ตอน 15 คู่ผัวตัวเมีย ปิแยตุ๊ด-อุชเชนี และพวกฝรั่งเศสโมเดล พูดทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องนี้...แกล้งโง่กันเปล่า?
ยกตัวอย่างเช่น มาดาม
อู่ จี้ นิ (มี เงิน นะ) เมียชาวฝรั่งเศสที่พูดเยอรมันได้ ของ ปิแยตุ๊ด ผู้ที่พูดเยอรมันไม่ได้ และยังทำอะไร ที่ มัน ๆ ไม่ได้อีกอย่างสองอย่าง
ส่วนจะเป็นอะไรมั่ง ก็ไม่รู้จิ อิ อิ อิ อิ อิ.....
อู่ จี้ นิ แกพูดเรื่องเมืองไทยได้ทุกเรื่อง
ไม่เชื่อก็ลองเคาะฟังยูทูปนับสิบ นับร้อย หรืออาจจะเป็นพันหรือหมื่นรายการ ของแกดูเด่ะ แต่ยกเว้นเรื่องเดียวเกี่ยวกับเมืองไทยที่แกไม่ยอมพูดซะที
คือเรื่อง การที่สยามต้องเสียดินแดนห้าครั้งให้แก่ฝรั่งเศส ในช่วงสี่สิบปี
ระหว่าง ค.ศ. 1867-1906 (พ.ศ. ๒๔๑๐ – ๒๔๔๙) ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวนั้น
อยู่ในช่วงสาธารณรัฐที่ 3 ของฝรั่งเศส
เป็นครั้งแรก นะเนี่ยะ...รู้ป่าววววว?
ไม่สังเกตจะไม่รู้ มันจะผ่านหงายเงิบไปป่าววววว ๆ คือว่า เป็นครั้งแรก นะเนี่ยะ แทนที่จะเขียนว่า สยามเสียดินแดน ในสมัยรัชกาลที่ห้า แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเด็นนี้กลับพลิกประเด็นพูดเสียใหม่ให้ชัด ๆ ตรงกับเรื่องมากก่า ก่า ก่า ว่า สยามเสียดินแดนให้แก่ สาธารณรัฐที่ 3 ของฝรั่งเศส อิ อิ อิ อิ อิ.....
ตะแบงประเด็น? หามิได้ กำลังปิ้งปลาให้สุกทั้งสองข้าง
ลำดับการเสียดินแดนสยาม ให้แก่สาธารณรัฐที่ 3 ของฝรั่งเศส เป็นดังนี้
1867 เสีย
เขมรส่วนล่างอันเป็นเขมรส่วนใหญ่ ติดกับญวณ
1888 เสีย เสียแคว้นสิบสองจุไทย (อยู่ทางตะวันตกของญวณเหนือ)
1893 เสีย ดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
(หันหน้าไปทางปากน้ำ อยู่ด้านซ้ายมือ ซึ่งก็คือ ประเทศลาวเกือบทั้งประเทศในปัจจุบัน)
1903 เสีย ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
(คือ ดินแดนเสี้ยวหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง)
1906 (และก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพียงแปดปี) เสีย จังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ คือดินแดนตอนเหนือของทะเลสาบเขมร ติดกับ ชายแดนไทยปัจจุบัน)
จะไปกล่าวหา “ด่าว่า” มาดาม “ซ้อ” อู่ จี้ นิ ข้างเดียวก็คงจะไม่ถูก ก็เมื่อนิตยสาร “สารคดี” อันมีชื่อเสียงของเสี่ยเบ๊นซ์ เจ้าของอุทยานอิงประวัติศาสตร์ ”เมืองโบราณ” ดำเนินการสัมภาษณ์มาดาม “ซ้อ” เป็นวรรคเป็นเวร ตั้งคำถามแทบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องนี้เรื่องเดียวที่ “สารคดี” ไม่ถาม
เมื่อไม่ถาม จะให้ตอบกะผี อะไรเล่า
ประเด็นที่ว่านี้ เป็นเรื่องเดียวเกี่ยวกับเมืองไทย ซึ่งมาดาม “ซ้อ” อู่ จี้ นิ ไม่เคยพูดเลย ไม่ว่าจะก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้น หรือว่าก่อนหน้าไหน หรือหลังจากไหน
ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้ เราจะไม่มีวันได้รับคำตอบจากใคร ดีเท่ากับที่เราจะถามเอาจากคนฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมืองไทย เช่น มาดาม อู่ จี้ นิ เป็นต้น
อีกประการหนึ่ง ในปี ค.ศ.
2012 University of Toronto ประเทศคานาดา
ได้ให้ทุนอุดหนุน เพื่อแปลงเป็นรูปแบบดิจิตัล ซึ่งเอกสารสำคัญเกี่ยวกับ อินโดจีนของฝรั่งเศส
และต่อมาในปี 2018
(อีกแล้ว)ที่ Getty Research Institute ก็ได้ให้ทุนอุดหนุน
กิจกรรมเดียวกันนั้นกันต่อมา
เช่น เอกสารชื่อ “Mission
Pavie Indo-Chine, 1879-1895: Géographie et voyages” (ภารกิจ ปาวี
อินโด-จีน 1879-1895: ภูมิศาสตร์ และ การเดินทาง) Digitized by the Internet Archive (with
funding from University of Toronto, 2012) เอกสารฉบับนี้มีจำนวน 558
หน้า ว่าด้วยกิจกรรมของอดีตกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ
ที่คนไทยรู้จักกันอย่างเกลียดชังในนาม “ม. ปาวี”
หรือเช่น เอกสารชื่อ “MISSION
PAVIE, INDO-CHINE, ATLAS, Notices et Cartes “ (ภารกิจ ปาวี
อินโด-จีน แผนที่ ข้อสังเกต และ แผนภาพ) Digitized by the Internet Archive
(with funding from Getty Research Institute, 2018) เอกสารฉบับนี้มีจำนวน
78 หน้า เป็นต้น...
เป็นต้น (เป็นต้น
แปลว่า ยังทีอีก นะจ๊ะ)
กระทรวงอาณานิคม Ministere
des Colonies ซึ่งเมื่อ ค.ศ. 1946 เปลี่ยนชื่อเป็น Ministere des Outre-mer ก็ได้ขนเอกสารเก่า
ขึ้นอินเตอร์เนต เปิดเผยไปแล้ว อื้อซ่า (อื้อซ่า แปลว่า จำนวนมาก)
ปฏิวัติฝรั่งเศส 1789
เกิดขึ้นแล้วตั้ง 104 ปีก่อนเกิด เหตุการณ์ร.ศ.112
หรือเรียกกันในต่างประเทศว่า สงครามฝรั่งเศส-สยาม 1893
ฝรั่งเศสเป็นประชาธิปไตยแล้ว ครับ
ดัง มาดาม อู่ จี้ นิ และ ปิ แย ตุ๊ด จะเห็นได้ว่า กรณีพิพาทกับราชอาณาจักรสยาม เรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาฝรั่งเศส ตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2435 (อีกนัยหนึ่ง รศ. 111)
คำถามมีว่า:
โดยความเห็นชอบของรัฐสภาฝรั่งเศส
ระบอบประชาธิปไตยฝรั่งเศส ใช้หลักประชาธิปไตย โดยประชาชน ของประชาชน
เพื่อประชาชน และหลัก เสรีภาพ-เสมอภาค-ภราดรภาพ
ข้อใด มาแย่งชิงดินแดนเอาไปจากสยาม
รัฐสภาฝรั่งเศส ได้สอบถามความเห็น จากประชาชนชาวสยามแล้วหรือยัง?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น