วิจารณ์การบรรยาย “สิทธิมนุษยชน” วิชา TU 111 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้บรรยาย ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล
ต้นฉบับวีดีโอคำบรรยาย
https://www.youtube.com/watch?v=_B-yK6QBRl0
ในวีดีโอคำบรรยาย อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้เป็นเจ้าภาพ
ตั้งประเด็นการบรรยาย ว่า
“สิทธิมนุษยชน
- อะไรวะ?”
ผู้เขียน จึงได้ตั้งชื่อบทวิจารณ์ ตอบสนองว่า
“สิทธิมนุษยชน
– ว๊าย ห่นหลี!”
ประเด็นวิจารณ์ ที่หนึ่ง. บกพร่องในการแสดงเหตุผลพื้นฐาน
เกี่ยวกับความเป็น“สากล” ของสิทธิมนุษยชน ไม่ชัดเจนในประเด็นที่ควรแยกให้เห็นว่า
สิทธิมนุษยชนคืออะไร?(ปรัชญา/ธรรมะ)
กับสิทธิมนุษยชนมีอะไรบ้าง?(ข้อปฏิบัติทางการเมือง)
ผู้วิจารณ์ขออ้าง ศาสตราจารย์ Lynn
Hunt ชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญประวัติวัฒนธรรมฝรั่งเศส และประวัติศาสตร์การเมืองฝรั่งเศส
ผู้มีผลงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ตีพิมพ์
ผู้สรุปว่า ฝรั่งเศสคือต้นกำเนิดสิทธิมนุษยชนอันเป็น
สากล Human rights – French origin
ผู้วิจารณ์พบว่า“คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง” ในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี 1789 ประกาศในเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะประกาศรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฝรั่งเศส ปัจจุบันคำประกาศฯมีต้นฉบับเป็นแผ่นป้าย
เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Musée Carnavalet กรุงปารีส
“คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง” ได้ประกาศสิทธิของมนุษย์ทั่วไป(เป็นสากล) ไม่ได้จำกัดเฉพาะสิทธิคนฝรั่งเศส ปัจจุบันระบบกฎหมายฝรั่งเศสยังถือว่า เอกสารนี้มีศักดิ์อยู่ในกลุ่มกฎหมายที่เทียบเท่ารัฐธรรมนูญ
แต่ กฎหมายแสดงสิทธิเฉพาะกลุ่มชนที่เรียกว่า bill
of rights มีอยู่ในวัฒนธรรมการเมืองแองโกล-แซกซอน(อังกฤษ-อเมริกัน)
ซึ่งประกาศสิทธิจำเพาะของคนอังกฤษหรือของคนอเมริกัน ไม่ใช่สิทธิแห่งมนุษยชนคนทั่วไป รัฐธรรมนูญอเมริกันขึ้นต้นว่า “We the
people…..” นั่นเป็นการแสดงสิทธิเฉพาะของคนอเมริกัน ไม่ใช่คนอังกฤษ
หรือคนในบังคับอังกฤษ หรือมนุษยชนคนทั้งโลก
“ปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน” ปี 1948 ขององค์การสหประชาชาติ เป็นเอกสารฉบับที่สอง
ที่ประกาศสิทธิมนุษยชนอันเป็น สากล โดยผู้แทนฝรั่งเศสเป็นผู้ยกร่าง อาศัยบารมีของนางเอเลนา
รูสเวลท์ ภรรยาประธานาธิบดีอเมริกัน ช่วยผลักดัน
ประเด็นวิจารณ์ ที่สอง. แปลคำว่า “men” ผิดจังเบอร์
ที่เวลาวีดีโอ 0:18:51 ท่านอาจารย์กล่าวถึงคำประกาศเอกราชอเมริกัน ที่มีข้อความว่า All
men are created equal. ท่านอาจารย์ย้ำว่า “แต่ที่น่าสังเกตก็คือ
เขาใช้คำว่า MEN นะ ผู้ชาย... อย่างที่บอก สิทธิในตอนนั้นเนี่ยะ
ยังจำกัดอยู่เฉพาะ ผู้ชาย ผิวขาว ที่ร่ำรวย
มีทรัพย์สิน.....ผู้หญิงแทบไม่มีสถานะเลย....”
ประเด็นนี้ขอวิจารณ์ว่า คำว่า “men” ในบริบทนี้หมายถึง “มนุษย์ทั้งหลาย” ไม่ได้แปลว่า “ผู้ชาย” อย่างที่ อจ.เบญจรัตน์บรรยายให้นักศึกษาฟัง
ผู้วิจารณ์เชื่อว่าอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ
ทุกท่าน ในมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งที่เป็นไทยและฝรั่ง เห็นตรงกับผู้วิจารณ์ในประเด็นนี้
She
failed to understand basic English.
ที่เวลาวีดีโอ 0:19:14 พูดถึง “คำประกาศสิทธิมนุษย์ฯ” ของฝรั่งเศส แสดงสไลด์เขียนด้วยภาษาไทยว่า “มนุษย์(men)เกิดมาเสรีและยังคงเสรีและเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิ” ลำดับต่อมา ที่เวลาวีดีโอ 0:19:24 ท่านอาจารย์พูดว่า
“.....แต่ก็ยังเหมือนเดิมนะคะ เฉพาะ มนุษย์ผู้ชาย”
ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส –
ซึ่งไม่ปรากฏในการบรรยายของท่านอาจารย์ คำประกาศสิทธิมนุษยชนฯ เขียนประโยคนั้นว่า “Les hommes naissent et demeurent
libres et égaux en droits” คำว่า les hommes ในบริบทนี้แปลว่า
“มนุษย์ทั้งหลาย” แต่ในบริบทอื่นคำนี้อาจแปลว่า
“ผู้ชายทั้งหลาย” ก็ได้ ผู้วิจารณ์เชื่อว่า
อาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศส ทุกท่าน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทั้งที่เป็นไทยและฝรั่ง เห็นตรงกับผู้วิจารณ์
She
also failed to understand basic French.
อนึ่ง ชีวิตผมผูกพันเล็ก ๆ กับอารัมภบท หรือ เปร-อัม-บูล
ของคำประกาศฯนี้ เพราะ เคาต์ มิราโบ ผู้เป็นชาวมณฑลโปรว็อง ทางใต้ของฝรั่งเศส
เป็นคนยกร่าง ผมเคยอยู่ที่เมืองเอ็ก-ซ็อง-โปรว็อง
ซึ่งตั้งชื่อถนนสวยสุดในเมืองเป็นเกียรติท่าน ชื่อ “กูร์ มิราโบ” เรียงรายร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่ชื่อต้น “ปลา-ตาน”
หรือภาษาอังกฤษเรียก “เพลน ทรี”
ยังไม่จบ – ท่านเป็นคนซุกซนและตายด้วยโรคหนองใน
ประเด็นวิจารณ์ ที่สาม. ภาพที่ยกขึ้นประกอบการบรรยาย - ผิดข้อเท็จจริง
ที่เวลาวีดีโอ 0:19:17 พูดเรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี 1789 แต่กลับยกภาพนี้ ขึ้นมาประกอบการบรรยาย
รูป “เสรีภาพ ชี้นำประชาชน” ของศิลปินฝรั่งเศส เดอลาครัวส์ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณท์ ลูฟวร์ ปารีส
ซึ่งผิด ภาพนี้ไม่ได้พรรณนาเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส ปี
1789 แต่ภาพนี้เล่าเรื่องการลุกฮือของชาวปารีสหลังยุคนะโปเลียน
เป็นเหตุการณ์ ปี 1830
เดอลาครัวส์ ภูมิใจกับเกียรติภูมิของฝรั่งเศสยุคนะโปเลียน คุณพ่อของ เดอลาครัวส์ เคยเป็นรมต.ต่างประเทศยุคนะโปเลียน ผมเป็นนักเรียนฝรั่งเศสและเคยทำงานในยุโรป เคยไปปารีสยี่สิบกว่าครั้งเห็นจะได้
และเคยไปชมภาพนี้ในพิพิธภัณฑ์ ลูฟวร์ สองสามครั้ง – ประเด็นนี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริง
ไม่ใช่จากประสบการณ์เคาะชมภาพในกูเกิ้ล
เวลาวีดีโอ 0:17:04 อจ.เบญจรัตน์ขึ้นข้อความว่า “THE BILL OF RIGHTS - ค.ศ.1689 อังกฤษบัญญัติเรื่องสิทธิของผู้แทนของประชาชน(รัฐสภา)
ในการจำกัดการกระทำของกษัตริย์ รวมถึงปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง ฯลฯ ฯลฯ” แต่-อาจารย์ไม่แจงพื้นฐานของกฎหมายฉบับนั้น
พอเป็นแนวให้นักศึกษาได้ศึกษา เพื่อจะได้ “ก่อตั้งสิทธิ” ปลดอาจารย์ที่ “กึ่งรู้”
ออกเสียจากตำแหน่ง ซึ่งเวลานี้นักศึกษายังไม่มี ”สิทธิ” ที่จะทำ
ประเด็นวิจารณ์ ที่สี่. พูดถึงศาสนาพุทธอย่างฉาบฉวย สะเพร่า
แสดงถึงความ “กึ่งรู้”
ที่เวลาวีดีโอ 0:41:20 ดร.เบญจรัตน์ สรุปศาสนาพุทธอย่างบ้องตื้นลงที่ศีลห้าหรือ เบญจศีล
ไม่ยก เบญจธรรม ขึ้นประกบ ถือว่า “กึ่งรู้”
(คำนับครั้งที่หนึ่ง) คือพูดครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้พูด
ทั้ง ๆ ที่สองเรื่องนี้คู่กันอยู่
ผมบวชตามประเพณีกับ สมเด็จพระมหาวีระวงค์(วิน) พระอุปัชฌาย์
ท่านเป็นคนที่ไปจากตำบลนาพญา
อำเภอหลังสวน ถ้า--ถ้าผมจะบอกว่า ศาสนาพุทธไม่ใช่เรื่อง
เบญจศีล แต่เป็นเรื่อง“อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา”
ล่ะ?
ที่เวลาวีดีโอ 0:18:24 อ้างอิงคำประกาศอิสรภาพอเมริกัน
ตรงนี้ท่านอาจารย์แปล ว่า “ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน”
(that all men are created equal) ที่เวลาวีดีโอ 0:18:43
ท่านอาจารย์เบญจรัตน์กล่าวอย่างหรู ราวกับพูดราชาศัพท์ว่า “ได้รับประสิทธิ์ประสาธน์จากผู้สร้าง
ซึ่งในที่นี้หมายถึง พระเจ้า ......”
ผู้วิจารณ์ขอแย้งว่า ในพระคัมภีร์พระเจ้าไม่ได้พูดอย่างนั้น
นักการเมืองอเมริกัน นายโธมัส เจฟเฟอร์สัน
ต่างหาก ที่ประสาธน์ออกมาอย่างนั้น เนื่องจากผู้วิจารณ์มีโอกาสเคยได้เรียนพระคัมภีร์ไบเบิล ตนเองมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและไทย -
อันนี้ไม่ได้โม้นะครับ เป็นข้อเท็จจริง สามารถเคาะยันได้ทุกเมื่อ ท่านอาจารย์เบญจรัตน์ กำลังถลกกางเกงขาก๊วย เข้ามาแสดงความ
“กึ่งรู้” (คำนับครั้งที่สอง)ในศาสนาของพระคริสต์
ผู้วิจารณ์จะเถียงท่านอาจารย์เบญจรัตน์ และประท้วงต่อวิญญาณนายโธมัส
เจฟเฟอร์สัน ในที่นี้ว่า มนุษย์ต่างหากที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่“พระเจ้า” เอง มนุษย์ก็เป็นผู้สร้างขึ้นมากราบไหว้
หรือ อจ.เบญจรัตน์ เห็นว่า ไม่จริง? (คุณเจฟเฟอร์สัน ไม่ต้องตอบก็ได้ครับ
ผมยิ่งกลัวผีอยู่ด้วย...)
ที่เวลาวีดีโอ 0:42:07 – 0:43:22 ท่านอาจารย์มันส์พ่ะย่ะค่ะ
จิกศาสนาพุทธลากถูลู่ถูกัง ชนกับ สิทธิมนุษยชนแม่งเลย การนำศาสนา ชนกับ ประเด็นการเมืองการปกครอง - สิทธิมนุษยชน เท่ากับเปรียบของสองสิ่งคนละพันธุ์กัน
ดุจเทียบ เรือรบกับสากกะเบือ รถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้กับจิ๋มกระป๋อง
หรือ ลูกแอพเปิลสดกับผ้าอนามัยที่ใช้ซับแล้ว
เรื่องของ กรรม หรือในที่นี้คือ “กรรมเก่า” เป็นที่สนใจของคนมานาน นับแต่ครั้งพระนาคเสนเถระ
จนถึงยุค ดาไล ลามะ คนพุทธบางคนมีข้อยุติของตัวเอง
เช่น ข้อยุติของผม คือ 1) ปรากฏการณ์กรรมเก่า ไม่ใช่เทคนิคการลงบัญชี
เดบิตเงินสด-เครดิตเจ้าหนี้ หรือกรรมเก่าชาติที่แล้วต้องสนองชาตินี้ เพราะอาจข้ามไปชาติหน้าก็ได้
2) ความเป็นไปในชาตินี้ของคนไม่ได้ขึ้นกับกรรมเก่าเสียทั้งหมด
เพราะมนุษย์คือสัตว์ประเสริฐ จึงรู้จักคิดอ่านอย่างอิสระ สามารถมีชีวิตด้วยสำนึกใหม่
ๆ ในชาตินี้ ชนิดที่ไม่เคยมีมาแต่ชาติปางก่อน เช่น สำนึกในสิทธิมนุษยชน เป็นต้น 3)“กรรมเก่า” กับ “สิทธิ” จะเป็นสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิเดรัจฉานก็แล้วแต่ มันคนละเรื่องกัน
แต่ดูเหมือนท่านอาจารย์ดร.เบญจรัตน์กำลังใช้อิสรภาพในการพูด
และสำแดงเสรีภาพในการแสดงออก ในช่วงเวลาวีดีโอ 0:42:07 – 0:43:22 เพื่อจะยืนยันว่า กรรมหรือกรรมเก่า เป็นสิทธิชนิดหนึ่ง
กรรม นำไปสู่ ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับผลกรรม
ซึ่งต้องพิจารณา “เจตนา”
ประกอบด้วย นี่คือความต่างเล็ก ๆ ข้อหนึ่งระหว่างพุทธกับฮินดู ในบริบทนี้ -- ถ้าพูดแต่กรรมตามคติพุทธ แล้วไม่แถลงเรื่องเจตนา
- นี่คือ“กึ่งรู้” (คำนับครั้งที่สาม)
อนึ่ง พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตฯนิยามว่า สิทธิ คือ
อำนาจอันชอบธรรม และอีกนิยามหนึ่งว่า
อำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย
(อ. right) ซึ่งนิยามหลังนี้ก็คือประเด็นของเรา
ไม่ทราบว่า ดร.เบญจรัตน์ ใช้พจนานุกรมเล่มไหน
มาตีขลุมเป็นทำนองว่า กรรมหรือกรรมเก่า คือ อำนาจที่จะกระทำการใด ๆ
ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย (อ. right) ???
การตีขลุมไม่ใช่การนิยาม การตีขลุมคือ “การมั่ว”
คติพุทธเรื่องกรรม แสดงหลักธรรมสองประการ คือ 1) คนเรา จะต้องรับผลกรรมแห่งตน โดยที่
“ผล”กรรม เป็น “fruit” นะจ้ะ จึงมีลักษณะ organic ไม่ใช่หลักการลงบัญชี 2) แต่ชีวิตมนุษย์ - มนุษย์สามารถทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้เสมอ – ชะตากรรม จึงไม่ใช่คอนเส็ปพุทธ
“..Buddhism,
the only agnostic world religion ever to emerge….”
ถ้าไม่รู้ว่าใครกล่าวคำนี้ ในเล็คเช่อร์ระดับโลก
องค์การสหประชาชาติจัด ที่ นิว เดลลี 10/15/98 แต่แสดงความ“กึ่งรู้” เรื่องศาสนาพุทธขนาดนั้น
อาจารย์ดร.เบญจรัตน์ น่าจะอดสูใจบ้าง แน่ ๆ เลย เฉลย – ผู้พูด คือ अमर्त्य सेन (- อ้างตามเทวนาครี
บังเอิญผมอ่านเทวนาครีออก คำสองคำ)
การฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด ของคนทำงานสิทธิมนุษยชนอันเป็น“แนวคิดตะวันตก”
ยิ่งทำให้งานนี้ที่ไม่ง่ายอยู่แล้ว
ยากขึ้นอย่างบัดซบไร้สาระ การอ้างเหตุผล(argument)ก็ไม่สมเหตุสมผล
ดูประหนึ่งคน “เสแสร้ง”(a hypocrite)
ประเด็นวิจารณ์ ที่ห้า. ยกตัวอย่างประกอบที่เลว คือ “แก้ผ้าในสนามหลวง” แล้วหัวร่องอหายที่เวลาวีดีโอ 0:04:25 – ชอบใจตัวเอง คล้ายพระเอกหนังกำลังภายใน แสดงถึงรสนิยมในเสรีภาพแห่งการแสดงออก – ที่แย่มาก หมายความว่า รสนิยมเลว
ไม่ใช่เสรีภาพในการแสดงออกเลว
“แก้ผ้าในสนามหลวง” สำหรับวิญญูชนไม่ใช่เสรีภาพการแสดงออก หรือสิทธิมนุษยชน
แต่เป็นการกระทำของคนสติไม่ดี - คนบ้า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของคนที่สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ขณะที่กำลังใช้อิสรภาพในการพูดและเสรีภาพในการแสดงออก
เช่น ผม - ขณะที่กำลังเขียนบทวิจารณ์นี้ หรือท่านอาจารย์ดร.เบญจรัตน์ - ขณะที่กำลังบรรยายหน้าชั้นในวีดีโอ
เป็นต้น ตอนนั้นท่านอาจารย์ดอกเต้อร์ คงจะไม่ได้กำลังฟั่นเฝือ
หรือ ฟั่นเฟือน นะครับ?
จะขอยกตัวอย่าง ล้อตัวอย่าง แก้ผ้าในสนามหลวง สักตัวอย่างหนึ่ง
คือ ผมเห็นว่า คนเราพึงมีเสรีภาพในการแสดงออกตามสิทธิมนุษยชน ด้วยการ “ฉั่ว”
กันกลางสนามหลวงไปเลย ไม่ใช่แค่แก้ผ้าเฉย ๆ
แต่“ฉั่ว” กันมั่วหมด ชายฉั่วชาย ชายฉั่วหญิง หญิงฉั่วหญิง ชายแปลงเพศถูกหญิงแปลงเพศฉั่วเอา(?)
แบบว่าครบเครื่องเรื่อง LGBT
เวลานี้ สิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการ “ฉั่ว” แย่เสียยิ่งกว่า และไม่ได้ระดับเดรัจฉาน ซึ่งพวกเขามีอิสระเสรีภาพในการแสดงออก สามารถฉั่วกันได้ไม่เลือกที่
ด้วยสิทธิที่เท่าเทียมกันแต่กำเนิด - ขอเพียงได้เกิดมาเป็นเดรัจฉานเท่านั้น
ถ้าจะสรุปคำวิจารณ์ ให้เหลือคำสองคำ ก็จะขอสรุปว่า การบรรยายของท่านอาจารย์ดร.เบญจรัตน์
เป็นตัวอย่างของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ชนิดเลวร้ายที่สุด – an
example of the worst-case abuses
ผมมีเพื่อนร่วมรุ่น อดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์ ชาวกรุงเทพฯ เป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาลชื่อ
รร.อนุบาลเด่นหล้า ที่บางแค อยู่ไม่ไกลจากม.มหิดล ถ้าอจ.เบญจรัตน์เกิด “ปิ้งแว๊บ” ขึ้นมา จะใช้ชีวิตแบบ “อินดี้ ๆ” ลาออกเสียจากม.มหิดล ไปสอนที่นั่น
ผมจะลองติดต่อเพื่อนให้ ครับ
ปรีชา ทิวะหุต
บ้านนาพญา
อ.หลังสวน จ.ชุมพร
กุมภาพันธ์ 2561
สำเนาเรียน -คณะกรรมการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-คณะกรรมการมหาวิทยาลัยมหิดล
-คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
-Human Right Watch,
UK, USA, France
-ทูตฝรั่งเศส ทูตอังกฤษ
ทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย
-นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และมหาวิทยาลัยมหิดล ทุกคน สนใจ VillageLife บทอื่น ๆ คลิกนี่เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น