ประสบการณ์และข้อมูล
ที่อาจจะเป็นประโยชน์
ต่อมิตรสหายที่กำลังเรียนภาษาอื่น ๆ
ด้วย
สิ้นพฤษภาคม 2558
ผ่านไปอีก 15 บท รวมตั้งแต่ต้น เรียนไปแล้ว 35 บท เริ่มเรียนธันวาคม 2557 เวลาผ่านไปแล้ว 6 เดือน ยังต้องเรียนอีก 100 บท ความเร็วการเรียนเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 บท
เพราะฉะนั้น ต้องใช้เวลาอีก 2 ปี จึงจะจบหลักสูตรในปี 2560
เวลานี้ รู้ศัพท์แล้วประมาณ 250 คำ(ตามทฤษฎี) เริ่มรู้ไวยากรณ์แห่งการเรียงคำ ภาษาอินโดไม่มี Verb
To Be เพราะฉะนั้นการเรียงคำจึงสำคัญ เรียงผิด ความหมายผิด เช่น กันตอรฺ อันดา แปลว่า ที่ทำงานของคุณ
ถ้าเรียงผิดเป็น อันดา กันตอรฺ จะแปลว่า คุณคือที่ทำงาน!
การออกเสียง ร.เรือ ในภาษาไทยออกเสียงเฉพาะ
ร.เรือที่ขึ้นต้นคำหรืออยู่กลางคำ เช่น โรงลิเก หรือกระออม แต่ถ้า ร.เรือเป็นตัวสะกด จะออกเสียงเป็น น.หนู
เช่น อาคาร แต่ในภาษาอินโดเนเซีย
ร.เรือออกเสียงหมดทั้งสามตำแหน่ง เช่น rumah, kira, และที่เป็นตัวสะกดเช่น
kotor
อนึ่ง ร.เรือ ในภาษาอินโดฯ ออกเสียงรัว
มากกว่าเสียง ร.เรือในภาษาไทยใต้เสียอีก จะคล้าย ร.เรือ ในภาษาสเปน
อาหารเช้าวันหนึ่งของผู้เขียน เตอลูรฺ กอเร็ง(ไข่ทอด)
กับ อีปัน(ปลา) ส่วนพจนานุกรมภาษา
อินโดฯ ตั้งโชว์เฉย ๆ ไม่ได้กินครับ
ไม่ใช่ พวก “โลกซวย”
เวลาเรียนภาษาตปท.
แล้วละก้อ จะต้องกินดิคชันนารีเข้าไปด้วย
|
แอปที่ใช้เป็นตัวช่วยเรียนคือ AnkiDroid ซึ่งเป็นแอปฟรี และที่จริงแอปนี้ใช้เรียนภาษาอะไรก็ได้ ป็อกเก็ตบุคประกอบการเรียน-เป็นการต่างหากนอกหลักสูตร
ใช้ Indonesian phrasebook ของ Lonely Planet ส่วนเอกสารตามหลักสูตรมีเยอะ พจนานุกรมที่ใช้ คือ Pocket Indonesian
Dictionary ของ Tuttle (ประมาณ 15,000 คำ) ซื้อทางอะเมซอนดอทคอม ที่เป็นประโยชน์มากอีกแอปหนึ่ง
คือ กูเกิล ทรานสเลเตอร์ ซึ่งเป็นแอปฟรีเช่นเดียวกับ AnkiDroid แต่ว่า AnkiDroid เมื่อโหลดมาแล้วสามารถทำงานได้อย่างอิสระ ไม่ต้องต่ออินเตอร์เนต ส่วน
กูเกิ้ล ทรานสเลเตอร์ ต้องต่อเนต ม่ายงั้นมันจะแปลอะไรไม่ออก มันจะเอ๋อ
เล็ก ๆ น้อย ๆ โปรดทราบ เวลาหาแอป กูเกิ้ล
ทรานสเลเตอร์ ในกูเกิล เพลย์ อย่าเลือกหมวดเรียนภาษา-มันไม่ได้อยู่ในนั้น แต่จะอยู่ในหมวดพจนานุกรม และเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับภาษาอินโดฯ
เป็นภาษาราชการของประเทศอินโดฯ มีพลเมืองใช้ภาษานี้ 250 ล้านคน
เป็นญาติสนิทของภาษามาเลย์ ในมาเลย์เซียและบรูไน และใกล้ชิดกับภาษา “ยาวี”
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาษาอินโดฯจึงสังกัดกลุ่มภาษาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน นอกจากนั้น-ก็ยังมีอิทธิพลต่อภาษาถิ่น-ไทยใต้
เช่น ชื่อจังหวัดชายทะเลตะวันตกทุกจังหวัด เป็นชื่อภาษาตระกูลมาเลย์-อินโดฯ ตั้งแต่ระนองถึงสตูล และคำภาษาถิ่น-ไทยใต้ หลายคำมาจากภาษาตระกูลนี้
เช่น ควน ที่ภาษาไทยมาตรฐานเรียกว่า เนิน
มุดสัง ที่ภาษาไทยมาตรฐานเรียกว่า ชะมด เป็นต้น
ขอบคุณ มิตรสหายบางท่าน
ผู้รู้ภาษาอินโดฯอยู่แล้ว ที่ให้กำลังใจ...ขอบคุณมาก ๆ และ ขอแบ่งปันข้อมูลประสบการณ์การเรียนกับท่านทั้งหลาย
ที่อาจจะกำลังเรียนภาษาอินโดฯ หรือภาษาต่างประเทศไม่ว่าภาษาใด เช่น หนังสือ phrasebook
ของ Lonely Planet เขาก็มีหลายภาษา หรือบริษัท
โรเซ็ทตา สโตน เขาก็สอนหลายภาษา ฯลฯ
www.pricha123.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น