open letter no 2

Chicago 2 why Chicago

Chicago 2 ทำไม ผมต้องดัดจริต ฟังวิทยุชิคาโก ด้วย? ๑.    ผมติดนิสัยชอบฟังวิทยุตปท. จากแดนไกลเป็นนิสัยมาแต่มัธยม เพื่อฝึกภาษา ประกอบกับมีผู...

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เจตนา วิบัติิได้อย่างไร? --ฆาตกรรม กับ บทกวี ตอนสาม

ฆาตกรรม กับ บทกวี
ตอนสาม-เจตนา วิบัติิได้อย่างไร?

เราคงจะต้องรู้กันเสียก่อนว่า  ที่ว่าวิบัตินั้น เป็นฉันใด?  หรือ วิบัติ คือ อะำไร?

หลังจากศึกษาเรื่อง วิบัติ  แบบที่วิญญูชนสมัยปัจจุบันทำกันทุกคน คือด้วยการ 1) เคาะชมเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคำ ๆ นี้ -ตรึม!  2) ฟังพ็อดคาสต์เรื่องวิบัติ -เพียบ!  3) ชมยูตูบเกี่ยวกับเรื่องนี้ -อื้อ!  จนตาเหล่ (--ตอแหลเปล่า?)  สรุปได้ดังนี้ครับ

คำว่า วิบัติ  ของเราท่านทั้งหลาย เขานำคำเก่ามาใช้  ในภาษาสันสกฤตคำนี้เขียนด้วยอักขระเทวนาครี ว่า विपत्ति อ่านว่า วิ-ปะติ  แขกออกเสียงว่า “หวี่ ป้ะ ติ้”  แปลว่า ฉิบหาย หรือ คลาดเคลื่อน ก็ได้ และแปลอย่างอื่นในทำนองวายป่วงได้อีก เช่น นำไปใช้เป็นคำคุณศัพท์ เรียกสัญญาณฉุกเฉินซึ่งจะดังขึ้นในห้องโดยสาร เวลาที่เครื่องบินตั๋วถูกลำที่ท่านกำลังนั่งอยู่นั้น ประสบอุบัติเหตุกลางเวหา และจะต้องพลัีดตกทำลายลง  สัญญาณดังกล่าวนั้นท่านเรียกว่าสัญญาณ วิ-ปะติ  และเครื่องบินลำนั้นในภาษาฮินดีปัจจุบัน ท่านก็เรียกว่ากำลังอยู่ในสภาพ หวี่ ป้ะ ติ้

สถานการณ์แบบนี้ ในภาษาไทยใช้คำว่า ฉุำกเฉิน  แต่ภาษาแขก-ไม่นะครับ-แขกบอกว่ามันเข้าขั้นวิ-ปัตติ แล้วล่ะ  อีกนัยหนึ่งฉิบหายแน่ พวกเราเตรียมตัวฉิบหายกันเถิด

การใช้คำนี้ในทางบวก ไม่ปรากฏในภาษาฮินดีหรือสันสกฤต-เท่าที่ผู้เขียนรู้เห็นมาเล็ก ๆ น้อย ๆ   แต่พบอยู่ในภาษาบาลี  ซึ่งหลาย ๆ ท่านแม้จะไม่ได้นับถือพุทธ ก็คงจะเคยได้ยินแว่ว ๆ คุ้น ๆ หูอยู่ อันได้แก่ อาราธนา
พระปริตร ที่ว่า

วิ-ปัตติ ปัตติ พาหายะ
สัพพสัมปัตติ สิทธิยา

ไม่จำเป็นต้องแปล--เพราะทุกท่านทราบดีกว่าผู้เขียนอีกว่า ตัวท่านเองกำลังภาวนาว่า ขออย่าให้ ความฉิบหาย เกิดแก่ข้าพเจ้า...

ในทางปรัชญา ท่านนำมาใช้เกี่ยวกับการให้เหตุผลที่ ฉิบหาย หรือ คลาดเคลื่อน  --เข้าใจว่าจะคลาดเคลื่อนมากกว่า  แต่นั่นแหละพออะไรมันคลาดเคลื่อน--มันก็ขี้มักจะพากันฉิบหายได้  ทั้งนี้โดยท่านพูดว่า เหตุผลวิบัติ   ซึ่งหมายถึง เหตุผลคลาดเคลื่อน 

เหตุผลคลาดเคลื่อน เป็นกรณีที่แตกต่างกับเรื่อง ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อน  ในทางกฎหมายท่านก็มีของท่าน คือมีคำถามคลาสสิคอยู่คู่หนึ่ง ในจำนวนมากมายหลายคู่  ท่านจะถามว่าปมฆาตกรรมรายนี้ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย หรือ ปัญหาข้อเท็จจริง?

ตัวอย่างเรื่องของเราดีกว่า  เช่นตนเองเป็นอัลไซเมอร์ จำศักราชไม่ได้้  ดันบอกประธานอบต.ว่าตัวเกิดเมื่อปีพ.ศ.2970 ทั้ง ๆ ที่ จริง ๆ แล้วเกิด ค.ศ.1970  แบบนี้เขาเรียก ศักราชคลาดเคลื่อน หรือศักราชวิบัติ หรือศักราชฉิบหาย  ความคลาดเคลื่อนกรณีนี้เกี่ยวกับข้องกับข้อเท็จจริง คือปีศักราช ซึ่งแตกต่างจากการคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวกับ การแสดงเหตุผล  ตัวอย่างแรกนี้เป็นเรื่อง ข้อเท็จจริงวิบัติ  ไม่ใช่ เหตุผลวิบัติ

สำหรับกรณีที่ เหตุผลวิบัติ--ตัวอย่างที่ท่านนิยมยกกันมาแต่โบราณกาล ไม่ต้องไปคิดหาตัวอย่างใหม่ ให้เซลล์สมองเดือดร้อนเปล่า ๆ ก็คือ

          สาบานได้ ฉันเชื่อว่า มีวงกลมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัต 
          สาบานได้ ฉันเชื่อว่า มีกงจักรเป็นรูปดอกบัว

ซึ่งเป็นการให้เหตุผลที่ไม่สอดคล้อง ไม่สมเหตุสมผล(invalid) และไม่สมบูรณ์(unsound)  พูดแบบชาวบ้านว่า ให้เหตุผลผิด ๆ  ถ้าระบบการให้เหตุผลของฉันถููกต้อง-แล้วล่ะก้อ จะเป็นไปไม่ได้ ที่ฉันจะเชื่อว่ามีวงกลมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัต และจะมีกงจักรเป็นรูปดอกบัว  กรณีตามตัวอย่างสามารถอ้างหลักฐาน และพิสูจน์ทางตรรกะวิทยาได้--ไม่ยาก

เราว่าเรื่อง เจตนาวิบัติ  กันต่อไป  ซึ่งในเรื่อง บทกวีกับฆาตกรรม ของเรา  ก็มีทางที่จะพิจารณาคล้ายกับข้างบน คือเราจะมีประเด็น เจตนาวิบัติ  กับประเด็น พยานหลักฐานวิบัติ (--ซึ่งเปรียบตามครรลองข้างบน ก็คือ ข้อเท็จจริงวิบัติ นั่นเอง)

ประเภทพยานหลักฐาน: พยานบุคคล(ญาติมิตรของกวี) พยานเอกสาร(บทกวีที่แสดงด้วยรูปอักขระ) พยานวัตถุ(รูปแบบที่เผยแพร่บทกวี เช่น อยู่ในรูปดิจิทัล) และพยานผู้เชี่ยวชาญ(นักวิจารณ์วรรณกรรม) 

จะเห็นได้ว่า เราแยกหยิบยกองค์ประกอบต่าง ๆ ของพยานหลักฐาน ขึ้นปรับเทียบเข้ากับบทกวีได้ไม่ยากนัก--แต่เราจะว่ากันเรื่อง เจตนาวิบัติ ไม่ใช่พยานหลักฐานวิบัติ  และการพิจารณาเจตนาวิบัติก็ไม่สามารถ แยกหยิบยก ภาคส่วนหรือชิ้นส่วน ขึ้นมาพิจารณาได้สะดวกและชัดเจน อย่างเรื่องพยานหลักฐานวิบัติ

จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า การตีประเด็น เจตนาวิบัติ  ให้แตก  อาจสาวต่อไปได้ถึง ตัวการ ที่แท้จริง?  โอ_พระเจ้า เรื่องนี้ต้องระดับเซียนตอบแล้วครับ  สำหรับผู้เขียนซึ่งเป็นระดับกระจอก ก็จะขอวิสัชนาไปตามประสากระจอก ๆ แล้วกัน  ดังต่อไปนี้

การวิจารณ์ วรรณกรรม  ใครจะว่าง่าย-ก็ไม่เชิง  หรือใครจะว่ายาก-ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว

ท่านผู้ที่ปฏิเสธว่า เจตนาของศิลปิน ไม่ได้มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลป์  ผู้เป็นต้นคิดคำว่า เจตนาวิบัติ  เป็นชาวอเมริกัีนสองนาย  ชื่อ นายเบียดสเลย์ กับนายวิมแซทต์  สองคนนี้เสนอแนวคิดขึ้นมาแย้งการยึดเจตนาของศิลปินเป็นใหญ่  โดยแจงความคิดออกมาเป็นขั้นตอน เป็นเหตุเป็นผล ผูกพันแตกยอด ว่า
         
·         การที่ศิลปินเจตนาให้บทกวี ห หีบ มีลักษณะอันพรรณนาได้ว่า นี่คือ ข ใข่
นั้น--ไม่ใช่พยานหลักฐานโดยตรง ที่สนับสนุนว่า
·         บทกวี ห หีบ  มีลัีกษณะอันพรรณนาได้ว่าคือ ข ใข่

และ ในทำนองเดียวกัน เราก็อาจพูดได้ว่า
·         ถ้าศิลปินเจตนาให้ บทกวี ห หีบ  มีคุณสมบัติอันประเมินได้ว่าคือ ค ควาย
นั้นก็--ไม่ใช่พยานหลักฐานโดยตรง ที่สนับสนุนว่า
·         บทกวี ห หีบ  มีคุุณสมบัติอันประเมินได้ว่าเป็น ค ควาย

ยิ่งกว่านั้นอีก  ขยายความต่อไปในครรลองเดียวกัน ก็ได้ว่า
·         แม้ศิลปินเจตนาให้ บทกวี ห หีบ  มีแง่มุมอันตีความได้ว่า นี่คือ ย ยักษ์
ก็--ไม่ใช่พยานหลักฐานโดยตรง ที่จะชี้ชัดว่า
·         บทกวี ห หีบ  มีแง่มุมอันตีความได้ว่า คือ ย ยักษ์


แบบฝึกหัดสำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ

เมื่อเป็นนักศึกษาที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก ผู้เขียนต้องเดินผ่านประติมากรรมสัมฤทธิ์ชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่ง สูงประมาณสี่เมตร อยู่เป็นประจำ  ผลงานจากฝีมือศิลปิน ช่างประติมากรรมผู้มีชื่อเสียง  นายเฮนรี มัวร์ จัดวางถาวรอยู่กลางแจ้ง  ตั้งอยู่ไม่ไกลจากห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัย  งานชิ้นนี้้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติ ของเมืองชิคาโก และขึ้นทะเบียนสมบัติประวัติศาสตร์ชาติ ของสหรัฐอเมริกา

ดังภาพ




ขอให้ท่านผู้อ่าน พิจารณาศึกษา ภาพงานศิลป์ชิ้นนี้ด้วยตาเปล่า-เท่าที่เห็น  อย่าเพิ่งเคาะถาม  กูเกิ้ล  ว่าอะไรเป็นอะไร-ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร  ลองคิดเอาเองก่อนครับ

          ท่านลองคิด พิจารณ์เอง-เท่าที่ตาเห็น ท่านนึกว่าเจตนาของศิลปิน-คืออะไร   ภาพนี้-ก่อให้เกิดอารมณ์ใดแก่ท่าน และตามประสาท่าน-ไม่ต้องอ้างอิงผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญใด ๆ    ท่านมีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานศิลปะชิ้นนี้ในแง่มุมต่าง ๆ เท่าที่ท่านนึกได้-ท่านนึกเห็นว่าอย่างไร?  ลองเขียนใส่เศษกระดาษดู แล้วค่อยฉีกทิ้ง-ไม่ต้องให้ใครอ่าน 

เจตนาและผลงานอันดูลึกลับนี้ จะพอเทียบเข้าหา เจตนา และผลการฆาตกรรมคุณเอกยุทธ อัญชันบุตร--ได้หรือไม่อย่างไร?  เนื่องจากศาลยังไม่ได้ตัดสินคดีเป็นที่สุด  เราก็จะถือไว้ก่อนว่า เรื่องนี้ยังไม่กระจ่างแจ้งชัดเจน และเราก็จะไม่ตัดสินแทนศาล  แต่อย่างไรก็ดี สำหรับงานศิลป์ที่นำภาพมาให้ท่านทำแบบฝึกหัด ท่านสามารถตัดสินได้เลยนะครับ  เพราะการพิจารณาประติมากรรม-ซึ่งไม่ใช่ฆาตกรรม-ชิ้นนี้ ท่านคือ ผู้พิพากษา

 [ต้ะไว้แค่นี้ก่อน แล้วจะมาเขียนต่อ-ให้จบตอนที่สาม.....]



                                                                                                                                                                                  เดฟ นาพญา
โพสต์เมื่อ 17 กรกฎาคม 2556
เดฟ นาพญา (ปรีชา ทิวะหุต)--ผู้เขียน  ไม่สงวนสิทธิ์ข้อเขียนในเวอร์ชันดิจิทัล  โพสต์อยู่ที่ www.pricha123.blogspot.com ,
email: pricha123@yahoo.com                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น