, pull up a lotus stalk. To judge a professor, listen to how he teaches. To recognize his family of origin, observe how he talks.


At video time 50:41, Mr.Deputy-Professor Somsak Jiamthirasakul said, “ I suggest that the LOYAL(ลอ ยัล) family is biased against the LED (เลด เชิร์ต) shirt.”

At video time 51:20, he said, “This is one of the LEESON (ลี ซัน)  that this law is so obsolete and should be abolished.”

We do not need to feign ignorance trying to argue that pronouncing royal family as LOYAL family, red shirt as LED shirt, and reason as LEESON is a case of freedom of speech, or more appropriately, a case of liberty of expression. And that such pronunciation represents a particular way of self expression of certain individuals, and the rest of the world must bear with it; toleration of difference is the moral here.

Following the same line of reasoning, Paris can then become PALIS, French fries becomes FLENCH FLIES, and Freedom fries can be FLEEDOM FLIES. But the the liberty of expression, in this case, technically works one-way, for example, Statue of Liberty will remain Statue of Liberty, it cannot be changed to Statue of Riberty

In reality, in France, to purport such an argument Mr.Deputy-Prefessor Somsak Jiamthirasakul will have to fight a losing battle with the French authority, l’Academie française, the old guard of the French language.

An attempt at such argument never crossed my mind, for it is well over my paygrade. However, in a small way, I would like to make a helpful suggestion to Mr.Deputy-Professor Somsak Jiamthirasakul, who was granted political asylum status and now lives in France, that even in France he can ameliorate his English. 

The French can effectively teach him the language of Shakespeare. There are good English language schools all over France. Eventually, Mr.Deputy-Professor would be able to tame his tongue so that his usual pronunciation of “My tailor is LICH” will correctly change to “My tailor is rich”.


At video time 51:04 Mr.Deputy-Professor Somsak Jiamthirasakul complained that, “Even this quite simple question I’m now in a difficult position to give a straight forward answer.”

That is awesome, sir, but :

          First, I am afraid I disagree. I don’t think the question of the BBC’s journalist is “quite” simple. Doesn’t Mr.Deputy-Professor Somsak Jiamthirasakul, here, undermine and underestimate the fundamental of contemporary journalism of the BBC – asking(framing) good questions in an interview?

          Second, I understand that Mr.Deputy-Professor Somsak J. always has an easy answer to all hard and well-framed questions, and this one is an excellent evident.

          Third, I wonder whether Mr.Deputy-Professor Somsak J. is not being somewhat pretentious, snobbish, insincere, and cleverly calculating. Hadn’t he  rather take the opportunity filling up the political asylum application form on air than making an effort to answer the “quite simple” question of the BBC journalist?

But, whatever, now that you, Mr.Deputy-Professor Somsak J., lives in France, enjoying full liberty of expression and freedom of speech to give any straight forward answers about Thai politics and her political régime, you should take this opportunity to the fullest and say what you have to say. It has now been about a year of silence since you arrived in France with political asylum ticket. Your followers, friends and foes, in Thailand and around the world, on Facebook and on the internet, are eagerly waiting to hear from you. Sir, please don’t let us down.

J’accuse la BBC. At video time 51:02, the transcript in Thai on screen of the BBC video says, “ใช่ครับ แม้ว่า...แม้ว่า...แม้ว่ามันจะเป็นเพียงคำถามธรรมดา  ผม..ผมในเวลานี้ก็อยู่ใน สถานะภาพ ที่ยากต่อการให้คำตอบแบบตรงไปตรงมา” , -- bold type by the critic.

BBC’s translators of this video used pen names ดอกจำปา and ไกลปืนเที่ยง. The British global media should have used British taxpayers’ money more wisely and hired a better person for the job, myself for example (sans blaque). 

This banal faute d’orthographe – misspelt สถานะภาพ that the correct spelling is “สถานภาพ” without the vowel sign “อะ” is self-evident. Et pourtant, and in fact the BBC has broadcast in Thai for about half a century, notwithstanding the number of Britishers living in Thailand in the ten of thousands, many are reliable informants.    


      อย่าโทษไทท้าวท่วย    เทวา
อย่าโทษสถานภูผา                  ย่านกว้าง
อย่าโทษหมู่วงศา                    มิตรญาติ
      โทษแต่กรรมเองสร้าง              ส่งให้เป็นเองฯ



Old saying: “Don’t blame the gods. Don’t blame the mountains or the valleys. Don’t blame family and friends. Blame your own karma that you have performed by yourself.” 

What I intend to mean by this quote is that if one’s mouth shuts, it could be because one does not have anything worthy to say. Tu n’as rien à dire. One is empty-headed, or one is a garbage dump full of grosse merde, please excuse my French. One deceived the world that one’s mouth “is shut” while actually “it shuts itself”.

OMG, what straight forward rubbish has come out of my mouth! And how I adore liberty of expression and freedom of speech! Though they could sometimes smell perversely and convulsively rotten to the core like sewage of Bombay, but I like it still. Je suis malade.

At video time 50:31, BBC journalist said, “And for critics of the status quo, it’s not just a question of choosing your words carefully, it’s wondering whether you should open your mouth at all.” Now with political asylum status quo in France, as for Mr.Deputy-Professor Somsak Jiamthirasakul the BBC journalist’s purported argument had explicitly been cancelled.


Dan Baile(ปรีชา ทิวะหุต)
Lang Suan district,
Chumphon province,
December 23, 2015



Other posts (links) about Mr.Deputy-Professor Somsak Jiamthirasakul,

Critique of Mr.Deputy-Professor Somsak J.’s debate

ปะกิต ไม่ถนัด  ภาษาไทยก็วิบัติ ปาน ๆ กัน

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิจารณ์อภิปรายของ รองศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

อดีตรองศาสตราจารย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำวิจารณ์ภาษาไทยนี้ เขียนอิง(แต่มิใช่แปล) คำวิจารณ์ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
ซึ่งเคาะอ่านได้ ตามลิงก์:

Open Letter to French Ambassador to Thailand



ปะเด็น ที่หนึ่งและสอง ในต้นฉบับภาษาอังกฤษ ผู้วิจารณ์โจมตี ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ว่าเหตุผลวิบัติ เพราะการอ้างเหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ(analogy) เป็นการหาเหตุผลแบบอุปนัยชนิดหนึ่ง ที่จะ พิจาละณา  ความ เหมียนกัน อย่างสำคัญ ละหว่าง สองสิ่ง โดยที่สองสิ่งนั้น จะต้องไม่มี ฟามแตกต่าง อย่างสำคัญ  ทั้งนี้เพื่อใช้สนับสนุน ข้อสลุป  โดย สลุป จากของ ปะเภท หนึ่ง ไปยังของอีก ปะเภท หนึ่ง

การให้เหตุผลของ ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ในกรณีนี้ ผู้วิจารณ์เห็นว่าวิบัติ  เพาะว่า สิ่งที่นำมาเทียบ แตกต่าง กันอย่างสำคัญ  ยกเว้น สภาพอันหาชีวิตไม่แล้ว หลือ ฟามเป็นศพ เท่านั้นที่เหมือนกัน อันเป็นข้อเท็จจริงทางกายภาพ ของสรรพสิ่งทั้งปวงที่เคยยังชีวิตอยู่ในวัฎสงสาร  แต่จะนำมาปรับให้เป็นข้อเท็จจริงทางวัฒนธรรม และ ปัชญา หาได้ไม่  คนละระนาบความเข้าใจ และคนละมิติแห่งความจริง

สำหลับ การวิจารณ์ ปะเด็น ที่สาม ซึ่งคำวิจารณ์ภาษา อังกิด โปยหัว ว่า ชีวิตง่าย ตั้งแต่ยุคหิน ตาบ กะทั่ง ถึงยุคอินเตอร์เนต  ทั้งนี้ เพาะว่า การมองโลกง่าย ๆ อย่างสะเพร่า ในย่อหน้า 4, 8, 9  น่าจะเป็นโลกทัศน์ที่เกยตื้นหรือบ้องตื้น  เป็นความคิด ละหว่าง ยุคหินถึงก่อนยุคอินเตอร์เนต  ในยุคอินเตอร์เนตนี้จะมาตอแหลกันง่าย ๆ ไม่ได้แล้ว  สำนวนว่า “บ้องตื้น” อาจ แป เป็นสำนวน อังกิด ได้ว่า “shallow cylinder”  ซึ่งเป็นสำนวนที่เวลานี้คน อังกิด ยังไม่ ลู้จัก  แต่ในอนาคตน่าจะ ลู้ กันมากขึ้น  อย่างไล ก็ดี ผู้วิจารณ์เห็นด้วยกับท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ นะฮะ  ถ้าหากท่านจะพูดว่า คน เลา สามารถ ลับปะทาน หอยทากอันเป็นอาหาร ฝะหลั่งเศส โดยใช้ตะเกียบคีบกินก็ได้ ถ้าคิดจะทำซะอย่าง

ท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ อ้างสถานภาพความเป็นอาจารย์สอน ปะวัติศาสตร์  มาสยบข้อโต้แย้ง และบอกปัดการอ้างเหตุผลขัดคอ จากผู้อื่น ที่เวลาวีดีโอ 15:53 – 15:54  สนใจ โปดคิก ฟังและชม ซึ่งวิธีการยกสถานภาพด้านอาชีพ – a professional identity - ขึ้นมาอ้าง แทนที่จะอ้างเหตุผลเช่นนี้ มีข้อเสียหาย :

(1) เป็นวิธีการของ snob (ดูวีดีโอ “Status Anxiety”, Allen de Boton, นักปรัชญาอังกฤษปัจจุบัน, เวลาตามวีดีโอของ de Boton 00:13 – 00:24) 
(2) เป็นเหตุผลวิบัติชนิดพายเรือในอ่าง(circular argument) คือ หลักฐานหรือข้ออ้างไม่ได้เป็นอิสระจากข้อสรุป
(3) และเป็นเหตุผลวิบัติชนิดอ้างผู้รู้ที่ไม่เหมาะสม(appeal to inappropriate authority)

ผู้วิจารณ์แลไม่เห็นว่า ท่าน ลองศาสตาจารย์  เป็น คู สอน ปะวัติศาสตร์ ที่ ตงไหน  และเป็นมาได้ อย่างไล?  ปะวัติศาสตร์ ของท่าน ลองศาสตาจารย์  มีลักษณะ ค้าย ๆ ข่าวค้างสต็อค จากครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา หรือข่าวค้างสต็อคจากศตวรรษก่อน

เพาะนั้น กอนี  การพยายามจะยกสถานภาพด้านอาชีพขึ้นมาอ้างเพื่อ “เฟ้อคุณค่าตนเอง”(over-value) และเพื่อ “ด้อยค่า”(de-value)ผู้อื่นนี้  เป็นความประพฤติที่น่าอนาถ(crass behavior) – หมายถึง ความประพฤติ นะฮะ ไม่ใช่ตัวบุคคล  และเป็นวิธีการที่โง่บัดซบ(crass ignorance) – หมายถึง วิธีการ นะฮะ ไม่ใช่ตัวบุคคล

ปะเด็น ที่สี่ อาลมณ์ ขันทำให้ เลา เป็นคน  ปะเด็น นี้ ผู้วิจารณ์อ้างถึงย่อหน้า 9 และ 13  ที่ ลศ. สมศักด์ แจ้งผู้ฟังว่า ท่านจะเล่า เลื่อง ขำขัน  แต่ คั้น ผู้วิจารณ์ หาไม่เจอที่ขำ  จึงสงสัยว่า ลศ.สมศักดิ์  ยังจะเป็นคนอยู่ จิงหลือป่าว? 

ในย่อหน้า 12 ที่ ท่าน ลองศาสตาจารย์ พูดว่า “ผมไม่เคยคิดจะด่าเจ้า นี่พูดจิง ๆ นะฮะ(หัวเราะ) เลิกหนึ่งหนึ่งสอง ผมก็ไม่ด่า นี่พูดจิง ๆ นะฮะ” – ผู้วิจารณ์ฟังแล้วไม่ขำ และก็ไม่เห็นว่าจะ น่าหัวเลาะ ตงไหน  ไม่ทราบว่าที่ หัวเลาะ ออกมานั้น ท่าน ลองศาสตาจารย์  ขำ ตง ไหนครับ?  บอกหน่อยได้ไหมครับ?  หลือว่า ท่านเป็นนักแสดงหนังกำลังภายในชนิด “หัวเลาะ ไม่มีเหตุผล” ?  

หลือ ว่าท่าน ลองศาสตาจารณ์  ลำพองใจและย่ามใจ  อดไม่ไหวนึกอยาก หัวเลาะเยาะ

หลือ ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ใช้ ปะโยค นี้แสดงออกตามคำพังเพยที่ว่า ลิงหลอกเจ้า?

ปะเด็น ที่ห้า “คุณโกหก” กับ ทรงเสด็จ  ในย่อหน้า 10 ท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ บอกผู้ฟังคนที่ไม่เห็น ค้อย ตามแนวของตนว่า เขาพูดตอแหล!  ถ้าเรา วิเคาะห์ ตามทฤษฎีวิจารณ์วรรณกรรม ของ ฌาค ดาลิดา นักปัชญาชาวฝะหลั่งเศส และนักทฤษฎีวรรณกรรม ทฤษฎีของเขาชื่อ “รื้อแม่งเลย” หลือ  “Deconstruction”  เลา อาจนึกสงสัยว่า ลศ.สมศักดิ์ เลียนลู้ เลื่อง การอ้างเหตุผล มาจากพวกตลกคาเฟ่ มอนตี พายธ็อน ลึป่าว?  ส่วนการใช้ราชาศัพท์ “ทรงเสด็จ” นั้น ผิดหลักภาษาไทย  และเป็นความผิดชนิดบ้องตื้น หลือ สำนวนภาษาปะกิต  แต่เวลานี้ ฝะหลั่ง ยังไม่ ลู้จัก  เขาจะเรียกว่า  shallow cylinder

ปะเด็น ที่หก  งิ้ว หลง โรง  ผู้วิจารณ์ชี้ให้ท่านทูต ฝะหลั่งเศส  ปะจำปะเทศ ไทย เห็นกะตาว่า การใช้มือ ปะกอบ คำพูดของ ลศ.สมศักดิ์  ท่านทำมือขวาขึ้น ๆ ลง ๆ ชี้โบ้ชี้เบ้ ถึง ลาว  850 คั้ง ภายในเวลาสิบห้านาที  ค้าย ๆ กับ งิ้ว หลง โลง (หมายถึง หลงโรงละครหรือหลงโรงงิ้ว ไม่ใช่หลงไปลงผิดโลงศพ คนละโลงกับโลงที่เขา เตียม ไว้ให้ตัว)  อาการทำไม้ทำมือ ค้าย ๆ กับคนเสียสติ  ซึ่ง เลา สามารถปิดเสียงวีดีโอชมอาการนั้นได้แบบเน้น ๆ  และผู้วิจารณ์ก็ได้เชิญท่านทูต ฝะหลั่งเศส  ให้ลองปิดเสียงชม  จะเห็นแจ้งประจักษ์ ลาว กับว่า ท่าน ลองศาสตาจารย์  กำลังต้องการ การบำบัดทางจิต ซึ่งผู้วิจารณ์เห็นว่า Amnesty International France กับทางการ ฝะหลั่งเศส  น่าจะ พิจาละณา ให้วีซ่าชนิดอยู่ถาวรแก่ท่าน ลองศาสตาจารย์ ไปเลย  โดยออกวีซ่าชนิด lunatic asylum เพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษ – นอกเหนือจากวีซ่าชนิด political asylum ที่ได้ให้ไว้แล้ว  และด้วยเหตุผลทางมนุษย์ธรรม ผู้วิจารณ์ขอวิงวอนต่อ Amnesty International France และทางการ ปะเทดฝะหลั่งเศส  โปด ส่งตัวท่าน ลองศาสตาจารย์  เข้าบำบัด ลักษา ชนิดอยู่ถาวรในโลง พยาบาล โลค จิต ใน ปะเทศฝะหลั่งเศส 

ปะเด็น ที่เจ็ด วิชาการอื้อ  ได้วิจารณ์การอ้างเหตุผล โดยอาศัยชาร์ตที่แสดงด้วยแผ่น ก้าฟ  ซึ่ง ปะกอบ ด้วยแกนตั้ง-แสดงจำนวนคดี กับแกนนอน-แทนปีที่เกิดคดี  ก้าฟ ชนิดนี้พูด ตง ๆ ก็คือ ตาลาง ธรรมดาชนิดสองคอลัมน์  จึงเป็น ก้าฟ  ที่ไม่ได้ใช้วิธีการทางสถิติที่ลึกซึ้ง อะไล   เด็กป.4 อย่างสูงไม่เกินป.6 บางโลงเลียน ก็ทำได้  ทำแล้วนำมา คิก ขึ้นจอ (คลิกขึ้นจอ)

ไม่ได้เสียหาย อะไล เลย  ถ้าโชว์ ก้าฟ  ชนิดนี้เพียงเพื่อแสดงว่า ปีนั้นมีคดีเท่าไร ปีนี้มีคดีเท่าไร  แล้วให้จบแค่นั้น  อย่าพยายามแสดงเหตุผลยัดเยียดเข้าไปในแผ่น ก้าฟ  - โดยอาศัยบารมีของความเป็นเส้น ก้าฟ  มามั่วสนับสนุนเหตุผลนั้น ๆ  วิธีการนี้เป็นวิธีการของคนบางคน - ไม่ใช่ทุกคน ในสาย Humanities (ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา มานุษยวิทยา ศิลปะ ดนตรี) ที่ไร้เดียงสาในวิชาสถิติ แต่ชอบที่จะนำสถิติระดับประถม อนุบาล หรือทารกนิด ๆ  มาใช้เพื่อโชว์ให้คนเห็นว่า ตนกำลังแสดงเหตุผลอย่างเป็น “วิทยาศาสตร์”

ตอนนี้ท่านอยู่ในประเทศฝรั่งเศสแล้ว  ที่ฝรั่งเศส “เรา” เรียกวิชาสาย Humanities เช่น ประวัติศาสตร์ ว่า “ซิ อ้อง  อู แมน”(Science humaine)  “เรา” ถือว่าเป็นศาสตร์เกี่ยวกับ “มนุษย์”  เป็น “วิทยาศาสตร์” อยู่แล้วครับ  ท่าน ลองศาสตาจารย์  ไม่ต้องเว่อ

การแสดงเหตุผลอธิบายอาการขึ้นลงของ เส้นก้าฟ  ลศ.สมศักดิ์ พูดลอย ๆ ด้อยหลักความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่จะ พิจาละณา  1) สาเหตูที่จำเป็น – จะต้องมี ถ้าต้องการให้ผลเกิด  2) สาเหตุที่เพียงพอ – หากมีแล้ว ผลเกิดแน่  ตลอดจน 3) สาเหตุที่เพียงพอและจำเป็น – อันเป็นสาเหตุที่ทั้งจำเป็นและจะต้องมี จึงจะทำให้ผลเกิด

การอ้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของ ลศ.สมศักดิ์ ในย่อหน้า 19 ลศ.สมศักดิ์ ก่าว ว่าค้นหาสาเหตุได้ “ง่ายมาก”  แต่ถ้า ลาว (เรา)ได้ลองศึกษา โดยเฉพาะพวก ลาว (พวกเรา) ที่ miserably over-educated(มีการศึกษาสูงเกินไปอย่างน่าเวทนา) เช่น ตัวผู้วิจารณ์ เป็นต้น  ถ้าได้ศึกษา เลื่อง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ จอห์น สจวต มิลล์  ลาว ก็จะนึก ละแวง ว่า การที่จะกำหนดว่า อะไล เป็นสาเหตุของ อะไล  ไม่ใช่ เลื่อง ยากก็จริงอยู่  แต่ก็ไม่ได้หมู ๆ หลือ  “ง่ายมาก” อย่างที่ ลศ.สมศักดิ์ ก่าว ด้วน ๆ ทะลุกลางปล้อง อย่างนั้น 

การแสดงข้ออ้าง ปะกอบก้าฟ  ของ ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ เป็น fake statistical inference  ทำเป็น วิเคาะห์  ลึกซึ้งเพื่อสร้างความ ปะทับใจ  แก่บรรดาพวก statistical illiterate บางคนที่มาฟัง  นี่ไม่ได้ว่าพวกเขาเป็นควายหรือเป็นหมา นะ  เพาะว่า  ฟายกับหมา  มันจะ illiterate ไปไม่ได้ดอก  มีแต่คนเท่านั้นที่จะ illiterate ได้  ฟายกับหมา พวกเขาเป็น อะไล ที่ดีกว่านั้นเยอะเลย พูดตง ๆ  นะเนี่ยะ – ไม่ได้ แก้ง ยอ 

ข้อดีของการอ้างเหตุผลด้วยการ คิกชาร์ต ขึ้นจอของท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ก็มีอยู่ ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสีย ๆ ซะเมื่อไร  วิเคาะห์ ในเชิงบวกแล้ว พบว่า ท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ได้แสดงตนเป็นตัวอย่างอันดีเลิศ ประเสริฐศรี สะระแมนแต็น หาใดเสมอยาก  ท่านสามารถเป็นไปอย่างถูกต้อง คบถ้วนบอลิบูรณ์  ไม่มีผิดตกยกเว้นแม้สักตัวอักษร ตามคำของนักเขียนอเมริกัน นายมาร์ค ทเวน ที่ว่า

There are three kinds of lies: lies, damned lies, and statistics.” – Mark Twain

ผู้วิจารณ์รู้สึกอายปาก ที่จะ แป เป็นภาษาไทย  ก็เลยจะ ไม่ปงไม่แป  แม่ง ล่ะ

สำหลับ ปะเด็น การวิจารณ์ ปะเด็น ที่แปด ว่าด้วย เลื่อง  เลขคณิตแห่งการปฏิวัติ  ผู้วิจารณ์แสดงความเห็นไว้ว่า ลศ.สมศักดิ์ ท่านเป็นคนสำคัญคนหนึ่ง ถ้า เลา จะนับท่าน ลวม ไปกับพวก “นักปฏิวัติ” จำนวน ปะมาณ สองล้อย กว่าคน ที่ลี้ตัวเองออกไปอยู่นอก ปะเทศไทย ในเวลานี้  คน กุ่ม นี้เป็น กุ่ม “นักปฏิวัติ” ที่ไม่อิงศาสนา กุ่ม ใหญ่ที่สุดในโลก - ในปัจจุบัน 

ถ้า เลา จะยึดการปฏิวัติคิวบาเป็นเกณฑ์--อันเป็นการปฏิวัติของ กุ่มคน ที่ไม่อิงศาสนาเช่นเดียวกัน  ตำนานแห่งการปฏิวัติเล่าไว้ทำนองว่า ในวันที่ท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพวันหนึ่ง นักปฏิวัติไม่กี่คนเอง ลาว เจ็ดแปดคนเห็นจะได้  ลอยเลือ มาเกยหาดคิวบายามตะวันรอน  แล้วต่อมาก็ทำการปฏิวัติ สำเหล็จ  การปฏิวัติ คั้งนั้น ยืนยาวถึง ลาว  หกสิบปี  สมมติว่ายึดตามเกณฑ์นี้ นักปฏิวัติ สองล้อย คน ก็จะทำการปฏิวัติได้ ปะมาณ สามสิบ คั้ง  ซึ่งจะก่อให้เกิดการปฏิวัติที่ยืนยาว ลวมแล้ว ถึง ลาว 1,800 ปี -- ในโลกสมมติ( in a possible world) 

ผู้วิจารณ์ จะไม่แสดง ฟามเห็น ปะเด็น นี้เป็นที่ฟูมฟายมากมาย  แต่จะ ป่อย ให้ ลศ.สมศักดิ์ กับ “นักปฏิวัติ” จำนวน สองล้อย กว่าคนซึ่ง ลาว อาจนับ ลวม กันได้เป็น กุ่ม ๆ หนึง  หรือฝูงหนึ่งฝูง  สำนวนเช็คสเปียส์ว่า เป็น  a herd of boastful, self-glorious, low creature  ลาว (เรา)จะ ป่อย ให้พวกเขากินถั่วลิสงของพวกเขาไปจะดีกว่า  ส่วนผู้วิจารณ์ขอสั่งอาหาร ฝะหลั่งเศส ชื่อ Lobster thermidor ที่ ล้าน อาหาร ฝะหลั่งเศส ที่ภูเก็ต  อาหารจานนี้ชื่อพ้องกับชื่อเดือน ๆ หนึ่ง ในปฏิทินแห่งการปฏิวัติ ซึ่งปะเทศฝะหลั่งเศส  เคยใช้อยู่ ปะมาณ สิบสี่ปีในช่วงการปฏิวัติ ฝะหลั่งเศส  ผู้วิจารณ์ชอบกิน Lobster thermidor มากกว่าถั่วลิสง เพาะว่า ตัวเองไม่ใช่ลิง หลือ กะลอก

ปะเด็นที่ 9 วัตถุดิบที่น่าปื้ม(ปลื้ม) ผู้วิจารณ์ ลู้สึกปื้ม (ที่จริงริษยา) ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ที่สร้างสรรค์ผลงานยิ่งใหญ่ถึง ละดับ หนึ่ง  จนได้ ลับการยอมลับ จากทางการ ปะเทศฝะหลั่งเศส  มี ไค ทำได้อย่างท่านบ้าง? 

บ้านลาวเมืองลาว(เมืองเรา) ต้องมีคนอย่างท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ผู้ที่พออ้าปากพูด คนฟัง ลู้เลยว่า จะพูด เลื่องอะไล นะฮะ  ซึ่ง เลื่อง นั้น ก็คือ...ก็คือ...ก็คือ เลื่อง ที่จะติด ตะลาง ไม่เกินสิบสองปีนั่นเอง  ถ้าเป็น เลื่อง ที่ติด ตะลาง เกินกว่า อัตตา นี้  ท่านจะไม่เล่น  ท่านอั้นแค่สิบสองปี

การวิจารณ์ คั้งนี้ ผู้วิจารณ์ต้อง เตียม หลาย เลื่อง  เปี่ยนไป-เปี่ยนมา  นั่งเขียน กับไป-กับมา  จน บางคั้ง ลู้สึก  ถึง ความแปก ที่ต้องมาเขียน เลื่อง นี้  ต้อง แปไป-แปมา ไทยเป็น อังกิษ อังกิษ เป็นไทย  แต่เชื่อว่าใน ละยะยาว  ถ้าจะว่ากันเป็น ลูปปะธรรม งานนี้ต้องเปิด หลิก ชัง ลาลี - เอ๊ย- ดิคชันนา ลี (พูดผิด พูดใหม่ได้) เยอะเลย  ซึ่งผู้จารณ์จะไม่เปิดเผยว่าใช้ หลิก ชัง ลาลี - เอ๊ย- ดิคชันนา ลี (พูดใหม่ ก็ผิดอีก) เล่มไหน?  แต่จะ ป่อย ให้ มิตรลัก นักอ่านนึกเดา และวิวาทกันเอง ว่าเล่มไหนแน่? 

แต่จะว่าไป ผู้วิจารณ์ก็ได้รับความเพลิดเพลินจากการแสดง “ความ กึ่ง รู้” และ “ความรู้มาก แต่เข้าใจน้อย”(know a lot, but understand a little) ของท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ เยอะ นะฮะ  กอณี นี้ ลู้สึก สำนึกในบุญคุณท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ และจะไม่ เนละคุณ  ตรงกันข้าม - จะติดตามผลงานล่าสุด ที่ท่านสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ๆ สด ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มี เสลีภาพ เต็มที่ ใน ปะเทศฝะหลั่งเศส  เพื่อหาช่องทางวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปในอนาคต-แบบว่า ลักจิง  สมดังคำของ ออสคาร์ ไวล์ ที่ว่า Good friends stab you in the front. --มิตรที่ดี ย่อมแทงซึ่งหน้า--ถึงแม้ว่า เลื่อง ที่ผู้วิจารณ์ ลักจิง และเป็นมิตรที่ดีนั้น  ท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ อาจจะยัง ม่ายไล่ -เอ๊ย- ไม่ได้ (พูดผิด พูดใหม่ได้) หยั่งลู้ ก็ตาม

เนื่องจาก ต้นฉบับคำวิจารณ์เขียนเป็นจดหมายเปิดผนึก ถึงท่านทูต ฝะหลั่งเศส ปะจำปะเทศไทย  การวิจารณ์ ปะเด็น ที่สิบ อันเป็น ปะเด็น ลงท้าย ครูสอนการเขียนความเรียงท่านเรียก punch line จึงได้ใช้ภาษา ฝะหลั่งเศส  มาสร้างประเด็นพาดหัวไว้เพื่อให้เกียรติท่านทูต ว่า La faute de taille GMP  -- ปะเดี๋ยวจะ แป  ให้ท่าน ลองศาสตาจารย์ สมศักดิ์ ฟัง นะฮะ

มัน แป  ว่า “ความผิดพลาด ละดับ  เจ แอ็ม เป”  

ว่าไงนะฮะ?  อ๋อ แป  แล้วก็ยัง ไม่ลู้เลื่อง  อีก?  โอ หล่า ล้า  ไม่เป็น ไล  เป็นความผิดของ ผู้แป คับ อย่าวิตก – pas de souci 

สวัสดี



แดง ใบเล่ – Dan Bailé

บ้านนาพญา
หลังสวน

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ความคืบหน้า ภาษาอินโดเนเซีย รายงานครั้งที่สอง

แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ประสบการณ์และข้อมูลการเรียนภาษา
ที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อมิตรสหาย ที่กำลังเรียนภาษาอินโดฯ หรือภาษาอื่น


ผ่านไปอีก 15 บท รวมกับที่เรียนไปแล้ว 35 บท เป็น 50 บท  เริ่มเรียน ธันวาคมปีที่แล้ว (2557)  ถึงบัดนี้ - ธันวาคม 2558  เวลาผ่านไปแล้วหนึ่งปีเต็ม ๆ

ยังเหลือบทเรียนตามหลักสูตรอีก 90 บท  ในระยะหลังนี้ การเรียนยากขึ้น ไม่สามารถเรียนได้สัปดาห์ละบทเหมือนเมื่อรายงานครั้งแรก  ต้องใช้เวลาประมาณบทละสองสัปดาห์ หรือกว่านั้น  เพราะฉะนั้น คงต้องใช้เวลาเรียนอีกราว 180 สัปดาห์ หรือประมาณอีกสามปีครึ่ง จะจบหลักสูตร ประมาณปี 2562  อย่างไรก็ดี นี่เป็นประสบการณ์ของคนไม่มีพรสวรรค์เรื่องการเรียนภาษา มีแต่ “พรแสวง” คือมุมานะลูกเดียว  สำหรับผู้ที่ถนัดเรื่องนี้ คงไม่ต้องใช้เวลานานอย่างผู้เขียน


เพลง - อินโดเนเซีย รายา
ศิลปิน - เฟลิเป วัลเดส(ฝรั่ง พูดอินโดฯได้)

เวลานี้ รู้ศัพท์แล้วประมาณ 500 คำ(ตามทฤษฎี)  และตามทฤษฎีท่านว่า จะต้องรู้ศัพท์ราว ๆ 1,500 – 2,000 คำ  จึงจะใช้ภาษาได้ในระดับพื้น ๆ  ก็แปลว่า หนทางยังอีกยาวไกล.....คิดเป็นคำ ก็จะนานถึงพันคำหรืออีกสองปีเต็ม ถือว่าเพิ่งจะเริ่มหัดเดินได้ไม่เท่าไรเลย

บทเรียนช่วงที่เพิ่งผ่านไปแล้วนี้ นอกจากจะได้ขยายวงคำศัพท์ เช่น ก็อมปอรฺ – เตา เกอบุน – สวน เจินเดอลา – หน้าต่าง และชอบสุด รูมาหฺ กิตา – บ้านเรา เป็นต้น  ได้เรียนถ้อยคำสำนวน หรือ usages ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน เช่น เบอรับปะ ฮารฺกานยา – ราคาเท่าไร  มาฮัล – แพง  บารู – ใหม่ (เพราะฉะนั้น โกตา บารู เมืองหลวงของ         รัฐกลันตัน ในมาเลเซีย จึงแปลว่า เมืองใหม่  นานมาแล้วมีเพื่อนคนหนึ่ง ไปเที่ยวมาเลเซียด้วยกัน เรียกเมือง โกตา บารู ว่า “กัวเตมาลา”  มึน!)  และสำนวนการใช้ภาษา เช่น บุหงา อินี่ บุหงา อะปา?  ดอกไม้นี้ ดอกไม้อะไร?  ตลอดจน รูมะห์ อีตู้ รูมะห์ สิยับปะ?  บ้านนั้น บ้านของใคร? เป็นต้น

เรียนไวยากรณ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เหตุที่ภาษาอินโดเนเซีย ไม่มี Verb to be ประโยคที่นักภาษาเรียกว่า ประโยครูปสมการ(equational sentence) ซีกซ้ายเท่ากับซีกขวา เช่น “เขา เป็น ครู”  โดยที่ ซีกซ้าย “เขา” คือ หัวข้อเรื่อง และซีกขวา “ครู” คือ ภาคขยาย  ภาษาอินโดฯจะพูดว่า “เขา ครู” โดยไม่มีกิริยา เป็น-อยู่-คือ หรือ Verb to be มากั้นกลาง หรือจะนำภาคขยายขึ้นก่อนก็ได้ แล้วค่อยตามด้วยหัวข้อเรื่อง โดยพูดว่า “ครู เขา”  คนอินโดฯก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า เขาเป็น ครู  สำหรับประโยครูปสมการนี้ เราสามารถกลับซ้ายกลับขวาได้เสมอ โดยที่ความหมายยังคงเดิม

แต่ ถ้าจะพูดอย่างหลัง ต้องมีเทคนิคเล็กน้อย คือครูบอกว่า เราต้องหยุดระยะนิดนึง “ครู-เว้นระยะอึดใจหนึ่ง-เขา” 

สำหรับกรณีแรก ที่พูดว่า “เขา ครู” นั้น  หากต้องการความชัดเจนขึ้น  ท่านให้ใช้คำว่า “อิ ตู้” เข้ามาเสริมหลังคำว่า เขา โดยพูดว่า “เขา อิตู้ ครู”  หรือพูดว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองใหญ่ “บางกอก อิตู้ เบอะซารฺ”  คำว่า อิตู้ ปกติเมื่อทำหน้าที่ตามไวยากรณ์(grammatical function) หมายความว่า นั่น นั้น โน่น  แต่เมื่อมาทำหน้าที่แสดงความหมาย(semantic function) ก็จะไม่มีความหมายอะไร  เป็นเพียงคำมาช่วยคั่น ระหว่าง “หัวข้อ” กับ “ภาคขยาย” ในประโยคชนิดที่เป็นประโยคสมการ  ถ้าจะพยายามทำความเข้าใจตามคนพูดไทย ผู้เขียนเข้าใจเอาเอง ไม่รับรองความถูกต้อง คือเข้าใจว่า จะคล้าย ๆ กับคำว่า “เนี่ยะ”  เช่น เขา เนี่ยะ ครู  หรือ กรุงเทพฯ เนี่ยะ ใหญ่

นั่นคือบทบาทของ “อิตู้” ที่เป็น grammatical function และที่เป็น semantic function  ครูท่านแหย็ม ๆ มาให้เรารู้เรื่องนี้เพื่อเตือนว่า อย่าได้นำไวยากรณ์อังกฤษเข้ามาจับภาษาอินโดฯเด็ดขาด  ลึก ๆ ลงไปแล้ว มันคนละเรื่องคนละราวกัน และภาษาอินโดฯไม่ได้ง่ายอย่างที่นึก




เล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวช่วยเรียน  คือ แอป ANKIDroid ที่จริงตัวช่วยตัวนี้ก็คือ FLASH CARD หรือบัตรคำศัพท์ ที่นักเรียนภาษาทั้งหลายคุ้น ๆ กันอยู่  แต่ว่า เป็นบัตรคำศัพท์ที่พัฒนาไปไกล ประกอบด้วย features หลายอย่างที่จะช่วยความจำ  มิตรสหายผู้ที่ใหม่กับเรื่องนี้ คงต้องใช้เวลาศึกษาคุณลักษณะต่าง ๆ ของแอป เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่  เพิ่มเติม - สำหรับนักเรียนกฎหมาย ผู้เขียนเห็นว่าแอปนี้ น่าจะใช้ช่วยจำ         มาตราได้ด้วย เพราะเห็นนักเรียนกฎหมายหลายคน ใช้ FLASH CARD ช่วยจำมาตรา

ที่ผ่านมา แอปตัวช่วยเรียนอีกตัวหนึ่ง คือ กูเกิ้ล ทรานสเลเตอร์  ปรากฎว่าผู้เขียนไม่ค่อยได้ใช้ เพราะว่า ใช้วิธีเปิดดิคแบบดั้งเดิมสะดวกกว่า  ดิคที่ใช้อยู่เป็นพจนานุกรมเบื้องต้น สำหรับคนเริ่มเรียน ชื่อ Pocket Indonesian Dictionary ของ Tuttle สั่งซื้อจาก อะเมซอนดอทคอม จำนวนคำ 15,000 คำ 

เพลงที่ชอบในระยะนี้ คือเพลง เบิงกาวัน โซโล (แม่น้ำโซโล บนเกาะชวา) กับเพลง ไรว้น ปูโล กะละปา (=เสน่ห์อินโดเนเซีย แปลตรงตัวว่า เสน่ห์หมู่เกาะต้นมะพร้าว)  และเพลง อินโดเนเซีย รายา (เพลงชาติอินโดฯ)  ส่วนละครโทรทัศน์ ซึ่งน่าสนุกและมีมากมาย ภาษาอินโดฯ เรียก “sinetron” อยู่ในยูทูบเพียบ ก็หัดดูเมื่อมีโอกาส เพื่อหัดฟังภาษา-ซึ่งรู้เพียงคำสองคำ กับหัดดูนิสัยใจคอตัวละคร -- เท่าที่จะเดาได้ ละคร ซิเนตร็อน มักจะแสดงแบบเว่อร์ ๆ อีกนัยหนึ่ง “over act” เพราะฉะนั้น ดูไม่ยาก แม้จะยังไม่รู้ภาษาก็ตาม.....

--ขอบคุณ ที่ติดตาม (มิตรสหาย facebooker/facebooky ทั้งหลาย กำลังถูกยืมตัวมาช่วยทำหน้าที่ผู้ปกครองนักเรียน โดยไม่รู้ตัว)




รายงานเผยแพร่ เมื่อ 1 ธันวาคม 2558
เผยแพร่ที่ www.pricha123.blogspot.com
แล้วจะรายงานต่อไป เป็นระยะ ครับ