open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Nobel Peace Prize 2013: coffee threat on board Cathay Pacific

พาดหัว-เจ้าของบล็อกนี้ เขียนพาดหัวเอง เนื้อข่าว-ตัดจากข่าว สำนักข่าวฝรั่งเศส AFP

According to the newspaper, her Facebook post said: "I never expected that [Paetongtarn] was on board today. I immediately told my flight manager I could not work knowing the daughter of my enemy was on the plane.
"I called my personal adviser asking if it would be all right to throw coffee at Paetongtarn, but was told that this could breach Hong Kong's laws.
แปลเนื้อข่าว
ตามข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น  ข้อความเฟสบุคของเธอเขียนว่า “ฉันไม่คิดเลยว่า [นางสาวแป๊ะโถ๊งถ่าง]จะอยู่บนเครื่องวันนี้  ฉันแจ้งผู้บริหารเที่ยวบินของฉันว่า ฉันไม่อาจทำงานได้เมื่อรู้ว่าลูกสาวของศัตรู อยู่ในเครื่องบิน

“ฉันโทรศัพท์ถามที่ปรึกษาส่วนตัวว่า  จะเป็นอะไรไหมถ้าฉันสาดกาแฟใส่นางสาวแป๊ะโถ๊งถ่าง  แต่ฉันได้รับคำตอบว่าการกระทำเช่นนี้ ผิดกฎหมายฮ่องกง”

วิเคราะห์ไวยากรณ์อังกฤษ  ของประโยคข้างบน


จะวิเคราะห์ไวยากรณ์เฉพาะย่อหน้าแรกย่อหน้าเดียว โดยวิเคราะห์เรื่องการใช้เครื่องหมายวรรคตอนเท่านั้น

จังหวะการวางเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ บางครั้งเป็นปริศนา ระดับปัญหาพระยามิลินท์สำหรับนักเรียนไทย

ย่อหน้าแรกประกอบด้วยประโยคความซ้อน สังกรประโยค สองประโยค  ใช้เครื่องหมายวรรคตอนที่สำคัญๆของภาษาอังกฤษถึงสี่เครื่องหมายด้วยกัน เรียงตามลำดับที่ใช้ ดังนี้: คอมมา โคลอน วงเล็บ และฟุลสต็อป  ส่วนเครื่องหมายคำพูดเป็นเรื่องง่าย ขอละไว้ ไม่พูดถึง

คอมมา  ใครว่าง่าย นี่คือเครื่องหมายโคดหินของภาษาอังกฤษ  นักเขียนบิ๊กๆดังๆเจ้าของภาษาเอง ยังวางผิดวางถูก สำมะหาอะไรกับเราผู้เป็นนักเรียนต่างประเทศ ผู้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่

คล้ายกับเครื่องหมาย จันทรพินทุ ที่เด็กแขกชอบลืมใส่ หรือบางทีไม่ลืมแต่ไม่แน่ใจว่าจะวาง แม่งตรงไหน  โดนครูตีมือหักมาเยอะแล้ว ทั่วประเทศอินเดีย

ประโยคตัวอย่างเขียนว่า  According to the paper แล้วก็วางเครื่องหมาย คอมมา แหมะลงมา  ก่อนที่จะเริ่มเขียนต่อไปว่า Facebook post said

ทำให้เรา ผู้อ่าน เกิดอาการ “สะดุด”  ซึ่งคนเขียนข่าวต้องการให้เราหยุดนิดนึง ไม่ให้อ่านเป็นพืด แต่ก็ไม่ใช่ให้สะดุดชนิด “สะดุดหยุดอยู่” แบบเครื่องหมายฟุลสต็อป  ให้สะดุดนิดเดียวแล้วจึงค่อยอ่านต่อไป  เท่ากับเตือนให้เราระวังกับสิ่งที่จะตามมา

        ตามข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น    (สะดุดนิดนึง)
        หน้าเฟสบุคของเธอเขียนว่า      (หน้าเฟสบุคของเธอ นี่คือ สิ่งที่เราควรสนใจ)

การทำหน้าที่สะดุดนิดนึง เตือนให้เรารู้ว่าสิ่งที่น่าสนใจจะตามมา เป็นหน้าที่หนึ่งในบรรดาหน้าที่ 108 หน้าที่ของคอมมา ที่จริงไม่ถึง 108 หรอก พูดเป็นสำนวนเพื่อจะบอกว่า เยอะแยะ  ที่จริงมีอยู่ราวสิบยี่สิบเอง

สมมติว่า เรายกคอมมา ออกไปเสีย ข้อความนั้นจะกลายเป็น

        According to the newspaper her Facebook post said

ถ้าเราได้ลองอ่านข้อความเปรียบเทียบกัน ทั้งที่มีคอมมาและไม่มีคอมมา ทบทวนดูสองสามครั้ง  เราน่าจะรู้ได้เองว่าความรู้สึกต่างกัน  ถ้าอ่านเป็นพืดไม่มีคอมมา คำว่าหน้าเฟสบุคของเธอ จะไม่ถูกชูให้เด่นขึ้นมาจากเนื้อความ

ทั้งหมดนั้น พูดแบบบ้านๆอิงกับประสบการณ์ของคน  แต่ตามหลักไวยากรณ์การวางตำแหน่งคอมมาสำหรับกรณีตัวอย่าง  ท่านว่า คอมมา มาช่วยเสริมความแกร่งให้กับข้อความ(reinforcing statements)  ข้อความที่ประกอบด้วยวลีบุพบท According to the paper (วลีบุพบทวลีนี้หมายความว่า On the authority of  the paper)  เมื่อซ้อนตามมาด้วยอนุประโยคที่ว่า her Facebook post said โดยมี คอมมา คั่นอยู่  คอมมา ณ ตำแหน่งนั้นช่วยเสริมความแกร่งให้กับข้อความโดยรวม

        According to the paper, her Facebook post said

ขอจบเพียงเท่านี้ครับ  ประเด็นอีก 107 ประเด็นของ คอมมา กับเรื่องเครื่องหมายวรรคตอนอีกสามเครื่องหมาย คือ โคลอน วงเล็บ และฟุลสต็อป  ถ้ามีโอกาสจะโพสต์โอกาสหลังๆ...bye – ขอบคุณที่ท่านเยี่ยมชม


การวิเคราะห์ไวยากรณ์ครั้งนี้ - มีจิตประสงค์เพื่อทบทวนไวยากรณ์อังกฤษ ให้กับตัวเอง(for me)  เพราะตนเองใช้ภาษาอังกฤษประจำทุกวัน  แต่ก็ถือโอกาสแบ่งปันการทบทวนไวยากรณ์ประเด็นลึกซึ้งประเด็นนี้ ( “It’s deep.” ) กับมิตรสหายเฟสบุคและท่านผู้อ่านบล็อก(for u, and for all of us)  กรุณาอย่าขยายผลให้ที่อื่นรู้ (they aren’t us. = พวกเขา ไม่ใช่ พวกเรา)

เดฟ  เชื่อก็เชื่อ/ไม่เชื่ออย่าเชื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น