”มนุษย์คนแรกสุด จะเป็นใครก็ตาม ที่ละเมิดเพื่อนมนุษย์ด้วยคำสบถ แทนที่จะปรี่เข้าไปใช้ท่อนไม้ตีกบาลจนสมองกระจุย พึงถูกจารึกชื่อไว้ว่าเป็นปูชนียบุคคล--ผู้วางรากฐานรองรับอารยธรรม” --จอห์น โคเ็ฮน 1965
"The man who first abused his fellows
with swear
words, instead of bashing their brains out with a
club, should be counted among those who laid the foundations of
civilization." --John Cohen, 1965
ปรัชญา – ของประโยคข้างบน
ปรัชญาในที่นี้
หมายความว่า พิจารณาด้วยเหตุผล
ประพันธ์สรรพนาม
“who” ที่นำหน้าอนุประโยค who first abused his
fellows with swear words อ่านเผิน ๆ เราอาจจะนึำกว่าใช้ “that”
แทนเสีย ก็น่าจะได้
ครั้นลองแทนดูโดยเปลี่ยนจาก
The man
who… เป็น The man that… แล้วลองอ่านประโยคที่เปลี่ยนใหม่—บางท่านอาจจะรู้สึกแปร่ง ๆ ทะแม่ง ๆ ชอบกลอยู่
จริง
ๆ จะเข้าทำนอง “ไม่ใช่แฟนถึงทำแทนได้ เธอก็ไม่ให้ทำ” ซะมากกว่า(ไอเดียจากเพลง.....ของ.....) เพราะฉะนั้น ตรงนี้ต้องเป็น who ตามที่คุณ John Cohens เขียนไว้ เนื่องจากอนุประโยคที่นำด้วยประพันธ์สรรพนาม จะแสดงบทบาทไวยากรณ์
- ในที่นี้ก็คือการทำหน้าที่ในภาคส่วนของคำพูด หรือ part of speech เสมือนคำคุณศัพท์
ไวยากรณ์จึงเรียกอนุประโยคชนิดนี้ว่า
คุณานุประโยค
บอกให้รู้ว่าทำหน้าที่เสมือนคำคุณศัพท์ คอยแสดงบทบาทพรรณนา ขยาย บรรยาย คำนามที่มาก่อนหน้้า
(ที่อยู่ในประโยคหลัก) ไวยากรณ์เรียกคำนามที่มาก่อนหน้าและถูกแทนที่ด้วยคำสรรพนาม
ว่า แอน-ติ-ซี-เด็น antecedent โดยที่ ante-แปลว่า ก่อนหน้า คนละคำกับ anti-ที่แปลว่า ปฏิปักษ์
ซึ่งในกรณีนี้ แอน-ติ-ซี-เด็น คือ The
man
แต่
การแสดงบทบาทคุณศัพท์ ของอนุประโยคชนิดคุณานุประโยค แสดงบทได้สองวิธี
หนึ่ง.
พรรณนาแบบชี้เฉพาะ เจาะจง ว่าเป็นคน ๆ นั้น
หรือสิ่งของชิ้นนั้น
สอง. บรรยายแบบไม่ได้ชี้ชัด
ว่าจะต้องเป็นคน ๆ นั้น เท่านั้น
คิดง่ายๆ
กรณีของเรา ไม่ เข้าข่ายข้อหนึ่ง. เพราะตามเนื้อความ
The
man who…
หมายถึงมนุษย์คนแรกสุด
จะเป็นใครก็ตาม ที่ละเมิดเพื่อนมนุษย์ด้วยคำสบถ จะหมายถึงมนุษย์คนใดก็ได้้ ขอให้เป็นคนแรกสุดแล้วกัน
ไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าเป็นคุณสมชาย หรือคุณสมหญิง หรือใคร เมื่อไม่เข้าข่ายข้อหนึ่ง. ก็ต้องปรับเข้าข้อสอง.
คือชี้เฉพาะ เพราะว่ามีอยู่เพียงสองประเภท
แต่
จะใช้ that แทน who ไม่ได้ มีเหตุผลดังนี้...
เนื่องจาก
ตามท่วงทำนองของไวยากรณ์ ประพันธ์สรรพนาม that ซึ่งมีรากเหง้าดั้งเดิม ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ชนิดชี้เฉพาะ -Demonstrative
Adjective เช่น that politician, that
musician, that mathematician เป็นต้น เมื่อหันมาแสดงบทบาทสรรพนาม ก็จะ แฝงพลังแห่งการชี้เฉพาะเจาะจงตัวมาด้วย
ต่างจากประพันธ์สรรพนาม who อันไร้พลังแฝงแห่งการชี้ตัวและไร้สีสัน
จะชี้กราดถึงบุคคลทั่วไปหมายถึง ใคร ๆ ก็ได้ เสียมากกว่า เข้าทำนอง ใด ๆ ในโลกล้วน
อนิจจัง หรือ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
อันใด พี่เอย เป็นต้น ต่างก็ไม่ได้ชี้ชัดว่า คือใคร ชื่ออะำไร พระเพื่อน หรือพระแพง หรือพระลอ หรือว่า ใคร?
The
man that..
จึงต่างกับ The
man who…
สมมติว่า
วิวาทกันแล้ว แม้จะไม่ได้ปรี่เข้าไปตีจนสมองกระจุย แต่ก็วิวาทด่าทอถึงขั้นตำรวจจับขึ้นโรงพักแล้ว เราจะใช้ The man that…
แต่ถ้ายกขึ้นมาพูดเป็นภาษิต
หรือเป็นเชิงอุทธาหรณ์ หรืออุปมาอุปมัย หรือเปรียบเปรย เป็นกรณี ชี้กราดทั่วไป ท่านให้ใช้ The man who… ดังกรณีนี้
ทั้งนี้จะมีคำแปลทำนองว่า “มนุษย์คนแรกสุด จะเป็นใครก็ตาม ที่ละเมิดเพื่อนมนุษย์ด้วยคำสบถ... ”
ถ้าเป็น The man that…
หมายความว่าขึ้นโรงพักแล้ว คำแปลก็จะเปลี่ยนไปกลายเป็นว่า “ชายผู้นั้้น
ผู้เป็็นคนแรก ที่ละเมิดเพื่อนมนุษย์ด้วยคำสบถ...”
The
man who… กับ The man that… จึงแตกต่างกันด้วยประการฉะนี้
– แดง
ใบเล่
Email: pricha123@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น