นำเสนอภาษาสเปนมาหลายโพสต์
แสดงเฉพาะภาษาสเปนสำเนียงกาสติย่า คือ สำเนียงดั้งเดิมในสเปน
ครั้งนี้
จะแนะนำภาษาสเปนสำเนียงละตินอเมริกาสักหนึ่งตัวอย่าง โปรดชมวีดีโอแนะนำกระบวนความปลอดภัย
บนเครื่องบิน สายการบิน อา เอ โร เมะ ฮิ โก ของประเทศเม็กซิโก
ผู้เขียนเคยเดินทางกับสายการบินหนึ่งครั้ง
ไปเม็กซิโก ซิตี้ (หรือ ลา ซิวด้าด เด เมะ ฮิ โก) สำเนียงละตินอเมริกา
ผู้เขียนฟังเท่าไรก็ไม่ไพเราะเท่าสำเนียงกาสติยา ทำไม?
เข้าใจว่าอย่างนี้
นะครับ เป็นความเข้าใจและรู้เอาเองจากประสบการณ์ ไม่ได้ค้นคว้าศึกษามาจากไหน
ผิดพลาดขออภัย...
คือ
รู้สึกว่าพวกละตินอเมริกาเขาพูด “ช้า”
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น คำว่า “ปารา”(para)ที่แปลว่า
“เพื่อ” ดังปรากฏครั้งแรกที่เวลาวีดีโอ
0023 พูดว่า Para abrocharlo... = เพื่อที่จะรัดเข็มขัด และปรากฏในวีดีโออีกหลาย ๆ แห่ง คำ ๆ นี้ พวกละตินอเมริกาเขาจะพูดชัดเจนว่า “ปา-รา”
เพราะเขาพูดช้ากว่าสำเนียงสเปนในประเทศสเปน
พวกสเปนในประเทศสเปนเขาพูดเร็วมาก
คำว่า “ปารา” เขาจะไม่ออกเสียงชัดถ้อยชัดคำให้เราได้ยินว่า “ปา-รา” แต่เขาจะกล้ำไปเลย ว่า “ประ”
สำหรับผู้เขียน
สำเนียงละตินอเมริกานั้น เวลาฟังทั้งประโยค หรือทั้งย่อหน้า จะรู้สึกว่ามัน “ยืด”
เหมือนเทปปลาสติคสมัยก่อน ที่เวลาใช้มานาน มันจะยืด (ก็เลยฟังไม่ไพเราะ)
อีกประการหนึ่ง
คนสเปนในประเทศสเปน เวลาพูดหนึ่งลมหายใจ คล้าย ๆ กับว่าเขาพูดจบหนึ่งย่อหน้า หนึ่งย่อหน้า ต่อ หนึ่งลมหายใจ
ส่วนภาษาสเปนในละตินอเมริกา
หนึ่งลมหายใจของเขา เขาพูดได้แค่ประโยคเดียว
ถ้าเราคุ้นกับจังหวะเร็ว
เราก็หาความไพเราะจากจังหวะช้า ได้ยาก
ภาษาแม่ของผู้เขียนคือภาษาไทยใต้
ผู้เขียนจึงคุ้นเคยกับการพูดแบบ หนึ่งย่อหน้าต่อหนึ่งลมหายใจ
มากกว่าการพูดชนิดหนึ่งย่อหน้า ต่อ หนึ่งประโยค
เวลาผู้เขียนแรกฟังคนเหนือพูดภาษาไทย
จะรู้สึกรำคาญ เพราะเขาพูดช้าเกินไป (ในความรู้สึกของผู้เขียน)
สำหรับเราความมันส์และความไพเราะขึ้นอยู่กับความเร็ว เราแลไม่เห็นความเพราะในความเชื่องช้า (ทั้ง ๆ
ที่ ในความช้า ก็มีความไพเราะเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มี)
อาจเป็นเพราะผู้เขียนเป็นคนใต้
ที่ใช้ภาษาใต้มาแต่เด็ก(คนใต้ ที่ไม่พูดภาษาใต้ ก็มี) ก็เลยพลอยชอบภาษาสเปนไปด้วย – จะเป็นอย่างนั้นหรือไม่
ก็ไม่ทราบ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น